ผลเสียของการดื่มสุราต่อสุขภาพ
ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรังจะมีอายุเฉลี่ยสั้นลง 10-14 ปี แต่ถ้าดื่มตามกำหนดอายุเฉลี่ยจะยาวกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยเฉพาะเมื่อเริ่มดื่มเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ บางคนแนะนำให้ดื่มหลังอายุ 60ปี ถ้าได้ดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้เสียชีวิต หากคุณดื่มสุราเป็นประจำมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพดังนี้
ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
- ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วยสุราทุกวันจะมีโอกาสความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุหากดื่มมากความดันก็จะสูง ยิ่งดื่มมากยิ่งสูงมาก เมื่อความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่ดื่มครั้งละมากกว่า 8 หน่วยสุราต่อครั้งจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 เท่า ผู้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากและเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจวาย
- จากการศึกษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมากพบว่า หากดื่มสุราขนาดปานกลางดังกล่าว จะมีอัตราการตายจากโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ดื่มมากและผู้ที่ไม่ดื่มสุรา การจะให้ลดอัตราการตายควรจะดื่มเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ชนิดของสุราที่ลดอัตราการตายได้ดีคือพวกไวน์ทั้งนี้ อาจจะเนื่องจากผู้ที่ดื่มไวน์มักจะสูบบุหรี่น้อยกว่าพวกที่ดื่มสุราอย่างอื่น และได้รับสารอาหารครบถ้วนกว่า มีคำอธิบายว่าทำไมสุราจึงลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ โดยปกติแล้วการเกิดโรหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะต้องมี 1การที่หลอดเลือดแดงตีบ 2มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดง 3ลิ่มเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ สุราจะช่วยโดยป้องกันการหดตัวของหลอดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของลิ่มเลือด และทำให้ลิ่มเลือดละลายเร็ว
- แต่อย่างไรก็ตามท่านต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าประโยชน์และโทษอันไหนมากกว่ากัน หากดื่มมากเกินก็เสี่ยงต่อโรคกระเพาะ ตับแข็ง อุบัติเหตุ สำหรับท่านที่ไม่ได้ดื่มอยู่แล้วแนะนำว่าไม่ควรดื่มเพราะมีอีกหลายวิธีที่จะป้องกันโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ดื่มก็แนะนำให้ลดปริมาณลงเท่าที่กำหนด
- การดื่มสุรามากจะทำให้เกิดโรค หัวใจเต้นผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ
ผลของสุราต่อการทำงานของสมอง
ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องความจำและความคิดอ่าน หากดื่มสุราจะทำให้สมองฝ่อก่อนวัยโดยเฉพาะสมองส่วนหน้า frontal lobes ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดอ่าน ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัว การดื่มสุราก็จะทำให้การทรงตัวเสียมากขึ้นจึงหกล้มมากขึ้น นอกจากนั้นการดื่มสุรายังมีผลต่ออารมณ์ พฤติกรรม
น้ำหนักเกิน
สุราก็มีพลังงาน เช่นเบียร์หนึ่งแก้วจะให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี หากคุณอ้วนคุณก็จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
อุบัติเหตุ
คนที่ดื่มสุรามักจะเกิดอุบัติเหตุทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและบนท้องถนน และเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมากกว่าครึ่ง เมื่อคุณดื่มสุรามากกว่า 2 หน่วยก็ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ผู้ที่ดื่มสุราหนึ่งหน่วยจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่า ผู้ที่ดื่ม 4 หน่วยสุราจะเพิ่มความเสี่ยง 7 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุราอาจจะทำให้เกิดความรุนแรงภายในบ้าน
โรคตับ
สุราทำให้เกิดโรคตับได้หลายอย่าง เช่นไขมันจับที่ตับ Fatty liver พบได้บ่อยเมื่อเลิกสุราก็จะกลับมาปกติ ตับอักเสบ พบว่าร้อยละ 10-35 ของผู้ดื่มสุรามากจะเป็นตับอักเสบ ร้อยละ 10-20 จะเป็นตับแข็ง ผู้ที่ดื่มสุราและไม่ค่อยรับประทานอาหารจะมีโอกาสเป็นตับแข็งสูงและมะเร็งตับ การรักษาที่ดีที่สุดคือการอดสุรา ผู้ที่มีไขมันเกาะที่ตับหรือตับอักเสบจะกลับสู่ปกติ ส่านผู้ที่ตับแข็งคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นหลังจากอดสุรา มีรายงานว่าต้องให้สารอาหารคาร์โบไฮเดตร์ให้พอ ให้สาร polyunsaturated lecithin (PUL)(ซึ่งสกัดจากถั่วเหลือง)ให้เพียงพอเพราะสารนี้จะไปลด scar นอกจากนั้นควรจะได้สาร S-adenosyl-l-methionine (SAM) ซึ่งกล่าวว่าจะลดการอักเสบของตับ ปัญหาที่จะเกิดกับตับ
- ไขมันเกาะตับ
- ตับอักเสบ
- ตับแข็ง
ตับอ่อน
สุราทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบ และเกิดโรคเบาหวาน
มะเร็งระบบอื่น
ได้แก่มะเร็งปาก ปอด หลอดอาหาร ตับอ่อน และคอหากสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- มะเร็งที่ศีรษะและคอ ได้แก่ มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอ มะเร็งกล่องเสียง มักจะเกิดในผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 50 กรัม(3.5หน่วยสุรา)จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่ม 2-3 เท่า
- มะเร็งหลอดอาหาร สุราจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร
- มะเร็งตับ การดื่มสุราจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับนอกเหนือจากไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี
- มะเร็งเต้านม จากการศึกาาพบว่าผู้ที่ดื่มสุราประมาณ45กรัมหรือ3หน่วยสุราต่อวัน จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า หากดื่มสุรทุก10กรับที่เพิ่มจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มร้อยละ 7
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ จากการศึกาาพบว่าผู้ที่ดื่มสุราประมาณ50กรัมหรือ3.5หน่วยสุราต่อวัน จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า หากดื่มสุรทุก10กรับที่เพิ่มจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญเพิ่มร้อยละ 7
ระบบทางเดินอาหาร
หากดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ผลของสุรากับการทำงานของสมองและการนอนหลับ
สุราจะมีผลต่อสมองทุกส่วน ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า สับสน บางรายอาจจะทำให้เกิดโรคจิต และหลอดเลือดสมองแตก การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต ผลของสุราต่อการนอนหลับแบ่งออกเป็น
- ผลของสุราต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอนจะทำให้หลับง่ายเนื่องฤทธิ์กดประสาทของสุรา หลังจากนอนไปหนึ่งชั่วโมงก็จะมีการตื่นบ่อยและหลับยากโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเกิดอาการได้ง่ายและมากกว่าคนหนุ่ม และเมื่อตื่นมาการทรงตัวจะไม่ดีทำให้ล้มลงกระดูกหักได้ง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเพลียและง่วงในตอนกลางวัน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอน 6 ชั่วโมงผู้ป่วยจะตื่นได้ง่ายและหลับยาก
- ผลของสุราต่อผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนมาก นอนหลับยาก ตื่นบ่อย คุณภาพของการนอนไม่ดีทำให้อ่อนเพลียในเวลากลางวัน หากผู้ป่วยลดสุรามากเกินไปจะเกิดอาการลงแดง alcohol withdrawal syndrome จะนอนไม่หลับ หรือช่วงสั้นๆ เกิดภาพหลอน
ผลต่อฮอร์โมน
สุราทำให้มีการสร้าง estrogen (ฮอร์โมนเพศหญิง) สูงจึงเป็นสาเหตุให้เกิดสมรรถภาพทางเพศลดลง
ผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก
ผู้ที่ดื่มสุรานานจะทำให้เกิดโรคกระดูกจาง กล้ามเนื้อรีบ คันปริเวณผิวหนัง
ผู้หญิงกับการดื่มสุรา
ผู้หญิงไม่ควรดื่มสุราเนื่องจากผู้หญิงจะมีระดับสุราและโรคแทรกซ้อนมากกว่าผู้ชายเมื่อดื่มสุราปริมาณเท่ากัน มีการศึกษาในสหรัฐพบว่าผู้หญิงร้อยละ 34 ดื่มสุรามากกว่า 12 หน่วยเมื่อเทียบกับผู้ชายดื่มซึ่งมีผู้ที่ดื่มร้อยละ 56 อายุที่ดื่มมากคือ 26-34 ปี คนท้องไม่ควรดื่มสุราเพราะจะทำให้เด็กเกิดมาน้ำหนักน้อย และมีปัญหาต่อสุขภาพเด็ก
ผลของสุราต่อสุขภาพผู้หญิงพบได้เหมือนกับผู้ชายแต่พบได้บ่อยกว่าและเป็นตอนอายุน้อยกว่า โรคตับจะพบว่าหลังดื่มไม่นานผู้หญิงจะเป็นโรคตับอักเสบได้เร็วและตายจากโรคตับแข็ง สมองของผู้หญิงที่ดื่มสุราจะมีขนาดเล็กกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม ผลต่อหัวใจหากดื่มปริมาณ 1-2หน่วยสุราก็สามารถป้องกันโรคหัวใจและหากดื่มมากก็จะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย cardiomyopathy มีรายงานว่าผู้ที่ดื่มสุราจะเป็นมะเร็งเต้านมได้บ่อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม มีรายงานว่าผู้หญิงที่ดื่มสุรามักจะเป็นเหยื่อของความรุนแรง เช่นการทุกทำร้ายร่างกาย การถูกข่มขืน
การดื่มสุราจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย และการพัฒนาการของเด็กหลังคลอด
การอดสุรา โรคพิษสุราเรื้อรัง คุณเมาหรือไม่ อาการขาดสุรา สุราช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ผลเสียต่อสุขภาพ การรักษา