แผลพุพองหรือที่เรียกว่า Bullous impetigo

เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังส่วนผิว

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า Staphylococcus และหรือส่วนน้อยเกิดจาก Group A Streptococcus เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างสารที่เป็นพิษต่อผิวหนัง มักจะเกิดบริเวณหน้า

การติดต่อ

โดยการสัมผัสบริเวณที่มีเชื้อโรคอยู่ พบมากในเด็กเล็ก เชื้ออาจจะแพร่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยการเกา หรือตามเสื้อผ้า มักจะพบในหน้าร้อนโดยมากเกิดบริเวณผิวหนังที่มีผื่นแพ้หรือมีแผลอยู่เก่า

อาการของผิวหนังพุพอง

ผิวหนังติดเชื้อ


ผิวหนังพอง

มีด้วยกันสองลักษณะ

  • จะเริ่มด้วยตุ่มเล็กๆสีแดงต่อมาเป็นตุ่มใส และกลายเป็นหนองซึ่งมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิวหนังบริเวณตุ่มหนองจะบางและหลุดได้ง่าย เมื่อหลุดออกจะกลายเป็นสีแดง ผื่นลักษณะนี้มักจะเกิดบริเวณใบหน้า
  • แบบที่สอง ตุ่มจะแตกออกเป็นถุงน้ำ ผิวหนังจะลอกอก

การรักษา

หากเป็นผื่น impetigo อย่างเดียวการใช้ยาทาน่าเพียงพอ แต่หากเป็นแบบแผลผุพองจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

  • ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานยาที่เลือกใช้ในอันดับแรกได้แก่
    • Dicloxacillin 250-500 mgรับประทานวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 5-7 วัน
    • Amoxicillin plus clavulanic acid; cephalexin 25 mg/kgรับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน
    • cephalexin ขนาด 250-500 mgรับประทานวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 10วัน
  • หากใช้ยาในอันดับแรกไม่ได้ให้เลือกใช้ยา
    • Azithromycin ขนาด 500 mgรับประทานครั้งแรกหลังจากนั้นให้รับประทาน 250 mg วันละครั้งเป็นเวลา 4 วัน
    • Clindamycin ขนาด 15 mg/kg/dayวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 10วัน
    • Erythromycin ขนาด 250-500 mgรับประทานวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 5-7 วัน
  • หากเป็นเชื้อ Streptococcus ก็ใช้ยา penicillin หากเป็นเชื้อ Staphylococcus ก็ใช้ยา cloxacillin
  • ยาทาเฉพาะที่อาจจะใช้ครีม tetracyclin หรือ gentamicin
  • ประคบผื่นด้วยน้ำเกลือล้างแผล
  • ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล

การป้องกัน

  • อาบน้ำและฟอกสบู่วันละครั้ง
  • บริเวณที่เป็นแผลต้องดูแลเรื่องความสอาดเป็นพิเศษ
  • ตัดเล็บให้สั้น

แผลพุพอง ฝีผักบัว ผิวหนังอักเสบ ecthyma ไฟลามทุ่ง ต่อมขนอักเสบ หนองซอกเล็บ

กลับไปที่การติดเชื้อแบคทีเรีย  

เพิ่มเพื่อน

ทบทวนวันที่ 12/05/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว