ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังได้แก่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้
- โรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2
- โรคความดันโลหิตสูง
- ไขมันในเลือดสูง
- โรคตับ
- โรคแพ้ภูมิตนเอง (autoimmune diseases) เช่น หนังแข็ง SLE ที่อาจก่อให้เกิดไตผิดปกติ
- โรคติดเชื้อในระบบ(systemic infection) ที่อาจก่อให้เกิดโรคไต
- โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
- โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง
- ได้รับยาหรือสารพิษที่ทำลายไต
- อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
- ตรวจพบนิ่วในไต
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งควรได้รับการตรวจ เพื่อวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง ดังนี้
- เจาะเลือดตรวจการทำงานของไต Creatinine ประเมินค่า estimated GFR (eGFR) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยการตรวจระดับครีเอตินินในซีรั่ม (serum creatinine, SCr) และ คำนวณด้วยสูตร
- ตรวจหาโปรตีนจากตัวอย่างปัสสาวะถ่ายครั้งเดียว โดยใช้แถบสีจุ่ม(Dipstick) อ่านการตรวจปัสสาวะหาโปรตีน
กรณีผู้ป่วยเบาหวาน
- ถ้าตรวจพบมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะตั้งแต่ระดับ 1+ขึ้นไป และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
- ถ้าตรวจไม่พบโปรตีนรั่วทางปัสสาวะด้วยแถบสีจุ่มควรส่งตรวจปัสสาวะตอนเช้าโมงเพื่อหาค่าโปรตีนในปัสสาวะ urinary albumin/creatinine ratio (UACR) จากการเก็บปัสสาวะตอนเช้าถ้ามีค่า 30-300 mg/g แสดงว่ามีภาวะ microalbuminuria
- ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตรวจ UACR ได้ อาจส่งตรวจปัสสาวะด้วย microalbuminuria dipstick แทน ถ้าได้ผลบวกให้ถือว่า ผู้ป่วยอาจมีภาวะ microalbuminuria
กรณีผู้ป่วยไม่ได้เป็นเบาหวาน
- ถ้าตรวจพบมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะตั้งแต่ระดับ 2+ขึ้นไป และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
- ถ้าตรวจพบโปรตีนรั่วทางปัสสาวะในระดับ 1+ควรส่งตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ urinary protein/creatinine ratio(UPCR) ถ้ามากกว่า 500 mg/g ให้ถือว่ามีภาวะไตผิดปกติ
- ตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะด้วยแถบสีจุ่ม ถ้าได้ผลบวกให้ทำการตรวจ microscopic examination โดยละเอียด หากพบเม็ดเลือดแดง มากกว่า 5/HPF ในปัสสาวะที่ได้รับการปั่น และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
- ในกรณีที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะควรได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้งในระยะเวลา 3 เดือนหากยืนยันความผิดปกติสามารถให้การวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังหากผลการตรวจซ้ำไม่ยืนยันความผิดปกติ ให้ทำการคัดกรองผู้ป่วย ในปีถัดไป
- การตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจทางรังสี (plain KUB) และ/หรือการตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasonography of KUB) ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย
หากพบความผิดปกติแพทย์จะนัดท่านตรวจต่อ อ่านที่นี่
โรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุโรคไต การรักษาโรคไต การรักษาความดัน การรักษาเบาหวานและไขมัน การรักษาภาวะแคลเซี่ยมต่ำ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโปรตีนในปัสสาวะ ความเสี่ยงการเกิดโรคไต การตรวจวินิจฉัยโรคไต ความรุนแรงโรคไต สาเหตุโรคไต อาการโรคไต โรคไต
อาการโรคไต | การวินิจฉัยโรคไต |