การรักษาผู้ป่วยไตเสื่อม


การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่ไตเสื่อม

เนื่องจากไตเสื่อมในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการทำให้ผู้ป่วยไม่ตระหนักถึงผลที่ตามมา ผู้ที่ไตเสื่อมควรจะงดการสูบบุหรี่ ลดการดื่มสุรา รักษาน้ำหนักมิให้อ้วน รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ การดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นโรคไตเสื่อมจะสามารถชลอการเสื่อมของโรคไตได้หลักการสำคัญได้แก่

การรักษาโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นมานานหลายปีโดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมโรคไม่ได้มีโอกาศเป็นโรคไตเสื่อมสูง ในการป้องกันโรคไตสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีข้อต้องพิจารณาดังนี้

การตรวจปัสสาวะ

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรจะมีการตรวจปัสสาวะทุกปีเพื่อจะตรวจหาโปรตีในปัสสาวะซึ่งผลการตรวจอาจจะ
    • ปกติไม่พบโปรตีน
    • พบโปรตีนเพียงเล็กน้อยที่เรียกว่า Microalbuminuria ซึ่งจะตรวจไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะและเจาะเลือดตรวจค่า creatinine แล้วหาอัตราส่วน (albumin-creatinine ratio (ACR) of 30-300 mg/g) หรือตรวจจำนวนโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง(30-300 mg/24 hours )
    • พบโปรตีนในปัสสาวะปริมาณมากเรียก Macroalbuminuria (albumin-creatinine ratio (ACR) มากกว่า 300 mg/g) หรือตรวจจำนวนโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมงมากกว่า 300 mg/24 hours
  • การเลือดยาลดความดันต้องดูผลการตรวจปัสสาวะเพราะหากตรวจปัสสาวะพบมีโปรตีนในปัสสาวะ จะต้องเลือดยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACEi ARB ยาดังกล่าวจะชลอการเสื่อมของไต

การควบคุมเบาหวาน

สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ค่า HbA1c โดยการควบคุมให้ต่ำกว่า 7

การเลือกใช้ยาลดน้ำตาล

เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นไตจะขับยาได้น้อยลงเป็นผลทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมในระดับ 1-2 ยังไม่มีปัญหาเรื่องการใช้ยา แต่ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมระดับ3-5 จะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ยาโดยเฉพาะยาในกลุ่ม sulfonyl urea ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจจะต้องเปลี่ยนยา หรือปรับลดขนาดของยา ส่วนยา Metformin ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำตาลต่ำ แต่อาจจะเกิดภาวะเลือดเป็นกรดโดยเฉพาะการให้ยา Metformin ในชายที่มีค่า creatinine 1.5 mg/dl ในผู้หญิงที่มีค่า  creatinine 1.4 mg/dl. ส่วนอินซูลินเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถยาชนิดรับประทาน



โรคแทรกซ้อนอื่นๆ

ผู้ป่วยดรคเบาหวานและมีโรคไตเสื่อมจะมีอุบัติการของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจึงต้องเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสม และควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดให้ดี

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธืกับโรคไตเสื่อมค่อนข้างมาก ความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้ไตเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันไตเสื่อมมากขึ้นก็ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในการควบคุมความดันโลหิตยังต้องคุมให้ต่ำกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอท แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อมหรือผู้ที่มีภาวะโปรตีนในปัสสาวะจะต้องคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลิเมตรปรอท

สำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อมจะมีความผิดปกติของระดับความดันโลหิตกล่าวคือ ในคนปกติเมือเวลานอนความโลหิตจะลดลงร้อยละ10-20 สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมพบว่าผู้ป่วยบางคนระดับความดันไม่ลดเมื่อนอนหลับ กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางรายจะต้องวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้าน(เป้าหมาย น้อยกว่า135/85 เวลากลางวัน และน้อยกว่า 120/70 เวลากลางคืน)

สำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อมที่ความดันโลหิตไม่สามารถคุมได้ด้วยยาสามชนิดจะต้องตรวจหาสาเหตุเช่น Pheochromocytoma ,Primary aldosteronism,Nephritic GN

ในการรักษาความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยไตเสื่อมจะต้องลดเกลือลงเหลือวันละไม่เกิน 1500 มิลิกรัม (คนปกติรับประทานไม่เกินวันละ2000มิลิกรัม) อ่านเรื่องการรับประทานเกลือต่ำ

สำหรับผู้ที่ระดับความดันโลหิตไม่ลดในเวลากลางคืนแพทย์อาจจะให้รับประทานยาลดความดันโลหิตหนึ่งชนิดในเวลากลางคืน เพราะจากผลการศึกษาพบว่าคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้นและลดการเกิดโรคแทรกซ้อน

ยาและสมุนไพรที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคไต

คนทั่วไปมักเข้าใจว่ายาในกลุ่มสมุนไพร หรือยาซื้อตามร้านขายยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออาการหวัดเช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อย ยาระบายแก้ท้องผูก ยาแก้ท้องเสีย วิตามิน อาหารเสริม รวมถึงยาจีนและสมุนไพรต่างๆ เป็นยาที่ปลอดภัยเนื่องจากสามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แต่ในความจริงยาและสมุนไพรเหล่านี้อาจจะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น

  • ยาแก้ปวดลดอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่เรียกกันว่า NSAIDs เป็นนยาที่ผู้ป่วยซื้อตามร้านขายยา หรือแพทย์จ่าย ตัวอย่างยากลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, mefenamic acid, naproxen, piroxicam, meloxicam, diclofenac, celecoxib, etoricoxib เป็นต้น ยามีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คนอ้วน ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้
  • ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาที่ต้องละลายน้ำ หรือวิตามินอื่นๆ เช่น ยาแอสไพรินชนิดเม็ดฟู่ วิตามินที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้รับประทาน อาจทำให้ร่างกายมีภาวะโซเดียม น้ำ และเกลือแร่เกินในร่างกาย
  • ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง ยากลุ่มนี้มักมีส่วนผสมของสมุนไพรซึ่งหากรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจจะมีผลเสียต่อไต นอกจากนั้นอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียมซึ่งถ้ามีระดับสูงอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถนำเอาเกลือแร่เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ตามปกติเช่นหากมี อะลูมิเนียม สะสมในร่างกายมากอาจจะเกิดอาการปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระดูกหักง่าย หากมี แมกนีเซียม สะสมในร่างกายมากจะมีอาการ คลื่นไส้อาจียน ท้องร่วง กล้ามเนื้อไม่มีแรง  
  • ยาระบายหรือยาสวนทวาร ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกิดการสะสมของฟอสเฟต
  • สมุนไพร สมุนไพรบางชนิดจะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดเช่น สารสกัดใบแปะก๊วย โสม กระเทียม อาจทำให้เกิดเลือดออกบริเวณเส้นเลือดที่ต่อกับเครื่องฟอกเลือดได้ง่าย นอกจากนั้นสมุนไพรบางชนิดก็อาจจะมีพิษต่อไตโดยตรง ดังนั้นก่อนซื้อสมุนไพรรับประทานให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านอยู่

ข้อควรปฏิบัตในการใช้ยา

  • ญาติและผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งถึงรายการยา วิตามิน อาหารเสริม สมุนไพร ที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน อย่าไปคิดว่ายานี้รับประทานมานานไม่น่าจะเกิดผลเสีย ทั้งนี้เพราะเมื่อไตท่านเสื่อมการขับยาออกทางปัสสาวะจะลดลงทำให้มีการคั่งของสมุนไพรและอาจจะเกิดพิษต่อไต
  • หากเจ็บป่วยผู้ป่วยโรคไตไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เมื่อไปพบแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์ประจำต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าท่านเป็นโรคอะไร และรับประทานยาอะไร และถามแพทย์ยานั้นมีผลต่อไตหรือไม่
  • หากท่านต้องการรับประทานสมุนไพรให้ท่านแจ้งแก่แพทย์ที่รักษาเพื่อที่แพทย์จะได้เฝ้าติดตามผลข้างเคียง และแจ้งแพทย์ถึงความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวเพิ่ม ขาบวม หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตะคริว แขน-ขาชา ไม่มีแรง คันตามผิวหนัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด

การใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง

โรคไตเสื่อมจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและยากต่อการควบคุมความดันโลหิต แพทย์มักจะเลือกใช้ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors หรือ angiotensin II receptor blockers (ARB) ในช่วงแรกที่ให้ยาการเสื่อมของไตจะลดลงในระยะแรกของการรักษาซึ่งจะต้องเจาะเลือดตรวจบ่อยในระยะแรก แพทย์มักจะแนะนำให้ลดอาหารเค้มหรือยาขับปัสสาวะ

การรักษาไขมันในเลือดสูง

ผู้ป่วยไตเสื่อมมักจะมีระดับไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ยากลุ่ม statins เพื่อลดไขมันในเลือด

การรักษาภาวะโลหิตจาง

ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมมากจะเกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งแก้ไขโดยการให้ยากระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดเลือแดง และบางรายอาจจะต้องให้ฐาตุเหล็กเสริม

การรักษาภาวะบวม

ไตเสื่อมไม่สามารถขับน้ำและเกลือได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีการคั่งของน้ำและเกลือ จะมีอาการบวมหลังเท่า แพทย์จะจ่ายยาขับปัสสาวะเพื่อรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่

การป้องกันกระดูกหัก

เนื่องจากผู้ป่วยไตเสื่อมมีปัญหาเรื่องแคลเซี่ยมในเลือดต่ำและกระดูกหักง่าย แพทย์จะจ่ายแคลเซี่ยมและวิตามินดีเพื่อป้องกันกระดูกหัก

  1. โรคไตเสื่อม
  2. อาการโรคไตเสื่อม
  3. การวินิจฉัยโรคไตเสื่อม
  4. การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคไตเสื่อม
  5. การักษาไตเสื่อม
  6. การป้องกันไตเสื่อม
  7. การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไตเสื่อม
  8. การออกกำลังกายสำหรับไตเสื่อม
  9. การปรับพฤติกรรมได้แก่ การตวบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
  10. การใช้รักษาความดันโลหิตสูง
  11. การใช้ยาลดไขมันในเลือด
  12. การล้างไต
  13. การเปลี่ยนไต

เพิ่มเพื่อน