กลไกการเกิดโรค ischemic Stroke
แบ่งกลไกการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ห้าชนิดดังนี้
หลอดเลือดแดงใหญ่ Large-Artery Atherosclerosis
หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมองได้แก่ internal carotid artery, the vertebral artery, the basilar artery,และแขนง the circle of Willis ตีบมากจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง atherosclerosis มีคราบไขมัน plaque เกาะตามผนังหลอดเลือด และทำให้เกิดลิ่มเลือด อุดเส้นเลือดเรียก Thrombotic Stroke การเกิด thrombosis สามารถเกิดที่หลอดเลือดแดงใหญ่ อาการก็จะเป็นมาก และมักพบว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย แต่ถ้าเกิด thrombosisที่หลอดเลือดแดงเล็ก อาการไม่มาก อ่อนแรงไม่มากเรียก Lacunar infartion
อาการที่เกิดขึ้นกับตำแหน่งที่ไปอุด และขนาด โดยมากมักจะเกิดอาการอ่อนแรง พูดไม่ชัด ชา บางครั้งอาการอัมพาตอาจเป็นเพียง5นาทีแล้วหายไป เรียก Transient ischemic attack [TIA]
![]() |
![]() |
ลิ่มเลือด Embolism
![]() |
ลิ่มเลือดมักจะเกิดบริเวณที่เลือดไม่ไหลเวียน ลิ่มเลือดเมื่อไหลตามหลอดเลือด อาจจะไปอุดหลอดเลือดทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือด สาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดได้แก่
- หัวใจเต้นแบบสั่นพริ้ว ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย อ่านเรื่องหัวใจเต้นสั่นพริ้วที่นี่
- หัวใจวาย
- ผนังหัวใจรั่ว
- ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
หลอดเลือดแดงเล็ก Small-Vessel Disease
ท่านที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ จะมีโอกาศที่หลอดเลือดแดงจะตีบและมีคราบ plaqueไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดสะสมจนหลอดเลือดตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ทำให้สมองขาดเลือดที่เรียกว่า lacunar infarcts ซึ่งเนื้อสมองเสียหายเป็นบริเวณเล็กๆ(<15มิลิเมตร)
โรคหลอดเลือดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ Stroke of Other Determined Etiology
สาเหตุอื่นๆเช่น ความผิดปรกติของระบบแข็งตัวของเลือด ความผิดปรกติของหลอดเลือด โรคทางพันธุกรรม เป็นต้น
โรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ทราบสาเหตุ Stroke of Undetermined Etiology
แม้ว่าจะได้ตรวจอย่างละเอียดแล้วก็ยังไม่พบสาเหตุซึ่งพบได้น้อยกว่าร้อยละ40
โรคสมองขาดเลือด | สาเหตุสมองขาดเลือด |