การค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกเริ่ม และการวินิจฉัย

การค้นหรือการคัดกรองคือการนำคนซึ่งไม่มีอาการ แต่มีความเสี่ยงหรืออาจจะไม่มีไปตรวจเพื่อค้นหาโรค มะะเร็งก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่แรกเริ่มจะทำให้โรคนั้นรักษาหายขาด เป้าหมายของการคัดกรองมีดังนี้

  • การคัดกรองเพื่อค้นหา colorectal polyps และมะเร็งลำไส้ใหญ่ การตรวจชนิดนี้จะต้องเห็นโครงสร้างภายในลำไส้ วิธีการตรวจทำได้ทั้งส่องกล้อง และการตรวจทางรังสี การตรวจวิธีนี้จะสามารถตรวจพบมะเร็งและ polyps ซึ่งเมื่อตัดชิ้นนี้ทิ้งก่อนที่มันจะกลายเป็นมะเร็งก็จะเป็นการป้องกันมะเร็ง
  • การตรวจเพื่อค้นหามะเร็ง การตรวจนี้จะตรวจอุจาระเพื่อหามะเร็งในลำไส้

การตรวจเพื่อค้นหา colorectal polyps และมะเร็งลำไส้ใหญ่

การคัดกรองสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้แก่

  • การตรวจหาเลือดในอุจาระ Fecal occult blood test
  • การส่องกล้องตรวจทวารหนัก Sigmoidoscopy
  • การสวนทวารตรวจลำไส้ใหญ่ Barium enema
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ Colonoscopy

การตรวจใหม่สำหรับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • Virtual colonoscopy
  • DNA stool test


 

การตรวจอุจาระเพื่อหาเลือดในอุจาระ Fecal occult blood test

เนื่องจากเส้นเลือดบนผิวของมะเร็ง และ Polyps ฉีกง่ายทำให้มีเลือดออกมา แต่ปริมาณเลือดที่ออกมามีเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จึงต้องใช้การตรวจปฏิกิริยาทางเคมี แต่ข้อเสียของการตรวจนี้ก็คือ

  • ไม่สามารถบอกได้ว่าเลือดที่ออกมาจากที่ไหน
  • ไม่สามารถบอกได้ว่าเลือดที่ออกเป็นมะเร็งหรือเปล่า
  • ยา วิตามิน และอาหารมีผลต่อการตรวจ
  • เมื่อตรวจแล้วมีเลือดออกก็จำเป็นต้องไปส่องกล้องตรวจ

คำแนะนำก่อนการตรวจอุจาระ

  • งดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ก่อนการตรวจ 7 วันเนื่องจากยาเหล่านี้ทำให้มีเลือดออกทางเดินอาหาร
  • ผู้ที่รับประทานวิตามิน ซี มากกว่า 250 มก ต่อวัน หรือดื่มน้ำผลไม้รสเปรี้ยว หรือวิตามินที่มีวิตามิน ซี จะต้องลดยาหรือน้ำผลไม้ดังกล่าว 3 วันก่อนการตรวจ
  • งดเนื้อหมู เนื้อวัว เครื่องในก่อนการตรวจ 3 วัน

การเก็บอุจาระ

การเก็บอุจาระก็มีความสำคัญมีวิธีการเก็บดังนี้

  • อุจาระที่เก็บต้องไม่ปนเปื้อนปัสสาวะ
  • การตรวจอุจาระควารจะเก็บอุจาระ 3 ครั้ง
  • การเก็บแต่ละครั้งจะต้องเลือกตำแหน่งที่เก็บ 2 ตำแหน่งที่ต่างกัน ป้ายใส่อุปกรณ์ รอจนแห้งแล้วใส่ซองส่งตรวจ
  • หากการตรวจพบว่ามีเลือดจะต้องส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่

การตรวจอุจาระด้วยวิธี Fecal immunochemical test

นำอุจาระมาตรวจด้วยวิธีนี้จะเป็นการตรวจเลือดของคน การรับประทานยา หรือเนื้อสัตว์จะไม่มีผลต่อการตรวจ

การตรวจอุจาระหา DNA tests

การตรวจนี้จะเป็นการตรวจหา DNA ของเซลล์มะเร็ง และ polyps ปัจจุบันไม่นิยมในการตรวจคัดกรองแล้ว

เป็นการตรวจโดยใช้ Barium sulfate และอากาศเพื่อให้เห็นผนังของลำไส้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การเตรียมการตรวจจะเหมือนการเตรียมลำไส้สำหรับการส่องกล้อง

การตรวจจะใช้เวลา 30-45 นาที นอนท่าตะแคงเจ้าหน้าที่จะเอาท่อสอดเข้าทวารหนัก และให้สาร barium sulfate ไปแล้วก็จะใส่ลมทางท่อเดิม แพทย์ส่งผู้ป่วยทำการตรวจ แพทย์อาจจะสั่งให้มีการเปลี่ยนท่าเพื่อที่จะทำให้เห็นชัดขึ้น ระหว่างการตรวจก็อาจจะมีอาการแน่นท้องบ้าง หากแพทย์สงสัยว่าจะมีความผิดปกติก็จำเป็นต้องส่องกล้องตรวจซ้ำ

  • CT colonography (virtual colonoscopy) เป็นการตรวจลำไส้ใหญ่โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำให้เห็นภาพเป็น 3 มิติ การตรวจก็ไม่ยุ่งยาก การเตรียมลำไส้เหมือนการส่องกล้อง การตรวจใช้เวลาประมาณ 10 นาที หากพบสิ่งผิดปกติก็จะต้องตรวจโดยการส่องกล้องเพื่อตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ

 

อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่