การรักษาทั่วไปโดยไม่ใช้ยา (Non pharmacologic therapies)
- การให้ความมั่นใจกับผู้ป่วย ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าการวินิจฉัยโรคนี้ตาม criteria โดยการซักประวัติอย่างละเอียดแล้วไม่พบอาการเตือนและตรวจร่างกายไม่พบโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแบบเดียวกันได้จะมีความแม่นยำในการวินิจฉัยสูง ดังนั้นการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและความสัมพันธ์อันดีของผู้รักษากับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจว่าโรคที่เป็น ๆ หาย ๆ และเป็นเรื้อรังได้ นอกจากนี้การอธิบาบให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการรักษาว่าอาจไม่หายขาด แต่รักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้เพื่อลดการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นลง
- การป้องกัน ควบคุมและรักษาปัจจัยกระตุ้น ปัจจัยกระตุ้น ได้แก่
- การปรับเปลี่ยนอาหาร
- อาหารไขมันสูง
- อาหารประเภทนมบางประเภท
- เครื่องดื่มสุรา และกาแฟ
- สารให้ความหวาน
- อาหารที่ทำให้เกิดก๊าซมาก
- รับประทานอาหารทั่วไป และรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
- อย่างดอาหารมือใดมื้อหนึ่ง และอย่าให้ผิดเวลา
- ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
- ชา กาแฟ ไม่เกิน 3 แก้วต่อวัน
- ลดการดื่มสุรา
- รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก
- รับประทานผลไม้ไม่เกิน 3 ส่วนต่อวัน(1ส่วนเท่ากับ80กรัม)
- ผู้ที่มีอาการท้องร่วงให้หลีกเลี่ยงสารให้ความหวาน
อาหาร
ควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ผู้ป่วยสังเกตเองได้ว่าทำให้อาการแย่ลง ส่วนใหญ่ ได้แก่ อาหารมัน เครื่องดื่ม alcohol และ caffeine ซึ่งพบว่ากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ทำให้ปวดท้องมากขึ้น และไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มี lactose เช่น นม เนื่องจากอาจมี lactose intolerance ร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานผลไม้ปริมาณมาก ๆ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มี sorbitol เป็นส่วนประกอบ ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากมาก เช่น ถั่ว บร็อกเคอรี่ ดอกกำหล่ำ ก็อาจบรรเทาอาการผู้ป่วยลงได้
ความเครียด
เป็นปัจจัยสำคัญที่พบว่ามีผลต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค ผู้รักษาควรซักประวัติถึงปัจจัยนี้เสมอเพื่อให้คำปรึกษาแกผู้ป่วย การปรับพฤติกรรมและการออกกำลังกายมีส่วนช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วยและทำให้ตอบสนองต่อการรักษาอย่างต่อเนื่องได้ มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการมากและมีปัญหาทางจิตเวชชัดเจน การบำบัดทางจิตด้วยเทคนิคต่าง ๆ โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสามารถลดอาการปวดและท้องเสียลงได้ แต่ในปัจจุบันการศึกษาที่เป็น randomized controlled trial ยังไม่สามารถสรุปประสิทธิภาพของการบำบัดทางจิต (psychotherapy) ได้
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น การรักษาควรเริ่มจากการปรับอาหารที่มีกากในปริมาณที่เหมาะสม โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นจนได้ประมาณ 20-25 g. ต่อวัน เส้นใยอาหารได้จากคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ได้แก่ cellulose, hemicelluloses, pectins และ lignins แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่ย่อยสลายเป็น short chain fatty acids, gas และน้ำ ซึ่งมีผลทำให้อุจจาระนุ่มลง เป็นก้อนมากขึ้นและกระตุ้นทำให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น การเพิ่มปริมาณเส้นใยอาหารอาจทำให้มีอาการท้องอืด และมีลมในท้องมากขึ้นได้ในช่วงเริ่มต้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เองในเวลาเป็นสัปดาห์
อาหารบางประเภทอาจจะทำให้อาการปวดท้องกำเริบ
คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องอาหาร
การใช้ยาในภาวะที่ท้องผูก | ท้องเสีย | ปวดท้อง | ลำไส้แปรปรวน |