ไวรัสตับอักเสบ ซี Hepatitis C

ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับไวรัสตับอักเสบ บี แต่ถ้าท่านติดตามโรคตับอักเสบท่านจะพบว่าไวรัสตับอักเสบ ซีเพิ่มขึ้นเนื่องจากพบได้บ่อยมากขึ้น พบได้ประมาณ 1-2% ของคนที่มาบริจาคเลือด หลังเป็นตับอักเสบแล้วก็มีแนวโน้มจะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง  20% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังชนิด ซี จะเป็นตับแข็งภายใน 10-20 ปี บางส่วนกลายเป็นมะเร็งตับ

ปัจจัยเสี่ยงและการติดต่อไวรัสตับอักเสบ ซี

ไวรัสตับอักเสบ ซี ติดต่อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่มีผู้ป่วยบางท่านได้รับเชื้อโดยไม่ทราบแหล่งที่มาปัจจัยเสี่ยงได้แก่

  • ผู้ที่เคยได้รับเลือด และ สารเลือดก่อนปี คศ 1992 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ได้รับอุบัติเหตุถูกเข็มตำ
  • ผู้ป่วยติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ ซี พบได้ร้อยละ 5
  • ผู้ที่สำส่อนทางเพศ หรือ รักร่วมเพศ
  • ไดรับเชื้อจากการสักตามตัว

กิจกรรมต่อไปนี้ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

  • การให้นมบุตร
  • การจามหรือไอ
  • อาหารหรือน้ำ
  • การใช้ถ้วยชามร่วมกัน

 

อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี

ผู้ที่เป็นตับอักเสบ ซี เรื้ออาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่ไม่มาก อาการที่พบได้คือ

  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดชายโครงขวา
  • ปวดกล้ามเนื้อและ ปวดข้อ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังและกลายเป็นตับแข็งจะมีอาการ

  • ตับ ม้ามโต
  • ตัวเหลืองตาเหลือง
  • กล้ามเนื้อลีบ
  • ท้องมาน
  • เท้าบวม

การเจาะเลือดตรวจ

  • Anti-HCVโดยวิธี enzyme immunoassay (EIA) ถ้าเจอแสดงว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี
  • HCV RNA โดยวิธี polymerase chain reaction (PCR) ถ้าให้ผลบวกแสดงว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี
  • เจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบของตับ
  • บางรายต้องตรวจโดยการเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อการวินิจฉัย

การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบ ซี

  • ไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน โดยการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบ และตรวจพบ Anti-HCV หรือ HCV-RNAในเลือด บางรายที่ตรวจไม่เจอในระยะแรกอาจจะต้องตรวจซ้ำอีก 2-8 สัปดาห์
  • ตับอักเสบเรื้อรัง ซี วินิจฉัยโดยพบว่ามีการอักเสบของตับมากกว่า 6 เดือนร่วมกับการตรวจพบ HCV -RNA

เป้าหมายการรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี(Goal of treatment)

เป้าหมายหลักในการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี คือ การกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เพื่อป้องกันการดำเนินโรคของตับไปสู่ภาวะตับแข็ง และลดการเกิดมะเร็งตับ โดยตัวที่ช่วยประเมินความสำเร็จในการรักษาคือ

  • การเข้าสู่ระดับปกติของ serum aminotransferase,
  • การตรวจไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเลือด
  • และการดีขึ้นของผลชิ้นเนื้อจากตับ

นอกจากนี้เป้าหมายอื่น คือเพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น

การรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี

  • โดยการให้ alfa interferon 
  • ให้ยาสองขนานคือ  alfa interferon and ribavirin.
  • ควรไดรัการฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ เอ และ บี

ผู้ป่วยไวรัสตับอัเสบ ซีรายใดที่ควรได้รับการรักษา

  • มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี และ มีการเพิ่มของ SGOT,SGPT และผลการเจาชิ้นเนื้อตับพบว่ามีการอักเสบ และไม่มีข้อห้ามการให้ยา
  • ผู้ป่วยที่มีตับแข็งต้องไม่มี ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องมาน เส้นเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง
  • อายุ น้อยกว่า60 ปี

ผู้ป่วยไวรัสตับอัเสบ ซีรายใดที่ไม่ควรได้รับการรักษา

  • โรคตับแขงและมีโรคแทรกซ้อน
  • ผลเลือด SGOT,SGPT ปกติ
  • มี ตับ ไต หัวใจวาย
  • มีข้อห้ามในการให้ยา

ข้อห้ามในการให้ยา interferon

ผู้ป่วยซึมเศร้า ติดยา ติดสุรา autoimmune disease โรคไขกระดูก ไม่สามารถคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงของยา interferon interferon pegylated interferon alfa 2a และ 2b

  • ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัด ไข้ ปวดตามตัว ปวดหัวในระยะแรก
  • ระยะหลังอาจมีอาการเหนื่อยหอบ
  • ผมร่วง
  • เม็ดเลือดขาวต่ำ
  • ซึมเศร้า ซึ่งพบได้ร้อยละ 20 ถึง 30 โดยพบมากในช่วง 24 สัปดาห์แรกของการรักษา
  • จะมีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง เช่น โรคไทรอยด์ ชัก หัวใจ และไตวาย
  • นอกจากนั้นยังทำให้ตับอักเสบด้วย

การแก้ไขและป้องกันผลข้างเคียงของ interferon

  1. ตรวจ CBC ทุก 2 สัปดาห์ ในหนึ่งเดือนแรก หลังจากนั้นตรวจเดือนละ 1 ครั้งตลอดการรักษา
  2. สังเกตอาการและตรวจ TSH ทุก 3 เดือน หรือทุก 1 เดือน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์มาก่อน
  3. อาการ Flu-like symptom เช่น ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ป้องกันโดยให้ยา paracetamol (ไม่เกิน 3 กรัมต่อวัน) ถ้าไม่ได้ผลอาจให้ dextropropoxyphene หรือ ibuprofen โดยผู้ป่วยต้องไม่มีภาวะตับแข็ง
  4. Absolute neutrophil count ถ้า <750/mm ต้องลดขนาดยาและพิจารณาหยุดยาก่อน ถ้า <500/mm มีการใช้ granulocyte stimulation factor (GCSF) เพื่อเพิ่มระดับ neutrophil แต่ยังมีข้อมูลไม่มากพอ
  5. Psychiatric adverse effect พบตั้งแต่อาการไม่มากเช่น กระวนกระวายจนถึงรุนแรง เกิด severe depressive syndrome ให้การรักาควบคู่ไปกับยา antidepressant และพิจารณาหยุดยา เป็นราย ๆ ไปขึ้นกับความรุนแรงและการประเมินจากจิตแพทย

ผลข้างเคียงของ ribavirin

ยา ribavirin มีผลทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตก hemolysis และถ้าได้ในขนาดสูงและระยะเวลานานจะมี hemolysis เพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยที่ได้รับ pegylated interferon alfa 2a + ribavirin มีระดับ Hemoglobin ลดลงโดยเฉลี่ย 3.5 gm/dl ผลข้างเคียงอื่น เช่น ก่อให้เกิดมะเร็งในทารก teratogenic effect, คลื่นไส้อาเจียน, คันตามตัว, นอนไม่หลับ, ไอ, หอบเหนื่อย นอกจากนี้ ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด severe cardiovascular disease, thalassemia, renal failure, และคุมกำเนิดไม่ดี

การแก้ไขและป้องกันผลข้างเคียงของ ribavirin

  1. ถ้าเกิด hemolysis ให้ลดขนาดยาก่อนที่จะหยุดยา หรือใช้ erythropoietin ร่วมด้วย
  2. ใช้ยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องในระหว่างการรักษาและจนกว่าจะหยุด ribavirin แล้วเป็นเวลา 4 เดือนในผู้หญิง และ 7 เดือนในผู้ชาย
  3. บางรายอาจจำเป็นต้องตรวจ serum creatinine และ uric acid ทุกเดือน
  4. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่มีอาการ ถ้า hemoglobin ลดลงมากกว่า 2 g/dl ใน 4 สัปดาห์ ให้ลด ribavirin เหลือ 600 mgต่อวัน ถ้า hemoglobin น้อยกว่า 12 g/dl ควรหยุดยาและติดตาม เมื่อดีขึ้นให้ประเมินใหม

วิธีป้องกันตับไวรัสอักเสบ ซี

  • ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ให้สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด
  • ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน
  • ให้ใช้ถุงยางคุมกำเนิดถ้าหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน
  • ถ้าคุณเป็นตับอักเสบ ซีห้ามบริจาคเลือด

การปฏิบัติตัวและการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค และยังไม่มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัสโรค (postexposure prophylaxis) ดังนั้นมาตรการที่ควบคุม และป้องกันการแพร่หระจายเชื้อ จึงมีความสำคัญ เช่น วิธีการฉีดยาที่ถูกต้อง รวมถึงการทำความสะอาดฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ดีพอ

นอกจากนี้บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ก็ได้รับการตรวจเลือด anti HCV

ใครควรได้รับการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

  • ผู้ป่วยที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
  • บุคคลที่ได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด ก่อนปี พ.ศ. 2533
  • ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • ผู้ป่วยที่เจาะเลือดพบว่ามีตับอักเสบ
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ถูกเข็มตำ
  • เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซ๊
  • สามีหรือภรรยาของผู้ติดเชื้อตับอักเสบซี
  • และผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อตับอักเสบซี

ผู้ติดเชื้อตับอักเสบซีควรได้รับการแนะนำการป้องกันแพร่เชื้อ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการใช้มีดโกน แปรงสีฟันร่วมกัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดแผล และสัมผัสเลือด
  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยการใช้ถุงยางอนามัย แต่สำหรับคู่สามีภรรยา ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศ (sexual practice)
  • ส่วนการมีบุตรพบว่าความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เท่ากับ 4-7% โดยถ้าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในมารดามีปริมาณเชื้อไวรัสสูง หรือมีการติดเชื้อร่วมกับเชื้อเอดส์ พบว่าอัตราการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกจะสูงขึ้น
  • สำหรับวิธีการคลอดปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดวิธีการคลอดที่จำเพาะ และการให้นมบุตรไม่เป็นข้อห้ามในการให้ โดยทั่วไปไม่พบความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นชัดเจน ถ้าไม่มีการบาดเจ็บบริเวณหัวนม และมารดาอยู่ในระยะสงบ ของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ควรได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ตับอักเสบ ชนิดเอ และตับอักเสบชนิดบีด้วย เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิด severe liver disease ถ้ามีการติดเชื้อดังกล่าวร่วมด้วย

หากท่านมีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี แพทย์จะวางแผนการรักษาอย่างไร

ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี บางรายเมื่อตรวจเลือดจะพบว่าค่า SGOT,SGPT ปกติแพทย์จะนัดตรวจเลือดอีกครั้ง 6-12 เดือน

คนท้องสมควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบ ซีหรือไม่

ไม่ควรเนื่องจากคนท้องไม่ได้มีแัตราการติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป นอกจากว่าคนนั้นจะมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี สมควรเจาะเลือดหาเชื้อหรือไม่

ไม่ควรเจาะก่อนอายุ 12 เดือนเนื่องจากเชื้อจากแม่ยังไม่หมด

ผู้ป่วยที่มีไวรัสตับอักเสบ ซี จะป้องกันการอักเสบของตับอย่างไร