หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ตับอักเสบจากการแพ้ยา

จากข้อมูลในอดีต พบว่าอุบัติการณ์การเกิดตับอักเสบจากยา พบได้  2-5% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในดรงพยาบาลเนื่องจากภาวะตัวเหลือง หรือเป็น 10% ของสาเหตุ ตับอักเสบในประชาชรผู้ใหญ่ทั่วไป แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อายุเกิน 50 ปี พบอุบัติการณ์บ่อยขึ้น โดยพบได้มากกว่า 40% นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ป่วยตับวายเฉียบพลันพบว่ามีสาเหตุจากยาสูงถึง 25% รวมทั้งยังป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะเหลืองฉับพลันที่หาสาเหตุไม่ชัดเจน ในระยะหลังมีการศึกษาในประชากรชาวฝรั่งเศษ พบอุบัติการณ์ของโรคตับที่เกิดจากยา 13.9 ต่อแสนประชากร ตับอักเสบจากยายังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดตับวายเฉียบพลันในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ตับอักเสบจากการแพ้ยาเกิดจากการเราได้รับยาที่มีพิษต่อตับทำให้เกิดการอักเสบค่าเอ็นไซม์ตับสูงขึ้น การเกิดการอักเสบอาจจะเกิดจากได้รับยาเกินขนาดหรือเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้

ยาที่เราใช้รักษาโรคเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับ ความรุนแรงของตับอักเสบมีตั้งแต่อาการไม่มากหยุดยาก็หาย แต่ก็มียาบางชนิดรุนแรงถึงกับตับวายและทำให้เสียชีวิต อาการของโรคก็ไม่แน่นอนบางรายตรวจพบจากการเจาะเลือดโดยที่ไม่มีอาการ บางรายอาการรุนแรงจนเสียชีวิต แพทย์และผู้ใช้ยาควรจะทราบอาการของการแพ้ยาเพราะการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกจะลดความรุนแรงของโรค



อัตราการเสียชีวิต

ในประเทศอเมริกาพบผู้ป่วยตับวายปีละ 2000 ราย พบว่าร้อยละ50เกิดจากยา ยาที่เป็นสาเหตุคือยา Paracetamol

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบจากการแพ้ยา

ปัจจัยเกี่ยวกับคนที่รับประทานยา

ยาที่ทำให้เกิดตับอักเสบจากการแพ้ยา

อาการของตับอักเสบจากแพ้ยา

การวินิจฉัยตับอักเสบจากแพ้ยา

การวินิจฉัยจะต้องได้ข้อมูลการใช้ยา ขนาดยาที่ได้รับ วิธีการได้ยา ระยะเวลาที่ได้รับยา ก่อนหน้านี้ได้รับยาอะไรบ้าง ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ประวัติการรับประทานยาจะต้องย้อนหลังไปสามเดือน อาการของแพ้ยาตับอักเสบจะเกิด5-90วันหลังจากได้รับยา เมื่อหยุดยาที่สงสัยค่าผลเลือดจะลดลงร้อยละ50ในเวลา 8 วันหลังหยุดยาที่สงสัย

การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยตับอักเสบจากแพ้ยา

การวินิจฉัยตับอักเสบจากแพ้ยาจะต้องอาศัยการเจาะเลือดในการวินิจฉัยโรค โดยปกติค่า serum alanine transaminase (ALT) มากกว่าค่าปกติ 3 เท่าและควรจะตรวจซ้ำภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การตรวจเบื้องต้น

 

การแปรผลเลือด

การตรวจทางรังสี

การตรวจชื้นเนื้อ

การเจาะชิ้นเนื้อตรวจไม่จำเป็นต้องเจาะทุกราย จะเจาะในบางรายเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

Acetaminophen

ขนาดของยาที่ทำให้เกิดตับอักเสบประมาณ7.5-10 กรัม(ยาขนาด500มิลิกรัม 15-20 เม็ด) สำหรับผู้ที่ดื่มสุราขนาดยาอาจจะต่ำ4-8 กรัม

Amoxicillin

Amoxicillinยานี้อาจจะทำให้ค่า SGOT และ SGPT สูงขึ้น เคยมีรายงาว่าทำให้เกิดดีซ่าน และตับอักเสบ

Amiodarone

Amiodarone เป็นยารักษาหัวใจพบว่าร้อยละ 15-50 ของผู้ที่รับประทานยานี้มีผลการตรวจเลือดผิดปกติ ความรุนแรงของโรคมีตั้งแต่ผลการตรวจเลือดผิดปกติโดยที่ไม่มีอาการจนกระทั้งมีตับอักเสบรุนแรง การเกิดตับอักเสบอาจจะเกิดหลังจากรับประทานยาไปหนึ่งเดือนแต่ก็มีบางรายเกิดหลังจากรับประทานยาไปหนึ่งปี การเกิดโรคขึ้นกับขนาดยาที่รับประทาน

Chlorpromazine

Chlorpromazine เเป็นยารักษาทางจิตเวช การเกิดแพภ้ยาเกิดไม่บ่อยมักจะเกิดหลังรับประทานยาไป2-4สัปดาห์เมื่อหยุดยาอาการจะดีขึ้น

Ciprofloxacin

เป็นยาปฏิชีวนะพบว่าร้อยละ1.9 มีค่าผลตรวจเลือดผิดปกติ

Diclofenac

เป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบสำหรับรักษาอาการข้ออักเสบ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบคือหญิงที่อายุมาก อาจจะตรวจพบความผิดกติของการตรวจเลือดการทำงานของตับซึ่งอาจจะหายได้เองหรืออาจจะเป็นมากขึ้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ2ที่มีค่า ALT หรือ AST มากกว่า 2 เท่าของค่าปกติภายใน 2 เดือนหลังจากเริ่มรับประทานยา ในช่วงที่รับประทานยาควรจะมีการเจาะเลือดตรวจเป็นระยะ 4-8 สัปดาห์

Erythromycin

เป็นยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อ ยานี้อาจจะทำให้เกิดดีซ่าน หรือมีการอักเสบของตับมักจะเกิดหลังจากรับประทานยาไป 2-3 สัปดาห์

Fluconazole

เป็นยารักษาการติดเชื้อราความรุนแรงของการแพ้ยามีตั้งแต่ผลเลือดผิดปกติโดยที่ไม่มีอาการ บางรายรุนแรงจนเสียชีวิต

Isoniazid

เป็นยารักษาวัณโรคผู้สูงอายุจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้สูง และผู้ที่ดื่มสุรา ประมาณร้อยละ10-20จะมีผลการตรวจเลือผิดปกติมักเกิดในสามเดือนแรกของการรักษาและผลเลือดจะกลับสู่ปกติโดยไม่ต้องหยุดยา แต่บางรายอาการเป็นมากขึ้นผู้ที่อายุมากกว่า35 ปีหากต้องใช้ยานี้ควรได้รับการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับก่อนให้ยาและตรวจเป็นระยะระหว่างการรักษา หากค่า SGOT มากกว่า 3 เท่าของค่าปกติให้หยุดยา

Methyldopa

Methyldopa เป็นยารักษาความดันโลหิตควรจะตรวจเลือดการทำงานของตับเป็นระยะระหว่างการรักษาในข่วง 6-12สัปดาห์แรกของการรักษา

Oral contraceptives

ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานอาจจะทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลืงและคันตามตัวในผู้ป่วยบางคน ผู้ที่เคยมีดีซ่านในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้

Statins

เป็นยาลดไขมันซึ่งมักจะทำให้ค่า SGOT SGPT มีค่าสูงขึ้นแต่ส่วนใหญ่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าปกติโดยที่ไม่มีอาการและหายไปได้เอง หากค่ามากว่า 3 เท่าจะต้องหยุดยาและรอจนกว่าค่า SGOT SGPT

Rifampin

Rifampinเป็นยารักษาวัณโรค ปกติยานี้อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับเล็กน้อย สำหรับผู้ที่มีโรคตับ หรือผู้ที่รับประทานยาอื่นที่มีพิษต่อตับอาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับรุนแรง ควรจะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับโดยเฉพาะ SGPT/SGOT ก่อนการรักษาและเจาะทุก 2-4 สัปดาห์

Valproic acid

เป็นยากันชักจะเกิการแพ้ในผู้ที่ดื่มสุรา รับประทานยาแอสไพริน amiodarone, piroxicam, stavudine, didanosine, nevirapine, และ tetracycline ในขนาดสูง ไม่ควรให้ยานี้กับคนที่เป็นโรคตับ

การรักษาตับอักเสบจากการแพ้ยา

การวินิจฉัยได้เร็วจะช่วยลดความรุนแรงของโรค การเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับเมื่อผู้ป่วยได้รับยาที่อาจจะทำให้เกิดตับอักเสบจะทำให้วินิจฉัยได้เร็ว ค่า ALT จสูงเกิน2-3เท่าของค่าปกติจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด หากค่าสูง4-5 เท่าจะต้องเตรียมหยุดยา การรักษาจะประคับประคอง ที่สำคัญคือหยุดยาที่รับประทาน