วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่เกิดบ่อยที่สุดของคุณสุภาพสตรี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะได้ผลดีเมื่อสามารถค้นหาโรคได้ในระยะเริ่มแรกโดยการตรวจภายใน มักจะรักษาโดยการผ่าตัด หรือการให้รังสีรักษา แต่หากพบโรคในระยะท้ายของโรคก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกน่าจะเป็นวิธีที่ดี

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

เมื่อไรจึงจะฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

มีคำแนะนำจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำว่าให้เริ่มฉีดเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี แต่อาจจะฉีดเมื่ออายุ 9 ปีก็ได้ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุดังกล่าวยังไม่มีการติดเชื้อ HPV และช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่

นอกจากนั้นยังแนะนำว่าว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 13-26 ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรจะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน

จะต้องฉีดกี่เข็ม

ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ฉีดสามเข็มคือ เข็มที่สองและสามห่างจากเข็มแรกสองและสี่เดือนตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิได้เต็มที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV

  • ครั้งที่1ให้ฉีดตามที่กำหนด
  • ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน
  • ครั้งที่ 3 ห่างจากเข็มแรกประมาณ 6 เดือน

สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปี หรือมีเพศสัมพันธุ์แล้วยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนหรือไม่

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะมีภูมิต่อเชื้อ HPV type 6, 11, 16 และ 18 ดังนั้นหากท่านยังไม่ได้รับเชื้อดังกล่าว ท่านก็ยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน สำหรับท่านที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน ท่านมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปแล้วอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน


วัคซีนนี้อันตรายหรือไม่

เท่าที่มีการใช้ไป 16 ล้านเข็ม มักจะมีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ไข้ต่ำๆ เหมือนคนเป็นหวัด เวียนศีรษะเล็กน้อย ผลข้างเคียงรุนแรงก็พบได้น้อย

คนที่ฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องทำ PAP Smear หรือไม่

การตรวจภายในยังคงมีความจำเป็นแม้ว่าคุณได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว เพราะการตรวจภายในจะสามารถตรวจโรคอื่นได้ด้วย

วัคซีนนี้จะให้ในคนท้องได้หรือไม่

ขณะนี้ยังไม่แนะนำให้ในคนท้องเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพในคนท้อง และยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อทารก หากทราบว่าตั้งครรภ์หลังจากฉีดไปหนึ่งเข็ม แนะนำให้หยุดฉีดวัคซีนจนกระทั่งคลอดบุตรแล้วจึงฉีดต่อ

สำหรับท่านที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนจะป้องกันตัวเองอย่างไร

การติดต่อของเชื้อ HPV ติดต่อโดยทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นควรจะสวมถุงยางอนามัย และไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน และงดการสูบบุหรี่

วัคซีนนี้จะป้องกันได้นานแค่ไหน

จากการศึกษาเบื้องต้นวัคซีนนี้สามารถอยู่ได้นาน แต่กำลังศึกษาว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นหรือไม่

วัคซีนนี้ใช้กับผู้ชายได้หรือไม่

การติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์การให้วัคซีนนี้ในผู้ชายน่าจะได้ประโชน์การป้องกันหูด และมะเร็งที่ทวาร แต่เนื่องจากอัตราการเกิดโรคยังต่ำจึงไม่แนะนำ แต่เรื่องการป้องกันมะเร็งยังไม่มีข้อมูล แต่ผลโดยอ้อมน่าจะลดการติดเชื้อ HPV ในผู้หญิง

ก่อนจะต้องตรวจว่าเคยติดเชื้อ HPV มาก่อนหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีดวัคซีน เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าเคยติดเชื้อ HPV มาก่อนหรือไม่ การเจาะหาภูมิต่อเชื้อก็ยังทำไม่ได้

ต้องตรวจทำ PAP ฉีดวัคซีนหรือไม่

ขึ้นกับประวัติการมีเพศสัมพันธ์ และประวัติการตรวจภายใน

  1. หากไม่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถฉีดวัคซีนได้เลย
  2. หากมีประวัติเพศสัมพันธ์มาก่อน
    1. หากไม่เคยทำ PAP ก็ให้ทำ PAP เพื่อคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก
      • หากผลปกติก็ให้ฉีดวัคซีนได้
      • หากผลผิดปกติก็ให้รักษาตามมาตรฐาน
    2. หากตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอก็ให้ฉีดวัคซีนได้

วัคซีนนี้จะป้องกันโรคหูดได้ทุกชนิดหรือไม่

เนื่องจากวัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ทุกชนิดดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลุกได้ทั้งหมดคือจะป้องกันมะเร็งปากมดลุกได้ประมาณร้อย70 และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

สรุปท้ายบท

  1. วัคซีนนี้จะป้องกันมะเร็งปากมดลูกเฉพาะสายพันธ์ที่วัคซีนนั้นผลิต
  2. วัคซีนนี้จะป้องกันโรคหูดเฉพาะสายพันธ์ที่ผลิจในวัคซีน ส่วนสายพันธ์อื่นๆป้องกันไม่ได้
  3. วัคซีนนี้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกเฉพาะสาเหตุที่เกิดจากการติดเชื้อหูดที่วัคซีนนั้นป้องกัน ส่วนสาเหตุอื่นของการเกิดมะเร็งก็ป้องกันไม่ได้
  4. หลังฉีดวัคซีนยังคงต้องตรวจหามะเร็งปาดมดลูกอยู่โดยการทำ PAP
  5. วัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น
  6. แม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบก็ต้องมีความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ไม่เปลี่ยนคู่นอน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งหากไม่แน่ใจ

เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน

เพิ่มเพื่อน