DTaP and Tdap Vaccines

 

วัคซีน DTaP เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก วัคซีนนี้จะใช้ฉีดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี ส่วนวัคซีนTdap จะใช้ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 11 ปีขึ้นไป อ่านเรื่อง คอตีบ บาดทะยัก ส่วนไอกรนเป็นโรคติดต่อที่มักจะเกิดในเด็กทำให้มีอาการไอ ไม่สามารถดื่มหรือรับประทานอาหารได้ มักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญเช่น ปอดบวม ชัก และสมองพิการ

ข้อแตกต่างระหว่าง DTaP และ Tdap

วัคซีนทั้งสองชนิดทำจากเชื้อที่ตายแล้วเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต่อเชื้อโรคทั้งสามโรค แต่ Tdap จะมีการลดปริมาณวัคซีนของคอตีบและไอกรนลงซึ่งจะฉีดกระตุ้นกับผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 19-64 ปีโดยเริ่มกระตุ้นตั้งแต่อายุ 11 ปี ส่วนวัคซีน DTaP จะใช้ฉีดกระตุ้นกับเด็กอายุ 4-6 ปี

ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปีโดยการใช้วัคซีน Td แต่เนื่องจากภูมิของโรคไอกรนลดลงจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มแทน Td (11-64) และแนะนำให้ฉีดวัคซีน Tdap vaccine แก่คนตั้งครรภ์ตั้งแต่ 27-36 สัปดาห์

เวลาที่ควรจะฉีดวัคซีน DTaP

  • 1เข็มเมื่ออายุ 2 เดือน
  • 1เข็มเมื่ออายุ 4เดือน
  • 1เข็มเมื่ออายุ 6 เดือน
  • 1เข็มเมื่ออายุ 15-18 เดือน
  • 1เข็มเมื่ออายุ 4-6 ปี

ไม่ควรให้วัคซีน DTaP กับใครบ้าง

  • ผู้ที่กำลังป่วยอย่างมาก สำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อยไม่เป็นข้อห้าม
  • ผู้ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง
  • ผู้ที่เคยเกิดอาการทางสมองหลังจากได้วัคซีนภายใน 7 วันก็ไม่ควรจะได้รับวัคซีนนี้

สำหรับเด็กบางคนอาจจะแพ้วัคซีนไอกรนก็ควรจะให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักและคอตีบแทน

อาการที่สงสัยว่าจะแพ้วัคซีนไอกรนได้แก่

  • มีอาการชักหลังจากได้ DTaP
  • ร้องไห้ไม่หยุดเป็นเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากได้วัคซีน DTaP
  • มีไข้มากกว่า 105 F หลังจากได้วัคซีน

การฉีดวัคซีนนี้มีอันตรายหรือไม่

ส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงเล็กน้อยไม่อันตราย ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่

ผลข้างเคียงไม่หนักแต่พบบ่อย

  • มีไข้พบได้1ใน4ของเด็กที่ได้รับวัคซีน
  • บวมแดงบริเวณที่ฉีด
  • เจ็บบริเวณที่ฉีด

อาการดังกล่าวมักจะเกิดหลังจากได้วัคซีนเข็มที่ 4 และเข็มที่ 5

อาการอื่นๆที่อาจจะพบได้แก่

  • มึนงงFussiness (up to about 1 child in 3)
  • เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้อาเจียน

อาการดังกล่าวจะเกิดหลังฉีด1-3 วัน

โรคแทรกซ้อนที่มีอาการหนักปานกลาง(พบได้น้อย)

  • มีอาการชักพบได้ 1 ใน 14,000
  • ร้องไห้ไม่หยุดเป็นเวลา 3 ชั่วโมงพบได้ 1ใน 1,000)
  • ไข้สูงกว่า 105°F อาจจะป้องกันโดยให้ยาลดไข้ที่ไม่ใช่กลุ่ม aspirin

โรคแทรกซ้อนที่มีอาการรุนแรง(พบได้น้อยมากๆ)

  • อาการแพ้อย่างรุนแรง พบได้ 1 ในล้าน
  • อาการรุนแรงชนิดอื่นที่พบได้:
    • มีอาการชักต่อเนื่อง หรือไม่รู้สึกตัว
    • สมองถูกทำลาย

 

เพิ่มเพื่อน