วัยทอง Menopause วัยหมดประจำเดือน


วัยทองหรือหมดประจำเดือนคืออะไร

วัยทองเป็นวัยหนึ่งของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วย วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคนวัยทอง วัยรุ่นและวัยทองเป็นวัยที่รังไข่สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยและไม่สม่ำเสมอทำให้มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ วัยทองรังไข่ทำงานน้อยลงทำให้สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยลง[ estrogen,progesterone] ทำให้บางท่านอาจจะมีประจำเดือนมากขึ้นบางคนน้อยลง บางคนประจำเดือนห่างบางคนก็มาถี่ ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกระดูก ลดระดับ cholesterol

 

วัยทองจะเริ่มเมื่อไร

หญิงอายุตั้งแต่30 ปีขึ้นไปจน 50ปีสามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 51 ปีผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่

อาการเตือนของวัยทองมีอะไรบ้าง

เมื่อระดับฮอร์โมน estrogen และ progesteroneลดลงจะทำให้เกิดอาการหลายอย่างบางคนเป็นมากบางคนเป็นน้อย( ผลของเอสโตรเจนต่อร่างกาย)อาการอาจจะเป็นไม่กี่เดือนก็หาย แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี อาการต่างๆมีดังนี้

  1. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเช่นมาเร็ว มาช้า มามาก มาน้อย มานาน
  2. ร้อนตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอหลังจะแดงหลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที
  3. ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับ estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลงผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะร่วมเพศ และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องกั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ
  4. การคุมกำเนิด ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปีหลังประจำเดือนครั้งสุดท้ายผู้ป่วยบางคนจะมีความรู้สึกทางเพศลดลงแต่บางรายมีความรู้สึกทางเพศสูงขึ้น
  5. มีปัญหาเรื่องการนอน นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย
  6. ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่ายมีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เร็ว เครียดง่าย หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุ โกรธง่าย ใจน้อย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนหลงลืมง่าย เวียนศีรษะ ซึมเศร้า
  7. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอวกล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว
  8. ปัญหาอื่น เช่นปวดศีรษะ ความจำลดลง ปวดตามตัว
  9. ผิวหนังจะบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนัง และผิวหนังเกิดผื่นแพ้ง่าย
  10. เส้นผมจะหยาบแห้งและบางลง หลุดร่วงได้ง่าย ไม่ดกดำเป็นเงางาม
  11. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อและกระดูก
  12. นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ
  13. ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
  14. กระดูกจะบางและเปราะง่าย เวลาหกล้มกระดูกจะหักได้ง่ายขึ้น

ตารางข้างล่างจะแสดงความรุนแรงและความถี่ของอาการเพื่อเป็นข้อมูลในการให้ฮอร์โมนทดแทน

ตารางแสดงความรุนแรงของอาการและความถี่
อาการ ไม่เคย เบาๆ ปานกลาง เป็นมาก ความถี่
ร้อนตามตัว  1   2    3     4      5
เหงื่อออกกลางคืน หนาวสั่น  1   2    3     4      5
หลับยา ตื่นเร็ว  1   2    3     4      5
ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์  1   2    3     4      5
ขี่ลืม ไม่มีสมาธิ  1   2    3     4      5
ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน  1   2    3     4      5
           1=ไม่เคย          5=บ่อยมาก

วัยทองกับโรค

เมื่อเข้าสู่วัยทองจะมีโรคหลายโรคเกิดมากในวัยนี้ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน มะเร็งเต้านม แต่ไม่ใครสามารถที่จะคาดเดาว่าจะเป็นใครจะเป็นโรคดังกล่าว แต่เราจะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงว่าวัยทองคนใดมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอะไร ดังนั้นท่านที่อยู่ในวัยทองท่านจะต้องรู้สิ่งต่อไปนี้เพื่อการตัดสินใจรับฮอร์โมนทอแทน

  • รายละเอียดเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งเต้านม
  • ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละโรค
  • ผลของฮอร์โมนทดแทนต่อภาวะดังกล่าว


โรคที่มักจะเกิดกับวัยทอง

เมื่อเข้าสู่วัยทองต้องทำอะไรบ้าง

อาหาร สตรีวัยทองควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับประทานจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน

นอกจากนี้ ควรควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดโดยงดรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิค เป็นต้น ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง

  • ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง ลดไขมัน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
  • ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ
  • ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูกทุกปี

การรักษาโรคที่มากับวัยทองโดยไม่ใช้ฮอร์โมน

ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมนเช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านี้

ถ้าหากท่านมีอาการร้อนตามตัวจะแก้ไขอย่างไร

  • เมื่อเริ่มเกิดอาการร้อนให้ไปอยู่ที่เย็นๆ
  • ให้นอนในห้องที่เย็น
  • ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดๆ และร้อน
  • หลีกเลี่ยงสุรา
  • หลีกเลี่ยงความเครียด เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาวๆ ช้าและใจเย็นๆ
  • ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น
  • แพทย์บางท่าแนะนำให้ใช้วิตามิน อีซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 clonidine และยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI เช่น Prozac Zoloft
  • อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว

อาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อยจะแก้ไขอย่างไร

  • เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมนก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได้ โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน 1 ใน 4 แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวันหลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งหรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย
  • นอกจากนั้นบางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว

อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน

  • ใช้ยายาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ serotonin ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า

การรักษาโรคกระโปร่งบางหรือกระดูกพรุน การป้องกันโรดกระดูกพรุนอ่านที่นี่

การรักษาโรคหัวใจ การป้องกันคลิกอ่านที่นี่

มะเร็งเต้านม คลิกอ่านที่นี่ การให้ฮอร์โมนทดแทน

 

Google