การให้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง

เมื่อคุณผู้หญิงอยู่ในช่วงวัยทองจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่างของวัยทอง จึงได้มีการพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนโดยหวังว่าจะสามารถลดอัตราการเกิดโรค กระดูกพรุน โรคหัวใจ และภาวะร้อนตามตัวลดลง

การใช้ฮอร์โมนทดแทนได้ถูกนำมาใช้ปี คศ.1950-1960 โดยการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน Estrogen โดยนิยามว่าสามารถทำให้กลับเป็นสาวได ้จึงได้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งปี คศ.1970 พบว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เกิดมะเร็งของมดลูกเพิ่มขึ้น 4-10 เท่าจึงลดเกิดความตระหนกและการใช้ฮอร์โมนนี้ลงไป ต่อมาก็ได้มีการค้นคว้าว่าสามารถลดการเกิดมะเร็งมดลูก โดยการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดต่ำร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสติน progestin

ปัจจุบันการใช้ฮอร์โมนทดแทนโดยใช้ฮอร์โมนทั้งสองชนิดในขนาดต่ำก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากรักษาอาการของวัยทองแล้วยังมีการแนะนำใช้เพื่อป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุนจนกระทั่งองค์การอาหารและยาแนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยวัยทองทุกคน แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งว่าการให้ยาในระยะยาวยังไม่มีการศึกษาผลดีและผลเสียของยา

ก่อนการให้ฮอร์โมนต้องประเมินผลดีและผลเสียของการให้ฮอร์โมนทดแทน

นำผลดีผลเสีย ความรุนแรงของอาการและผลข้างเคียงมาชั่งน้ำหนักว่าท่านจะรับได้มากน้อยแค่ไหน

ระยะเวลาที่ควรจะให้ฮอร์โมนทดแทน

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรจะให้ฮอร์โมนทดแทนเร็วที่สุดเพื่อให้เกิดผลต่อการป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจและสมอง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ยาไม่เกิน 10 ปีเนื่องจากว่ากลัวภาวะมะเร็งเต้านม ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำว่าให้เกิดอาการของวัยทองก่อนเป็นเวลา 10 ปี

ชนิดของฮอร์โมนทดแทน

เอสโตรเจน

การใช้ฮอร์โมนทดแทนโดยใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงชนิดเดียวจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหัวใจ แต่ข้อเสียทำให้เกิดโรคมะเร็งมดลูกสูง การให้ฮอร์โมนชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ตัดมดลูกแล้ว

ข้อบ่งชี้ในการให้ฮอร์โมนทดแทน

  • ใช้รักษาอาการร้อนตามตัว
  • ใช้รักษาอาการช่องคลอดแห้ง ปัสสาวะบ่อย
  • ใช้รักษาโรคกระดูกโปร่งบาง
  • ใช้รักษาอารมณ์แปรปรวนและนอนไม่หลับ
  • โรคหัวใจ
  • โรคสมองเสื่อม Alzheimer
  • ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ลดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

เหตุผลที่จะไม่ใช้เอสโตรเจน

  • ประวัติมะเร็งเต้านม
  • ประวัติมะเร็งมดลูก
  • โรคตับ
  • เกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดที่เท้า
  • ประจำเดือนผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ

การใช้ยาเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรน

โดยการใช้ฮอร์โมนทั้งสองชนิดผสมกันจะช่วยลดอุบัติการณ์ของมะเร็งมดลูกแต่มีอาการข้างเคียงของยาโปรเจสตีนเพิ่มเช่น คัดเต้านม ท้องอืด บวม มีประจำเดือน

วิธีการให้ฮอร์โมน

ผู้ที่ไม่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทน

  • ขณะตั้งครรภ์
  • มีเลือดออกช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เคยเป็นหรือสงสัยมะเร็งมดลูกและเต้านม
  • เคยมีลิ่มเลือดแข็งตัวง่าย
  • โรคหัวใจ
  • โรคตับ
  • แคลเซียมในเลือดสูง
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • โดยการกินยาวิธีนี้ผลดีที่ได้คือระดับไขมัน HDL สูงขึ้นข้อเสียคือระดับฮอร์โมนในเลือดไม่คงท ี่เนื่องจากการทำลายที่ตับ
  • โดยการฉีด ยาจะไม่ผ่านตับข้อเสียคือหลังฉีดใหม่ๆจะมีระดับสูง แต่เมื่อนานวันระดับฮอร์โมนจะลดลง และระดับ HDL ไม่เพิ่มเหมือนชนิดกิน
  • การใช้แผ่นปิด(estrogen-filled patch)ที่แขนหรือก้น 1 แผ่นอาจจะอยู่ได้หลายวันและระดับ HDL ก็ไม่สูง
  • โดยการฝังฮอร์โมน ข้อเสียคือระดับฮอร์โมนในเลือดอาจจะสูงเกินไป2-3 เท่า
  • การใช้ครีมทาที่ผิวหนังโดยเป็นตัวฮอร์โมนสองชนิดผสมกัน ข้อเสียคือระดับฮอร์โมนในเลือดไม่คงที่
  • การใช้ครีมทาช่องคลอดโดยมีตัวเอสโตรเจนเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการช่องคลอดแห้ง

วิธีการกินยามีอยู่กี่วิธี

  1. กินยาฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวเดียวควรเลือกใช้ในคนที่ตัดมดลูกไปแล้ว
  2. กินยาแบบ cyclic HRT คือรับประทานเอสโตรเจนทุกวัน วันที่ 12-14 ของรอบเดือนให้เพิ่มโปรเจสเตอร์โรน หลังจากนั้นเป็นยาที่ไม่มีฮอร์โมน 5-6 วัน เหมาะสำหรับผู้ที่ยังมีประจำเดือนแต่มีอาการของวัยทอง
  3. กินยาแบบ continuous HRT คือรับประทานทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรนทุกวัน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ประจำเดือนไม่มาแล้ว 6-12 เดือน

ประโยชน์การใช้ฮอร์โมนทดแทน

  1. ป้องกันโรคกระดูกพรุน ความหนาแน่นของกระดูกจะเริ่มลดลงเมื่ออายุย่างเข้า 35 ปีและจางลงไปเรื่อยๆ การเริ่มยาให้เริ่มเมื่อเกิดวัยทองและให้ต่อไปเรื่อย เมื่อหยุดยากระดูกก็เริ่มจาง นอกจากนั้นต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซ๊ยมและมีการออกกำลังกาย
  2. ป้องกันโรคหัวใจโดยเชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มระดับ HDL ซึ่งจะป้องกันโรคหัวใจ
  3. ลดอาการของวัยทอง
  • ร้อนตามตัวและมีเหงื่อออก ผู้ป่วยวัยทองจะมีอาการร้อนตามตัวโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกายและตามด้วยอาการเหงื่ออก บางคนอาจจะมีอาการหนาวสั่นเชื่อว่าเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำลง
  • ช่องคลอดแห้งและคันเนื่องจากการขาดเอสโตรเจน
  • ปัสสาวะเร็ด เนื่องจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง การให้ฮอร์โมนจะช่วยลดอาการปัสสาวะเร็ด
  • ลดอาการอารมญ์แปรปรวน

ผลเสียของการให้ฮอร์โมน

ผลข้างเคียงของการให้ฮอร์โมน
  • คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง
  • ดีซ่าน
  • คัดเต้านม
  • เนื้องอกมดลูก
  • ประจำเดือนไม่ปกติ
  • ตกขาว
  • เกิดการคั่งของน้ำและเกลือ ทำให้โรคหอบหืด หัวใจ ไมเกรนแย่ลง
  • ฝ้า
  • ปวดศีรษะ
  • ผมร่วง
  • นำหนักเพิ่ม
  • น้ำตาลในเลือดเพิ่ม

 

  1. เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูก เกิดจากการรับประทานฮอร์โมนที่มีแต่เอสโตรเจน พบว่าหากรับประทานขนาดสูง และเป็นเวลานานความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูกจะเพิ่มขึ้น
  2. มะเร็งเต้านม มีหลักฐานยืนยันว่าการรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูง และเป็นเวลานาน 10-15 ปีจะเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น จนแพทย์บางท่านแนะนำว่าไม่ควรให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเกิน 5 ปี สำหรับฮอร์โมนที่เป็นส่วนผสมข้อมูลยังไม่แน่ชัด ดังนั้นผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ท่านต้องชั่งน้ำหนักผลดีและผลเสียของการรับฮอร์โมน
  3. นิ่วในถุงน้ำดี ฮอร์โมนจะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ควรจะหลีกเลี่ยง หากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนก็ใช้ชนิดปิดหรือชนิดทา

ผลข้างเคียงของการให้ฮอร์โมน

  • จะมีเลือดออกเหมือนประจำเดือน เมื่อใช้ฮอร์โมนไประยะหนึ่งจะเกิดมีเลือดออกช่องคลอด
  • คัดเต้านม
  • ผลข้างเคียงอื่นคือคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ตกขาว น้ำหนักเพิ่ม ท้องอืด

ระหว่างการรับฮอร์โมนต้องเฝ้าระวังอะไรบ้าง

  • เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
  • ปวดน่องและมีอาการบวมเนื่องจากโรคชั้นประหยัด
  • ปวดศีรษะ อาเจียนอ่อนแรงแขนขา
  • ก้อนที่เต้านม
  • ดีซ่าน
  • ปวดท้อง ระวังนิ่วในถุงน้ำดี

ข้อมูลล่าสุดไม่สนับสนุนการใช้ฮอร์โมนชนิดผสม

ดังที่ได้กล่าวตังแต่เริ่มต้นเกี่ยวกับผลดีของการใช้ฮอร์โมนชนิดผสมและติดตามผลข้างเคียงของฮอร์โมนซึ่งตีพิมพ์ในวรสาร July 17 issue of The Journal of the American Medical Association (JAMA) โดยตั้งใจจะศึกษาเป็นเวลา 8 ปีแต่ผ่านไป 5ปีต้องยุติเนื่องจากผลเสียของยาฮอร์โมนชนิดผสมมีมาก การศึกษามุ่งจะค้นหาคำตอบว่าการให้ฮอร์โมนผสมสามารถที่ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและกระดูกพรุนได้หรือไม่ และมีการเกิดผลข้างเคียงอย่างอื่นเป็นอย่างไร จึงได้มีการศึกษาผู้ป่วยวัยทอง 16600 คนอายุ 50-75 ปีแบ่งเป็น 2กลุ่มคือ

  1. ผู้ที่ยังไม่ได้ตัดมดลูกจะให้ฮอร์โมนผสม เนื่องจากต้องการลดอุบัติการณ์ของมะเร็งมดลูก
  2. ผู้ที่ตัดมดลูกไปแล้ว ให้ฮอร์โมนที่มีเอสโตรเจนอย่างเดียว

หลังการศึกษา 5 ปีต้องยุติเนื่องจากผลเสียของการให้ฮอร์โมนปรากฎดังนี้ ทุก 10000 คนที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดผสมจะเกิดผลเสียดังนี้

  • ผู้ที่กินยาฮอร์โมนผสมจะเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่ได้กิน 7 คน
  • เกิดอัมพาตมากว่าคนที่ไม่ได้กิน 8 คน
  • เกิดมะเร็งเต้านมมากกว่า 8 คน
  • เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวมากกว่า 18 คน


หากจะเทียบเป็นร้อยละก็จะได้ผลดังนี้

  • หลอดเลือดสมองเพิ่ม 41%
  • โรคหัวใจเพิ่ม 29%
  • ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น 1 เท่า
  • โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม 22%
  • มะเร็งเต้านมเพิ่ม 26%
  • ลดการเกิดมะเร็งลำไส้ 37%
  • ลดกระดูกสะโพกหักลงไปหนึ่งในสาม
  • ลดอัตรากระดูกหัก 24%
  • อัตราการตายไม่เปลี่ยนแปลง

สรุปได้ว่า

  • การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวไม่เพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งเต้านม
  • การให้ฮอร์ดมนผสมเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรนจะเพิ่มอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโรคหัวใจ ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด
  • ในการป้องกันโรคกระดูกพรุน เราสามารถใช้วิธีอื่นที่มีประสิทธิภาพ
  • ถ้ามีอาการร้อนวูบวาบตามตัวและไม่มีอาการอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องฮอร์โมนทดแทน
  • เนื่องวัยทองอาจจะใช้เวลาหลายปี การให้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานอาจจะเป็นอันตราย
  • คนที่มีประวัติโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งเต้านม ไม่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทน
  • คนอ้วนก็ไม่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทน

ข่าว

 

Google