การเลือกยกทรง

การตั้งครรภ์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดเต้านม น้ำหนัก และความไวต่อการสัมผัส ในการเลือกซื้อชุดชั้นในสำหรับการให้นมเด็กควรจะซื้อสัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด เพื่อจะได้ยกทรงที่พอดีกับขนาดของเต้านม หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อยกทรง

  • เลือกซื้อยกทรงที่สะดวกในการเปิดให้เด็กดูดนมได้ง่าย
  • สามารถใช้มือข้างเดียวในการเปิดยกทรงเพื่อให้เด็กดูดนม เนื่องจากมืออีกข้างกำลังอุ้มเด็กอยู่
  • เลือกซื้อยกทรงสัปดาห์สุดท้ายเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะกับเต้านม
  • เลือกซื้อขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องเพื่อว่าขนาดเต้านมจะโตขึ้น ต้องทำใจว่าหากขนาดเต้านมโตขึ้นก็ซื้อขนาดใหม่
  • สายที่คล้องควรจะมีขนาดใหญ่และมีเบาะรองรับ สายไม่ควรจะเป็นสายยืด
  • ควรจะมียกทรง 2-3 อันเพื่อจะได้ทำความสะอาดทุกวัน

การเลือกขนาดยกทรง

เนื่องจากรูปร่างของแต่ละคนไม่เหมือนกัน รวมทั้งขนาดของเต้านม รูปร่างของเต้านม รวมทั้งรูปแบบของยกทรงก็มีหลายรูปแบบ ดังนั้นควรจะเลือกยกทรงที่มีขนาดพอดี วิธีการเลือกขนาดยกทรง

การวัดขนาดของยกทรง

ให้วัดขนาดรอบทรวงอกหรือที่เรียกว่า band size โดยวัดรอบลำตัวใต้วงแขน โดยการวัดท่ายืน หายใจเข้าออกปกติ ถ้าค่าที่วัดได้เป็นเลขคี่ ให้บวก 1 เพื่อเป็นเลขคู่     

วัดขนาดของ cup size โดยการวัดรอบเต้านมส่วนที่ใหญ่ที่สุด

ให้เอา cup size (ส่วนของ band size ให้ทำเป็นเลขคู่ เช่นวัดได้ 39 ให้บวกอีก 1) ลบออกจาก band sizeจะได้ค่าตัวเลข
  • 0-2            A
  • 2-3            B
  • 3-4            C
  • 4-5            D
  • 5-6            DD
  • 6-7            F
  • 7-8            G
  • >8             H

การวัดความกว้างของยกทรง

ปลดฝาครอบยกทรงออก ติดตะขอด้านหลังในระดับเอวให้พอดี ไม่ให้เลื่อนไปบริเวณสะบัก
การที่ปรับไม่ดีเมื่อต้องการยกเต้านม จะทำให้ขอบยกทรงถูกดึงรั้งไปบริเวณสะบัก ผลคือไม่สามารถที่จะรับน้ำหนักเต้านมได้
ก้มหน้าให้นมห้อย จับยกทรงตรงรอยต่อระหว่างสายยกทรงกับตัวยกทรง ดึงขึ้นมาคลุมเต้านม เขย่าให้เต้านมเข้าที่
ปิดฝาครอบเต้านม เมื่อยังไม่คลอดให้ติดที่ขอบบนสุด เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมให้ลดลงหนึ่งขั้นขณะที่คัดเต้านม
ปรับระดับความตึงของสายยกทรงให้พอดี แล้วสอดมือเพื่อให้สายยกทรงไปอยู่ที่ไหล่
ก่อนที่จะปิดฝาครอบยกทรงให้ก้มและเขย่าเต้านมว่ายกทรงได้ขนาดพอดี
การตรวจสอบสุดท้าย ให้สอดนิ้วใต้ขอบยกทรงจะพบกระดูกชายโครงอยู่ใต้ขอบยกทรง เต้านมจะอยู่ใน cup พอดีไม่ล้นออกจากยกทรง

ตรวจสอบความพอดีอีกครั้ง

รูปแสดงตำแหน่งยกทรงที่ถูกต้อง ขนาดพอที่จะคลุมทั้งเต้านม

 

 

 

ยกทรงที่มีลวดอยู่ที่ขอบยกทรง ตำแหน่งของลวดอยู่ตรงขอบชายโครง เต้านมจะไม่ล้นออกมาแนวลวด เนื่องจากจะทำให้เกิดการกดทับ

ตำแหน่งที่ดียกทรงทางด้านหลัง ขอบยกทรงขนานกับพื้น และขอบยกทรงไม่เกินขอบสะบัก
ขนาดยกทรงเล็กกว่าเต้านม ทำให้ขอบยกทรงไม่ติดกับชายโครง ซึ่งทำให้ยกทรงไม่สามารถรองรับน้ำหนักเต้านม และยังทำให้เต้านมล้นออกมา
ตำแหน่งของยกทรงไม่ถูกต้อง ขอบยกทรงเลื่อนขึ้นมาบนสะบัก ทำให้เต้านมยานเนื่องจากยกทรงไม่สามารถลองรับน้ำหนักของเต้านม

 

Google
 

เพิ่มเพื่อน