หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่4

 

ระยะนี้ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากเมื่อตอนที่ฝังตัวจะมีลักษณะเหมือนตุ่มพองบนเยื่อบุโพรงมดลูก จนกระทั่งในสัปดาห์ที่สี่จะเริ่มมีถุงน้ำคร่ำAmniotic fluid เกิดขึ้น ภายในถุงน้ำคร่ำจะมีน้ำคร่ำซึ่งทำหน้าที่ป้องกันตัวอ่อนจากสิ่งแวดล้อม การกระทบกระเทือน ควบคุมอุณหภูมิให้ตัวอ่อน ทำให้ตัวอ่อนสามารถเคลื่อนไหวได้เพื่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ และยังเป็นแหล่งน้ำให้ตัวอ่อนอีกด้วยตัวอ่อนจะฝังตัวที่มดลูกซึ่งมีเยื่อบุมดลูกพร้อมที่จะรับการฝังตัวของตัวอ่อน ส่วนถุงเล็กๆ อีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับตัวอ่อนจะเป็นถุงไข่แดงที่เรียกว่า Yolk sac ประกอบไปด้วยเส้นเลือดเล็กๆมากมาย ทำหน้าที่ให้อาหาร กับตัวอ่อนในขณะที่ยังไม่สามารถดูดซึมอาหารเองได้ เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้นก็จะเปลี่ยนมาใช้รกในการดูดซึมอาหารจากแม่มาเลี้ยงร่างกายระยะนี้เรียกตัวอ่อนว่า blastocyst บริเวณที่ฝั่งตัวจะเกิดรกระยะนี้ตรวจปัสสาวะจะให้ผลบวกว่าคุณตั้งครรภ์ และเริ่มมีการสร้างฮอร์โมนจากรกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณแม่มีอาการของคนตั้งครรภ์ ระยะนี้คุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุเหล็ก และแคลเซี่ยม

ระยะนี้เซลล์ทารกจะมีสามชั้นได้แก่

สัปดาห์ที่4

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

เมื่อตัวอ่อนฝังตัวจะสร้างฮอรฺโมน (hcg) human chorionic gonadotropin ซึ่งจะทำให้เยื่อบุมดลูกอุดมไปด้วยอาหาร และยังห้ามมิให้ไข่สุก ระยะนี้อาจจะมีเลือดออกเล็กน้อย และอาจจะมีอาการปวดท้องน้อยทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือน ระยะนี้อาจจะตรวจพบการตั้งครรภ์โดยการตรวจ hcg และเริ่มที่จะมีแพ้ท้อง คัดเต้านม ปวดศีรษะ ปวดหลัง อาการต่างๆเหล่านี้จะเหมือนกับอาการก่อนมีประจำเดือน หากท่านมีการขาดประจำเดือน และมีอาการดังกล่าวก็สามารถตรวจปัสสาวะตรวจการตั้งครรภ์

คุณแม่บางท่านมีอาการอยากอาหารมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่อาการที่แน่นอนเสมอไป การอยากอาหารอาจเป็นจากร่างกายกำลังต้องการสารอาหารต่างๆมากขึ้นเพื่อตัวอ่อนในครรภ์ 

การดูแลตัวเองเมื่อประจำเดือนเลื่อน

เมื่อท่านตั้งครรภ์ควรจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง

โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ที่พบในระยะการตั้งครรภ์นี้

 แท้งคุกคาม

การมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยอาจเป็นสัญญานของการตั้งครรภ์ เนื่องจากรกมีการฝังตัวเจาะเข้าไปในเส้นเลือดแม่ ทำให้มีเลือดออกในช่วงก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีประจำเดือน แต่ไม่ควรจะมีเลือดออกอีก หากมีเลือดออกอาจหมายถึงว่า

การที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกที่ทราบว่าตั้งครรภ์ก็จะช่วยป้องกันได้อีกทาง เพราะคุณหมอจะให้ยาฮอร์โมนเสริมในกรณีที่คุณแม่มีฮอร์โมนน้อย แต่ถ้าการมีเลือดออกได้เกิดขึ้นแล้วให้คุณแม่สังเกตสี ปริมาณ และอาการที่เกิดขึ้น ควรจะไปพบแพทย์เมื่อ

อารมณ์แปรปรวน

คุณแม่อาจค้นพบว่าตัวเองมีอารมณ์อ่อนไหวแปรปรวน กังวล ซึมเศร้า สับสน หรือกลัว เนื่องจากการแปรปรวนของระดับฮอร์โมน คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะอาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ เพียงแต่ให้คุณแม่รับทราบเอาไว้ว่ามันอาจเกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องปกติ

การตรวจต่างๆ

การตรวจในระยะนี้จะเป็นการตรวจเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ ที่นิยมตรวจได้แก่การตรวจปัสสาวะซึ่งระดับฮอร์โมนอาจจะสูงไม่พอทำให้ตรวจไม่พบ การตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมน hcg ซึ่งนอกจากจะบอกการตั้งครรภ์ยังสามารถประเมินอายุครรภ์ได้ด้วย อ่านเรื่องการตรวจฮอร์โมน hcg

การตรวจความดันโลหิต

การตรวจความดันโลหิตจะทำทุกครั้งที่คุณแม่มาตรวจครรภ์ การวัดความดันโลหิตมีความสำคัญ เนื่องจากมีโรคแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์คือครรภ์เป็นพิษซึ่งจะพบว่ามีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

การชั่งน้ำหนัก

การชั่งน้ำหนักมักชั่งทุกครั้งที่คุณแม่มารับการตรวจครรภ์ เพื่อตรวจการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักอย่างปกติ ซึ่งคุณแม่ไม่ควรกังวลกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักมากเกินไป ปล่อยให้คุณหมอเป็นผู้ดูแลให้จะดีกว่า

การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ไตรมาส1 เดือนที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่3 การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่5

 

เพิ่มเพื่อน