การตรวจ Ultrasound Exams

Ultrasound คืออะไร

 อัลตร้าซาวด์ คือ คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5 - 7 megahertz ที่ปล่อยออกมาจากหัวตรวจ (Transducer) ที่สัมผัสกับผนังหน้าท้องของแม่ คลื่นเสียงจะไปตกกระทบที่เนื้อเยื่อแล้วสะท้อนกลับมา เครื่องก็จะอ่านผลเป็นความเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ ภาพที่แสดงให้เห็นทางจอภาพจะแสดงในรูปแบบของจุด (Pixel) เช่น ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นมาก เช่น กระดูก ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีขาว ถ้าเป็นเนื้อเยื่อก็จะเป็นส่วนที่มืดมากขึ้น ถ้าเป็นของเหลวก็จะเป็นสีดำ เป็นต้น การตรวจอัลตร้าซาวด์ในขณะตั้งครรภ์คลื่นเสียงจะผ่านผนังหน้าท้องของแม่ ไปยังทารกในครรภ์ แล้วสะท้อนกลับมาสร้างเป็นภาพให้เห็นทางจอภาพ

การตรวจ ultrasound ไม่เหมือน x-ray ตรงที่ใช้คลื่นเสียงแทนรังสีซึ่งปลอดภัยสำหรับแม่และเด็ก

การทำงานของ ultrasound เป็นอย่างไร

เครื่องตรวจultrasound

หัวนำเสียงตรวจทางหน้าท้อง

หัวนำเสียงตรวจทางช่องคลอด

ultrasound ที่ใช้อยู่สามารถทำให้เราเห็นภาพขณะนั้น เราสามารถเห็นภาพหัวใจเด็กเต้น เห็นการเคลื่อนไหวของแขน ขา ทำให้เราสามารถติดตามการพัฒนาของทารก จำนวนของทารก ตำแหน่งของทารก และตำแหน่งของรก  ประโยชน์อีกอันหนึ่งคือ Doppler ultrasound ซึ่งทำให้เราได้ยินเสียงหัวใจเด็กเต้น

ชนิดของ Ultrasound

ชนิดของ ultrasound มีด้วยกัน 7 ชนิด แต่หลักการทำงานเหมือนกัน

  • Transvaginal Scans เป็นultrasound ที่ออกแบบสำหรับสอดเข้าช่องคลอดเพื่อตรวจ โดยทั่วไปเหมาะสำหรับการตรวจตอนตั้งครรภ์ในระยะแรก
  • Standard Ultrasound เป็น ultrasound มาตราฐานที่ตรวจทางหน้าท้อง
  • Advanced Ultrasound เป็น ultrasound ที่ออกแบบพิเศษสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน
  • Doppler Ultrasound เป็น ultrasound ที่ใช้สำหรับวัดการไหลเวียนของเม็ดเลือด
  • 3-D Ultrasound เป็น ultrasound ที่ออกแบมาเพื่อสร้างภาพสามมิติเพื่อการพัฒนาของทารก
  • 4-D or Dynamic 3-D Ultrasound เป็น ultrasound เพื่อดูหน้าและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ
  • Fetal Echocardiography เป็น ultrasound เพื่อไว้ตรวจหัวใจเด็ก


ประโยชน์ของ ultrasound

หญิงตั้งครรภ์ทุกคนไม่จำเป็นต้องใช้ ultrasound ในการตรวจเสมอไป แพทย์จะใช้ตรวจในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพื่อค้นหาปัญหาและติดตามการเจริญเติบโตของทารกตัวอย่างประโยชน์ของ ultrasound


วิธีการตรวจ ultrasound

ให้ดื่มน้ำและกลั่นปัสสาวะก่อนตรวจ ถ้าตรวจ ultrasound ทางหน้าท้องจะเปิดหน้าท้องแล้ใช้ครีมทาหน้าท้องและใช้หัวนำเสียงวางบนครีม

ความปลอดภัย

ultrasound ได้ใช้ตรวจผู้ป่วยมากกว่า 30 ปียังไม่พบว่ามีปัญหาโรคแทรกซ้อน

ไตรมาสแรก

  • ใช้วินิจฉัยว่าตั้งครรภ์หรือไม่
  • ตำแหน่งของทารก การเต้นของหัวใจ
  • วัดรอบศีรษะเด็กเพื่อประเมินอายุครรภ์
  • วินิจฉัยครรภ์ไข่ปลาอุ และครรภ์นอกมดลูก
  • ประเมินว่าตั้งครรภ์ผิดปกติ

ตั้งครรภ์ไตรมาส 2

  • วินิจฉัยทารกพิการแต่กำเนิดพิการแต่กำเนิดบางชนิด เช่น ศีรษะ กระดูกสันหลัง แขน ขา หัวใจ
  • พิการของอวัยวะ
  • ตั้งครรภ์แผด
  • อายุครรภ์และอัตราการเจริญเติบโตของเด็ก
  • แสดงการตรวจ ultrasound ทางช่องคลอด

  • ประเมินขณะของทารกว่าเหมาะสมกับอายุหรือไม่
  • วินิจฉัยว่าทารกตายในท้อง
  • ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกวินิจฉัยว่าน้ำคร่ำมากหรือน้อย
  • ประเมินสุขภาพทารก

ตั้งครรภ์ไตรมาสสาม

  • ตำแหน่งของรก
  • วินิจฉัยเด็กตายในมดลูก
  • ท่าของเด็ก
  • การเคลื่อนไหวของเด็ก
  • ตรวจความผิดปกติของช่องเชิงกราน
  • ช่วยในการเจาะน้ำคร่ำ
  • ช่วยแพทย์ในการเลือกวิธีคลอดเช่น เด็กตัวโตมากก็แนะนำผ่าตัด

นอกจากนี้ยังใช้ ultrasound ที่ตรวจทางช่องคลอดตรวจหาตำแหน่งเลือดออกขณะตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตรวจอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ในสูติกรรมมี 2 ชนิดคือ

  1. การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้องใช้ในการตรวจครรภ์ในระยะไตรมาสที่ 2 – 3 เพื่อที่จะได้เห็นภาพของทารกและรกที่ชัดเจนมากขึ้น
  2. การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดใช้ตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก เพื่อที่ได้เห็นภาพ ของปากมดลูก  มดลูก ถุงน้ำคร่ำ ตัวอ่อน และโครงสร้างลึกๆของอุ้งเชิงกราน

การตรวจอัลตร้าซาวด์ทั่วๆไปในการตรวจครรภ์จะใช้เพื่อ

  • คาดคะเนอายุครรภ์
  • ตรวจการเจริญเติบโตของทารก
  • ดูจำนวนของทารก
  • ตรวจครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง 
  • สงสัยว่ามีความผิดปกติ หรือทารกตายในครรภ์ 
  • เพื่อบอกตำแหน่งของรกและความผิดปกติของรก
  • เพื่อแยกการตั้งครรภ์นอกมดลูกและความผิดปกติในการตั้งครรภ์อื่นๆ
  • มีเลือดออกผิดปกติ

การตั้งครรภ์

การตรวจขณะตั้งครรภ์  

 

เพิ่มเพื่อน