การตั้งครรภ์เดือนที่ 3

การเจริญและการพัฒนาของทารก

ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 18 กรัม ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ทารกในตอนนี้มีรูปร่างเป็นมนุษย์ตัวจิ๋วเด็กทารกวัยนี้จะมีอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ อ้าปากและหุบปากได้เริ่มมีฟัน นิ้วเริ่มมีเล็บ แต่ท่านยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเด็กยังมีขนาดเล็ก แขนและมือจะมียาวกว่าขา ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว รูปร่างของใบหน้าเริ่มแสดงเค้าโครงที่ชัดเจนแล้วว่าจะเหมือนใครในครอบครัว เริ่มจะมองเห็นส่วนของคาง หน้าผาก และจมูกที่เป็นเพียงปุ่มเล็กๆ ตาทั้งสองข้างจะเข้ามาอยู่ใกล้กันมากขึ้น เปลือกตายาวพอที่จะปิดคลุมตาได้ และจะหลับตาอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ตำแหน่งของหูจะเคลื่อนสูงขึ้นมาอยู่ด้านข้างของศีรษะแล้ว และสามารถมองเห็นเป็นรูปร่างใบหูชัดเจน ส่วนหลอดเสียงนั้นจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วแต่จะยังไม่สามารถก่อให้เกิดเสียงได้

การพัฒนาของอวัยวะทารก

หัวใจจะมี4 ห้อง หัวใจจะเต้น 120-160 ครั้งตอนนี้หัวใจสามารถทำงานได้สมบูรณ์ สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ หัวใจเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอแต่เร็วมาก เร็วกว่าการเต้นของหัวใจแม่ คุณแม่อาจจะได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจลูกด้วยหากคุณหมอทำการตรวจด้วย Doppler

ไตเริ่มขับของเสียสู่กระเพาะปัสสาวะและถูกนำออกโดยสายสะดือ

เซลล์กระดูกที่ได้วางตัวไว้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์นั้นได้มีการพัฒนาด้านโครงสร้างเสร็จเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามกระบวนการพัฒนากระดูกนั้นใช้เวลานานมาก โครงสร้างต่างๆของกระดูกและข้อนั้นจะสร้างเมื่อทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา แต่ความแข็งแรงของกระดูกจะมีการพัฒนาต่อไปจนสมบูรณ์ก็เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

อวัยวะเพศเริ่มปรากฏรังไข่ และอัณฑะได้ถูกสร้างขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้วภายในร่างกาย แต่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกยังไม่ชัดเจนและยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก ดังนั้น การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์อาจจะยังไม่เห็นว่าทารกเป็นเพศใดได้

ผิวหนังของทารกจะเป็นสีแดงและบางใสมากจนเห็นเครือข่ายของเส้นเลือดอย่างชัดเจน ส่วนนิ้วมือและนิ้วเท้าตอนนี้มีห้านิ้วชัดเจนไม่ติดกันแล้ว และเริ่มมีการสร้างเล็บอีกด้วย

หากผ่านช่วงนี้ไปโอกาสแท้งบุตรจะน้อยลงเนื่องจากรกจะแข็งแรงขึ้น ระยะนี้เป็นระยะที่อวัยวะต่างๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้นมา หากระยะนี้ไม่มีภาวะที่ทำให้เกิดพิการแต่กำเนิด เด็กก็จะมีอวัยวะครบ 32 แต่ในเรื่องความฉลาดของเด็กยังมีการพัฒนาต่อเนื่อง

การเคลื่อนไหวทารก

เนื่องจากกล้ามเนื้อและระบบประสาทเริ่มทำงานได้สัมพันธ์กัน ดังนั้น ทารกของคุณจะเริ่มเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจเป็นเหมือนการทดลองเคลื่อนไหวดูก่อน หลังจากนั้นจะเคลื่อนไหวจริงจังมากขึ้น และรุนแรงขึ้นเมื่อถึงปลายของเดือนที่ 3 นี้ ตอนนี้ทารกจะสามารถเตะ หมุนตัวไปรอบๆ บิดตัว ว่ายน้ำ แม้กระทั่งตีลังกาก็ได้ด้วย ทารกสามารถขยับนิ้วหัวแม่มือ อ้าปาก กลืน ซ้อมทำท่าหายใจเข้าออก หมุนข้อเท้า งอข้อมือและกำปั้นได้ แต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวต่างๆของทารกในตอนนี้ ต้องรอไปจนกว่าจะถึงเดือนหน้าจึงจะรู้สึกได้

ตอนนี้ทารกอาจจะเริ่มดูดได้แล้ว ปุ่มรับความรู้สึกที่ลิ้นที่จะทำหน้าที่รับรู้รสชาติของอาหาร และต่อมน้ำลายมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และเมื่อมีการพัฒนาการกลืนได้แล้วทารกก็จะเริ่มกลืนน้ำคร่ำเข้าไป น้ำคร่ำนี้จะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารที่เพิ่งจะสร้างเสร็จใหม่ๆเช่นกัน ในน้ำคร่ำจะมีสารอาหารที่จะช่วยให้ทารกเจริญเติบโต และการกลืนน้ำคร่ำเข้าไปก็จะทำให้ไตเริ่มทำงาน เมื่อไตทำงานมีการกรองเกิดขึ้นทารกก็จะมีการปัสสาวะ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะปัสสาวะของทารกจะสะอาดปราศจากเชื้อและหมุนเวียนกลับไปเป็นน้ำคร่ำใหม่

ทารกอาจสูดเอาน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะทารกยังไม่มีการหายใจจนกว่าจะออกมาสู่โลกภายนอกเท่านั้น แม้จะพบว่าทารกมีการซ้อมหายใจก็ตาม แต่ออกซิเจนทั้งหมดที่ทารกใช้ได้มาจากคุณแม่ผ่านทางสายสะดือ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่์

ช่วงนี้คุณแม่จะสบายขึ้น อาการแพ้ท้องจะลดลง อาจจะมีอาการปวดศีรษะ มึนลง เพลีย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน หากท้องเริ่มโตคุณแม่หาชุดคลุมท้องใส่จะทำให้รู้สึกสบายขึ้น น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มขึ้น

ช่วงนี้หากสังเกตจะพบรอยผิวแตกที่เต้านม สะโพก ซึ่งอาจจะจางหลังจากคลอดบุตร การที่น้ำหนักคุณแม่ค่อยๆเพิ่มจะลดความรุนแรงของรอยแตก

เมื่อไปฝากครรภ์แพทย์จะวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจนับอัตราการเต้นของหัวใจ ขนาดของมดลูกเพื่อเปรียบเทียบกับอายุครรภ์



ในเดือนที่ 3 นี้ คุณแม่จะเริ่มปรับตัวให้เข้ากับการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น คุณแม่หลายท่านตั้งตารอคอยกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปด้วยดีมากยิ่งขึ้น ตอนนี้เสื้อผ้าอาจเริ่มคับเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ใครๆจะยังดูไม่ออกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ และยังต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์เลยทีเดียวกว่าคุณจะต้องการเสื้อผ้าสำหรับการตั้งครรภ์อย่างจริงจัง 

หากคุณแม่มีความรู้สึกอ่อนล้าจากผลของการแพ้ท้อง ข่าวดีก็คือจากสัปดาห์ที่ 12 นี้เป็นต้นไป อาการแพ้ท้องจะเริ่มทุเลาลง แต่อย่าคาดหวังว่าทุกอย่างจะต้องสมบูรณ์แบบ มันอาจไม่ได้ดีขึ้นภายในวันสองวันนี้ แต่อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ก็ได้          

ในระยะนี้คุณแม่อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจากการตั้งครรภ์ (ประมาณ 1.2 kg / 4 ? lb) แม้ว่าบางทีน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นน้อยกว่านี้เนื่องจากผลของการแพ้ท้อง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป และเริ่มรับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้มากขึ้นก็พอ


 

ระยะนี้ยังคงมีอาการของคนแพ้ท้อง จะพบว่าเส้นเลือดที่นม ท้อง ขา เริ่มขยาย ท้องจะเริ่มโต ผู้ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกอยากอาหาร อารมณ์จะผันผวนน้อยลง

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ

  • เสริมอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง เช่นผักใบเขียว นม chese
  • ระยะนี้จะเหมาะสมสำหรับการตรวจโรคทางพันธุกรรม เช่น down syndrome,cystic fibrosis
  • ตรวจฟันกับทันตแพทย์ และใช้ไหมขัดฟัน เพราะช่วงนี้อาจจะมีเลือดออกง่าย
  • ระวังเรื่องการใช้ยา การใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง หากคุณแม่มีโรคประจำตัวใดๆควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย
  • การดูแลผิวพรรณป้องกันท้องลาย เนื่องจากผิวหนังบริเวณหน้าท้องมีการขยายอย่างรวดเร็ว หากผิวหนังไม่มีการยืดหยุ่นที่ดีพอก็จะทำให้เกิดการแตกเป็นลาย หลังคลอดจะปรากฎเป็นลาย การป้องกันทำได้โดยการทาครีมชนิดเข้มข้น และนวดบริเวณหน้าท้อง ต้นขา หน้าอก ก้น ไม่ควรจะเกาบริเวณที่คันเพราะจะทำให้เกิดลายมากขึ้น การเกิดท้องลายมักจะเกิดในการตั้งครรภ์ไตรมาศ3เนื่องจากผิวหน้าท้องมีการยืดอย่างมาก ดังนั้นควรจะทาครีมตั้งแต่ท้องยังไม่มีอาการลาย
  • ควรตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันการเกาที่อาจจะทำให้หน้าท้องลายมากขึ้น 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะพบได้

การตรวจเลือดและปัสสาวะ

  • การตรวจปัสสาวะ เป็นการหาการติดเชื้อ การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ
  • การตรวจเลือด จุดประสงค์ของการตรวจเลือดเพื่อตรวจโลหิตจาง เนื่องจากมีปริมาณน้ำเลือดเพิ่มมากขึ้น แต่เม็ดเลือดแดงเพิ่มน้อยกว่าน้ำเลือดซึ่งอาจจะทำให้เกิดโลหิตจาง
  • การตรวจหาภูมิต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบ

สัปดาห์ที่ 9 10 11 12

เดือนที่2 เดือนที่4

เพิ่มเพื่อน