ทารกท่าก้น breech

 

 

ตามปกติเมื่อครบกำหนดคลอด ทารกส่วนใหญ่ 95-97% จะเอาศีรษะเป็นส่วนนำ (ส่วนของทารกที่จะคลอดออกมาก่อนส่วนอื่นๆ) กล่าวคือ ศีรษะจะเป็นส่วนที่อยู่ต่ำที่สุดในช่องเชิงกราน และจะคลอดออกมาทางช่องคลอดก่อนส่วนอื่นของร่างกาย ที่เรียกว่าทารกอยู่ในท่าศีรษะ/ท่าหัว ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมสำหรับการคลอดทางช่องคลอดมากที่สุด เพราะคลอดได้ง่ายที่สุด แต่มีทารกประมาณ 3-4% เอาก้นเป็นส่วนนำ หรืออยู่ต่ำสุด เรียกว่าทารกอยู่ในท่าก้น หรือ "ทารกท่าก้น (Breech presentation)" ซึ่งไม่ใช่ท่าคลอดปกติ การคลอดจึงไม่ปกติเหมือนทารกท่าศีรษะ ทั้งนี้ทารกอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด มีโอกาสที่จะอยู่ในท่าก้นมากขึ้น ปัญหาที่สำคัญของทารกท่าก้นคือเพิ่มความเสี่ยงของทารกและแม่เพิ่มขึ้นเมื่อคลอดท่าก้น

ทารกท่าก้นหมายถึง

เด็กในครรภ์มารดาที่มีส่วนนำเป็นก้นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของขาหรือร่วมกันอยู่ทางส่วนล่างของมดลูก และศีรษะอยู่ทางยอดมดลูก สาเหตุที่แท้จริงที่เกิดทารกท่าก้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบสาเหตุที่ส่งเสริมให้เกิดทารกท่าก้นในกรณีดังต่อไปนี้

  • เด็กในครรภ์มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่ากว่าปกติ เช่น มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ หรือมารดามีหน้าท้องหย่อนในการตั้งครรภ์หลังๆ
  • มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ
  • ส่วนหัวเด็กไม่สามารถปรับเข้ากับอุ้งเชิงกรานได้เช่น เด็กมีภาวะ Hydrocephalus หรือรกเกาะต่ำ
  • ทารกแฝด

หากในเดือนที่เก้าทารกยังคงไม่หมุนศีรษะกลับลงมาสู่อุ้งเชิงกราน การผ่าตัดคลอดก็จะถูกกำหนดขึ้น ในทารกท่าก้นบางกรณีสามารถคลอดเองทางช่องคลอดได้ แต่พบว่าภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทารกท่าก้นมีสูงเช่น ทารกขาดอ๊อกซิเจน และมีเลือดออกในสมอง เนื่องจากศีรษะเด็กคลอดช้าเกินไป ปัจจุบันพบว่าการผ่าตัดคลอดเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับกรณีนี้

ในเดือนที่แปดนี้ทารกควรจะกลับศีรษะลงมาเรียบร้อยแล้ว เราจะทราบโดย

  • คุณหมอสามารถตรวจพบได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์
  • คุณแม่สามารถพบว่าส่วนที่แข็งๆที่เป็นศีรษะของทารกอยู่บริเวณชายโครง
  • เท้าจะถีบลงบนบริเวณท้องส่วนล่างของคุณ

อาการของทารกท่าก้น

  • คุณแม่อาจจะมีอาการเจ็บบริเวณชายโครงเนื่องจากศีรษะเด็กกดชายโครง
  • มีก้อนแข็งซึ่งคือศีรษะเด็กลอยไปมาบริเวณลิ่มปี่
  • รู้สึกมีก้อนนุ่มๆบริเวณท้องน้อย(คือขา ก้น)
  • หัวใจเด็กอยู่เหนือสะดือ

 ทารกในท่าก้นยังแบ่งเป็นอีกหลายแบบ ได้แก่

  • Flank breech พบท่านี้มากที่สุดประมาณ 85% ทารกเอาก้นเป็นส่วนนำ งอข้อสะโพก แต่เหยียดข้อเข่า
  • Complete breech ทารกเอาก้นเป็นส่วนนำ งอข้อสะโพก และงอข้อเข่า
  • Incomplete breech ข้อสะโพกของทารกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านไม่งอ ทำให้เท้าหรือเข่าอยู่ต่ำกว่าส่วนก้นลงไป หากเอาเท้าเหยียดลงไปต่ำสุดเรียกว่า Footling breech อาจเหยียดทั้ง 2 ขา หรือเพียง 1 ขาก็ได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดทารกท่าก้น

  • Lax uterus (usually associated with high maternal parity)
  • มารดามีเนื้องอกมดลูก หรือมีความผิดปกติของมดลูก ทำให้ทารกไม่สามารถหมุนเป็นท่าศีรษะได้มปกติUterine anomalies (eg, bicornuate or septate uterus) or tumour
  • มีภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa) จึงขัดขวางการหมุนตัวของทารก
  • การตั้งครรภ์แฝด
  • มีความผิดปกติของช่องเชิงกราน
  • คุณแม่สูบบุหรี่
  • เป็นเบาหวาน
  • ความผิดปกติของรูปร่างของทารก Fetal malformation (เช่นเด็กหัวโต hydrocephalus) เช่น ศีรษะโตเกินไป หรือมีเนื้องอกบริเวณส่วนบนหรือส่วนล่างของทารก ทำให้ทารกไม่สามารถหมุนเป็นท่าศีรษะได้มปกติ
  • ปริมาณน้ำคร่ำมากเกินไป Polyhydramnios ทำให้ทารกหมุนตัวได้มากเกินไป หรือปริมาณน้ำคร่ำน้อยเกิน ไป oligohydramnios  ทารกหมุนตัวไม่ได้
  • ทารกที่อายุครรภ์น้อย (ทารกตัวเล็ก) พบว่าทารกอายุครรภ์ก่อน 28 สัปดาห์ มีโอกาสอยู่ในท่าก้น 22%
  • ครรภ์ที่ผ่านๆมา มีทารกเคยอยู่ในท่าก้น Previous breech delivery
  • และลดลงเหลือ 7% เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และพบเพียง 1-3% ในทารกอายุครรภ์ครบกำหนด

โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากทารกท่าก้น

อุบัติการณ์ของโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับทารกและแม่สำหรับเด็กท่าก้นจะสูงกว่าเด็กที่คลอดปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้แก่

  • มีการกดทับสายสะดือเนื่องจากสายสะดือย้อย หากกดทับนานจะทำให้เด็กขาดออกซิเจน และเสียชีวิตได้
  • คลอดติดศีรษะเนื่องจากก้นมีขนาดเล็กกว่าศีรษะ ศีรษะไม่มีการปรับรูปร่าง
  • ทารกได้รับอันตรายจากการคลอดเช่น เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ กระดูกไหปลาล้าหัก
  • คลอดก่อนกำหนด
  • น้ำเดินก่อนกำหนด

จะต้องทำอย่างไรเมื่อทราบว่าทารกอยู่ในท่าก้น

หากตรวจพบในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆคุณแม่ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเด็กอาจจะหมุนตัวเปลี่ยนท่าได้ หากพบตอนตั้งครรภ์อายุ 34-36 สัปดาห์ซึ่งในระยะนี้ทารกจะไม่เปลี่ยนท่าแล้ว แพทย์จะนัดตรวจอัลตราซาวด์ และนัดตรวจถี่ขึ้น

การดูแลทารกท่าก้น

แพทย์ดูแลรักษาภาวะทารกท่าก้น โดย

การคลอดทางช่องคลอด

ปัจจุบันได้รับความนิยมลดลง เนื่องจากข้อมูลที่มีในปัจจุบันพบว่า การคลอดทางช่องคลอดทำให้เด็กทารกได้รับอันตรายมากกว่าการผ่าท้องคลอด การคลอดทางช่องคลอด แบ่งเป็นอีก 3 วิธีในการทำคลอดคือ

  • ให้ทารกคลอดเองในท่าก้นเลย โดยแพทย์ไม่ต้องช่วย (Spontaneous breech delivery) มักใช้กับเด็กตัวเล็ก โดยแพทย์ไม่ต้องช่วย
  • แพทย์ช่วยคลอดบางส่วน (Breech assisting delivery)
  • แพทย์ทำคลอดทั้งหมด (Total breech extraction) ใช้ในกรณีรีบด่วน ฉุกเฉิน เพื่อรีบช่วยชีวิตทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะล้วงเข้าจับขาทารก แล้วดึงออกมา

หมุนเปลี่ยนทารกจากท่าก้นให้เป็นท่าศีรษะจากภายนอก ( External cephalic version) และให้คลอดท่าศีรษะ

เพราะการคลอดท่าศีรษะจะง่ายกว่า และมีอันตรายต่อทารกน้อยกว่าการคลอดในท่าก้น ซึ่งแพทย์มักจะทำการหมุนเปลี่ยนท่าตอนอายุครรภ์ 36 สำหรับการตั้งครรภ์ครรภ์แรก 37 สัปดาหสำหรับผู้ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ก่อนที่จะมีอาการเจ็บครรภ์ โรคแทรกซ้อนพบไม่บ่อยได้แก่ รกลอก มดลูกแตก และเลือดออกทั้งแม่และทารกอัตราความสำเร็จประมาณ 30-80%

การผ่าท้องคลอด

แพทย์ส่วนใหญ่จะนิยมใช้วิธีนี้ผ่าตัดคลอดเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด เนื่องจากทำอันตรายต่อทารกน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ม การผ่าท้องคลอดจะเป็นอันตรายต่อมารดามากกว่าการคลอดทางช่องคลอด

หากเป็นทารกท่าก้นต้องทำอะไร

หากท้องแรกทารกเป็นท่าก้น ท้องต่อไปมีแนวโน้มที่จะเกิดทารกอยู่ในท่าก้นซ้ำอีก ดังนั้นจะต้องตรวจว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกท่าก้นหรือไม่ เช่น เนื้องอกของมดลูก ความผิดปกติของมดลูก หากมิได้แก้ไขก็จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดท่าก้น