Contraction Stress Test (CST)

 

 

คือการประเมินสภาพของทารกในครรภ์จากภายนอก ผ่านจากมารดาโดยการ บันทึกการเต้นของหัวใจของทารกในขณะที่มีการบีบตัวของมดลูก อัตราการเต้นของ หัวใจของทารกและการบีบตัวของมดลูกจะถูกบันทึกไว้

การบีบตัวของมดลูกจะทำให้เลือดมาเลี้ยงทารกน้อยลงเป็นช่วงเวลาสั้นๆ จากการสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจของทารกขณะที่มีการบีบตัวของมดลูก แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าทารกสามารถรับมือกับสภาวะตึงเครียดของการบีบตัวของมดลูก นั้นได้ดีเพียงใด

Contraction Stress Test จะทำเมื่อใด

  • เมื่อ Nonstress Test ได้ผล Nonreactive
  • เมื่อผลของการตรวจ  Biophysical profile ได้คะแนนต่ำ
  • เมื่อแพทย์สงสัยว่าทารกอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงสูง

การตรวจ Contraction Stress Test แพทย์จะวัดการบีบตัวของมดลูกโดยพันก๊อซรอบผนังหน้าท้องของมารดาหัวใจของทารกจะถูกวัดจากเครื่องอัลตร้าซาวด์ เครื่องมือจะบันทึกการเต้นของหัวใจของทารก และการบีบตัวของมดลูก ผลจะแสดงเป็นรูปกราฟสองเส้นแยกจากกัน

การแปลผล

Negative: หากในระหว่างการตรวจไม่มีการลดลงของการเต้นของหัวใจของทารก แสดงว่าทารกมีสุขภาพดี

Positive: หากในระหว่างการตรวจมีการลดลงของการเต้นของหัวใจของทารก แสดงว่าทารกมีความผิดปกติบางอย่าง

หลังจากการตรวจ Contraction Stress Test จะต้องมาตรวจซ้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับผลการตรวจ หากผล Positive มารดาอาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล หากทารกมีสุขภาพไม่แข็งแร็งโดยที่ไม่สามารถแก้ไขได้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการคลอดก่อนกำหนดโดยเร็วที่สุด

 

ความเสี่ยงของการทำ Contraction Stress Test

อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดดังนั้นจึงไม่ทำในรายที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

แพทย์จะไม่ทำการตรวจ Contraction Stress Test ในกรณีต่อไปนี้

  • เคยมีการผ่าตัดคลอดโดยลงมีดในแนวตั้ง
  • อาจทำให้รกลอกตัวจากมดลูกดังนั้นจะไม่ทำในกรณีที่สงสัยว่ารกอาจลอกตัวก่อนกำหนด
  • จะไม่ตรวจในทารกแฝด
  • ในรายที่รกเกาะต่ำเพราะจะทำให้มีเลือดออก

การตรวจเพื่อประเมินสุขภาพทารก