ยาลดน้ำตาลในเลือด Metformin เป็นยารักษาโรคเบาหวาน

สิ่งที่ต้องระวังก่อนการใช้ยา Metformin | ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Metformin | ขนาดและวิธีการใช้ยา Metformin | คำแนะนำการใช้ยา Metformin | ข้อห้ามในการใช้ยา Metformin | ข้อควรระวังการใช้ยา Metformin |


metformin

ยารักษาโรคเบาหวาน metformin หรือชื่อทางการค้า glucophage เป็นยาสำหรับแก้โรคเบาหวานลดน้ำตาลในเลือด

ข้อสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้ยา Metformin เนื่องจากยานี้อาจจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด Lactic acidosis และเกิดอาการแพ้ ดังนั้นหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและพบแพทย์

  • หายใจเร็วและหอบ
  • หายใจเร็วและหอบปวดกล้ามเนื้อและอ่อนแรง
  • ปวดและมือเท้ารู้สึกเย็น

สิ่งที่ต้องระวังก่อนการใช้ยา Metformin และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

  • ก่อนที่จะรับยาให้แจ้งแก่แพทย์และเภสัชว่าท่านแพ้ยาอะไร
  • ให้แจ้งแพทย์และเภสัชว่าท่านมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง เช่นโรคไต โรคตับ โรคเลือด
  • ก่อนการผ่าตัด หรือการฉีดสีเพื่อวินิจฉัยโรคต้องแจ้งแพทย์ว่าท่านรับประทานยา
  • หากท่านมีอาการขาดน้ำเนื่องจากอาเจียน หรือท้องร่วง หรือติดเชื้ออย่างรุนแรง
  • มีปัญหาหายใจหอบหรือแน่หน้าอก
  • มีการฉีดสีเพื่อวินิจฉัยโรค
  • เคยเป็นภาวะเลือดเป็นกรดมาก่อน
  • ดื่มสุราปริมาณมาก
  • ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Metformin

  • ยานี้ใช้รักษาโรคเบาหวานประเภท 2 (ไม่ต้องใช้อินซูลิน) ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ด้วยอาหาร
  • ยานี้ไม่มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินแต่ช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ยาจะลดการดูดซึมของน้ำตาลจากทางเดินอาหาร และยับยั้งการสร้างกลูโคสที่ตับ อาจใช้เป็นยาเดี่ยว หรือใช้ร่วมกับยารักาเบาหวานชนิดอื่น

ขนาดและวิธีการใช้ยา Metformin

  • เพื่อลดผลข้างเคียงของยาควรจะเริ่มต้นขนาดน้อยโดยเริ่ม 500-850 มก วันละ 1-2 ครั้ง เพิ่มสัปดาห์ละ 500 มก ขนาดยาสูงสุด 2.25 กรัมต่อวัน
  • ขนาดรับประทานตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง หลังอาหารขึ้นกับขนาดยา ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดขนาด 500 และ 850 มก.
  • เมื่อใช้ขนาดยานี้เต็มที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ก็ให้เลือดยาชนิดที่2 เช่น sulfonylurea หรือ Insulin

คำแนะนำการใช้ยา Metformin

  • ควรลดน้ำหนักสำหรับคนอ้วน งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค และอารมณ์เครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น เช่น มีอาการกระหายน้ำ หิว หรือปัสสาวะมาก ผิดปกติ หรือตรวจน้ำตาลในปัสสาวะหรือเลือดแล้วมีค่าสูงขึ้นควรพบแพทย์
  • ควรพบแพทย์ตามนัด เพราะอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาโดยพาะใน 2-4 สัปดาห์แรก
  • ควรแน่ใจว่ามียาใช้ปริมาณเพียงพอ หากจะเดินทาง
  • การเลื่อนเวลา หรืออดรับประทานอาหาร หรือออกกำลังกายหักโหมเกินปกติ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • เมื่อรับประทานยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หน้าแดง เหงื่อแตก หายใจหอบและเร็ว ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังมีแคลอรีสูง อาจทำให้ควบคุมน้ำหนักยาก

ข้อห้ามในการใช้ยา Metformin


ทำอย่างไรถ้าลืมรับประทานยา Metformin

  • ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า

เมื่อเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร

ไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงจากยานี้ แต่ก็เกิดขึ้นได้ อาจมี

อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องอืด ท้องผูก แสบยอดอก หากอาการรุนแรง ควรพบแพทย์ หากมีผื่น ลมพิษ มีเลือดออกหรือจ้ำเขียวผิดปกติ ให้หยุดยาแล้วพบแพทย์ทันที


ข้อควรระวังการใช้ยา Metformin

บอกแพทย์หากตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร มีโรคไต โรคตับ หรือกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาต้านชัก phenytoin ยายับยั้งการหลั่งกรด cimetidine เป็นต้น

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B

การป้องกันภาวะกรดในเลือด Lactic acidosis สำหรับผู้ที่ใช้ยา Metformin

การเกิดภาวะเลือดเป็นกรด Lactic acidosis เนื่องจากการใช้ยานี้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดขึ้นมาจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเลือดเป็นกรดได้แก่อายุ โรคไตเสื่อม และภาวะที่เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน แนวทางการป้องกันได้แก่

  • ให้ใช้ยาในขนาดน้อยที่สุดที่ควบคุมโรคได้
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะที่จะออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่นภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง การติดเชื้ออย่างรุนแรง หัวใจวายที่ยังคุมอาการไม่ได้ ความดันโลหิตต่ำ ควรจะหยุดการให้ยานี้ไว้ก่อน
  • สำหรับผู้สูงอายุต้องประเมินการทำงานของไตก่อนการให้ยานี้
  • ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
  • ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ดื่มสุราเพราะจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ง่าย
  • ให้หยุดยานี้ก่อนการผ่าตัดหรือการฉีดสีเพื่อวินิจฉัยโรค

โรคเบาหวานชนิดที่2