ยาลดความดันโลหิต Propranolol

คำเตือนยาลดความดันโลหิต Propranolol

การหยุดยาปิดกั้นเบต้า Beta-blocker อาจจะทำให้อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบกำเริบ และอาจจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย สำหรับผู้ที่รับประทานยานี้เป็นเวลานานจะต้องลดขนาดของยาลง และใช้เวลา 2 สัปดาห์จึงจะหยุดยาได้ หากมีอาการเจ็บหน้าอกจะต้องรับประทานยา

อีกประการหนึ่งผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง มักจะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมด้วยดังนั้นการหยุดยากลุ่มเบต้าจะต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์แม้ว่าจะไม่มีอาการโรคหัวใจ

ชื่อสามัญทางยา   Propranolol

ชื่อการค้าอื่น ๆ     Atensin, Betalol, Betapress, Emforal, Inderal, Inderal LA, Normpress, Palon, Perlol, Pronsil, Servanolol

ระหว่างการใช้ยาหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและพบแพทย์

  • หัวใจเต้นเร็ว หรือช้า หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • รู้สึกเวียนศีรษะ หน้ามืด
  • เหนื่อยง่าย หายใจหอบ
  • บวมข้อเท้า น้ำหนักขึ้น
  • คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ดีซ่าน

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Propranolol

ขนาดและวิธีการใช้ยา Propranolol

  • ขนาดรับประทานตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปรับประทานวันละหนึ่งถึงสี่ครั้ง ขึ้นกับโรคที่เป็นและรูปแบบของยาที่รับประทาน
  • ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเองโดยไม่ได้ศึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม
  • ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดขนาด 10 มก. และ 40 มก. แคปซูลออกฤทธิ์นานขนาด 80 มก. และ 160 มก. ยาฉีดความแรง 1 มก./มล.

โรคความดันโลหิตสูง

  • เริ่มต้นให้ 40-80 มก แบ่งให้วันละ 2 ครั้งโดยทั่วไปใช้วันละ 160-320 มก ขนาดเต็มที่ไม่เกิน 640 มก
  • สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ยาว  Extended release เริ่มต้นให้ 80 มก วันละครั้ง ขนาดที่ใช้ทั่วไป 120-160 มก ต่อวัน

หัวใจเต้นผิดปกติ

  • ให้ขนาดวันละ 30-160 มกต่อวันโดยแบ่งให้

การป้องกันไมเกรน

  • ให้ครั้งละ 40 มก วันละ2-3ครั้ง ขนาดที่ให้ทั่วไป80-240 มกต่อวัน

อาการปวดเค้นอก Angina pectoris

  • ให้ครั้งละ 40 มก วันละ 2-3 ครั้งขนาดที่ใช้ต่อวัน 120-240 มก ต่อวัน

กล้ามเนื้อหัวใจหนา Hypertrophic cardiomyopathy

  • ให้ครั้งละ10-40 มก ให้วันละ 3-4 ครั้ง

คอพอกเป็นพิษ

  • ให้ครั้งละ 10-40 มก วันละ 3-4 ครั้ง

วิตกกังวล

  • ให้ครั้งละ 40 มก วันละครั้งอาจจะเพิ่มเป็นวันละ 2-3 ครั้ง

มือสั่น Essential tremor

  • ให้ครั้งละ 40 มก วันละ 2-3 ครั้ง

ข้อห้ามในการให้ยา Propranolol

  • หัวใจเต้นช้า
  • ช็อกจากโรคหัวใจ Cardiogenic shock
  • น้ำท่วมปอด Pulmonary edma
  • โรคถุงลมโป่งพองCOPD
  • โรคหอบหืด Asthma
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ Hypoglycemia
  • โรคหลอดเลือดตีบ
  • ตั้งครรภ์ไตรมาส2-3
  • 2nd or 3rd degree heart block

คำแนะนำพิเศษ

  • ควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษา และอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
  • ปฏิบัติตนตามแพทย์แนะนำ เช่น ลดอาหารที่มีรสเค็ม ไขมันสูง
  • และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรแน่ใจว่ามียาเพียงพอเมื่อไปพักผ่อน ท่องเที่ยว

ทำอย่างไรถ้าลืมรับประทานยา Propranolol

  • ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า

ผลข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต Propranolol

ต่อระหัวใจและหลอดเลือด

  • หัวใจวาย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดปกติ หลอดเลือดแขนขาตีบเพิ่มขึ้น

ต่อระบบประสาท

  • ซึมเศร้า นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน ฝันร้าย

ต่อระบบทางเดินอาหาร

  • คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วงหรือท้องผูกลำไส้ขาดเลือด

ต่อระบบภูมิแพ้

  • แพ้ยาแบบรุนแรง

ต่อระบบทางเดินหายใจ

  • หลอดลมเกร็งตัวทำให้หอบหืดกำเริบ

ต่อระบบผิวหนัง

ผลข้างเคียงที่อาจจะอันตรายถึงกับชีวิตได้แก่ : หัวใจวาย Heart failure, หัวใจเต้นช้า heart block และหอบหืดกำเริบ bronchospasm.

เมื่อเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร

  • ไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงจากยานี้ แต่ก็เกิดได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว ท้องเสีย ท้องผูก มือเท้าเย็น เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ สับสน ฝันร้าย หากเป็นนานหรือรุนแรงควรพบแพทย์
  • หากมีอาการหายใจขัด หายใจมีเสียงหวีด เท้าหรือขาบวม เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นช้าหรือไม่ปกติ ให้พบแพทย์ทันที

ข้อควรระวัง  

  • ควรบอกแพทย์หากตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร
  • มีประวัติเป็นโรคหืด หลอดลมอักเสบ โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไตหรือต่อมไทรอยด์
  • หรือกำลังรับประทานยาอื่นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยายับยั้งการหลั่งกรด cimetidine ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง verapamil, diltiazem และยารักษาโรคหัวใจอื่น ๆ

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์

สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท C

atenolol | bisoprolol | metoprolol | propanolol |