สุขภาพ | อาหารสุขภาพ|ถั่วเหลือง |ไขมัน tranfatty acid

ถั่วเหลือง

ส่วนประกอบของถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองประกอบไปด้วยส่วนประกอบดังต่อไปนี้

  • โปรตีน 38 %
  • ไขมัน 18 %(เป็น lecithin 5 %)
  • ความชื้น 5 %
  • คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ละลายในน้ำ 15%
  • คาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำ(เช่น sucrose starchyose)

โปรตีน

พบว่าเป็นโปรตีนจากพืชเพียงชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติเหมือโปรตีนจากเนื้อสัตว์ มีกรด aminoacid ที่สำคัญ 9 ชนิด

ไขมันถั่วเหลือง

ไขมันจากถั่วเหลืองมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย มีวิตามินอีสูงส่วนประกอบของไขมันได้แก่

  • ไขมันไม่อิ่มตัว(polyunsaturated fat) ร้อยละ 63
  • ไขมันอิ่มตัว(saturated fat ) ร้อยละ 15
  • ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดเดี่ยว (monounsaturated) 24 %
  • และยังมีกรด linoleic acid ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อมนุษย์

ประเทศอเมริกากำลังให้ความสนใจกับถั่วเหลือง ได้มีการแนะนำให้เด็ก และประชาชนรับประทานถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถิติของโรคหัวใจ กระดูกพรุน และมะเร็งเต้านมในประเทศเอเชีย มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าประเทศทางยุโรปโดยเฉพาะ จีนและญี่ปุ่น จึงได้มีการสนใจเรื่องอาหาร พบว่าทั้งสองประเทศรับประทานอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง จึงได้มีการทำวิจัยผลดีของถั่วเหลือง

 

โรคหัวใจ

อาหารที่ทำจากถั่วเหลืองจะมีประโยชน์สำหรับหัวใจ และยังลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ มีรายงานถึงผลดีของถั่วเหลืองในการลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ โดยมีการทดลองให้ผู้ที่มีระดับ LDL-cholesterol ในเลือดสูงรับประทานถั่วเหลืองพบว่าสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้ โดยพบว่าสามารถลดได้ร้อยละ 10 หาก LDL-cholesterol ในเลือดมากกว่า 160 มก.% องค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำว่าให้รับประทานโปรตีนที่ทำจากถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม ร่วมกับอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ

ในถัวเหลืองมี Phytoestrogen

ถั่วเหลืองนอกจากจะสามารถลดระดับ Cholesterol ได้แล้วยังมีสาร phytoestrogen เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสาร phytoestrogen จะออฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเพศหญิงโดยทำให้การยืดหยุ่นของหลอดเลือดดีขึ้น มีการทดลองให้ผู้ป่วยที่เจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจได้รับถั่วเหลืองพบว่าสามารถลดอาการเจ็บหน้าอก มีการกลัวกันว่าสาร isoflavone ออกฤทธิ์เหมือน estrogen ทำให้กังวลว่าจะเกิดผลข้างเคียงเหมือน estrogen เช่น ไขมัน triglyceride ขึ้น มะเร็งมดลูกเพิ่ม แต่ถั่วเหลืองไม่ทำให้เกิดโรคเพิ่ม

มะเร็งต่อมลูกหมาก

จากการตรวจศพผู้ที่เสียชีวิตของประเทศญี่ปุ่นพบว่าในต่อมลูกหมากมีอัตราการเกิดเซลล์มะเร็งพอๆกับของประเทศอเมริกา แต่คนในประเทศญี่ปุ่นเซลล์มะเร็งจะไม่ลุกลามเหมือนของประเทศอเมริกา และเมื่อคนญี่ปุ่นย้ายไปประเทศอเมริกาก็จะเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากพอๆกับคนอเมริกา เชื่อว่าสาร isoflavones จะยังยังการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนั้นจากการทดลองในหนูพบว่าสาร isoflavones จะยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกในต่อมลูกหมากอย่างไรก็ตามต้องรอการศึกษาให้แน่ชัด

โรคกระดูกพรุน

คณะนักวิจัยจากฮ่องกงได้มีการทดลองให้หญิงวัยทองได้รับสาร isoflavone ซึ่งมีอยู่ในถั่วเหลืองกับอีกกลุ่มหนึ่งให้เม็ดแป้ง ใช้เวลาทดลอง 1 ปีพบว่ากระดูกสะโพกของผู้ที่ได้ถั่วเหลืองจะมีความแข็งแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับถั่วเหลือง ซึ่งพบว่าอัตราการเกิดกระดูกสะโพกหักหลังจากหกล้มในญี่ปุ่นต่ำกว่าประเทศอเมริกา นอกจากนั้นยังมีการทดลองในหนูก็พบว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถทำให้กระดูกหนาขึ้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าหากรับประทานถัวเหลืองอย่างเพียงพอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอจะป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ ประโยชน์ในการป้องกันโรคกระดูกพรุนสำหรับหญิงมีครรภ์จะมาทดแทนการให้ฮอร์โมนเนื่องจากมีรายงานว่าทำให้เกิดผลข้างเคียงสูง

วัยทอง

หญิงวัยทองจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้มีอาการหน้าร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง นอนไม่หลับ เหงื่อออก อารมณ์หงุดหงิดทำให้ต้องได้รับฮอร์โมนเสริม แต่หลายคนกลัวผลข้างเคียงของฮอร์โมนทดแทนจึงหันมารับประทานถั่วเหลืองแทนยังมีข้อสงสัยว่าการรับประทานถั่วเหลืองจะสามารถยับยั้งอาการวัยทองนี้ได้ แต่จากการศึกษาประชากรวัยทองของญี่ปุ่นพบว่ามีอาการวัยทองและโรคกระดูกพรุนน้อยกว่าคนจากประเทศทางยุโรป

มะเร็ง

การเกิดมะเร็ง เต้านม ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมากในเอเชียต่ำกว่าประเทศทางยุโรปเนื่องจากความแตกต่างของอาหาร อาหารประเทศทางเอเชียจะเป็นพวกพืช ผลไม้ ธัญพืชไขมันต่ำ แต่อาหารทางยุโรปอุดมไปด้วยเนื้อสัตว์และไขมัน การเกิดมะเร็งเชื่อว่าเกิดจากอาหารเพราะชาวเอเชียที่ย้ายไปทำงานในยุโรปจะเกิดมะเร็งพอๆกับคนยุโรป อาหารจะถั่วเหลืองจะมีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ไขมันต่ำและมีใยอาการ สมาคมโรคมะเร็งของอเมริกาแนะนำการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันมะเร็งดังนี้

  • เลือกอาหารที่มาจากพืช
  • ลดอาหารที่มีไขมันต่ำ

โรคเบาหวานโรคไตและถั่วเหลือง

อาหารที่เตรียมจากถั่วเหลืองจะมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากมีใยอาหารสูง เมื่อรับประทานแล้วทำให้น้ำตาลไม่ขึ้น นอกจากนั้นโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลืองไม่ทำให้ไตทำงานหนักเหมือนโปรตีนจากสัตว์จึงช่วยถนอมไต การที่ถั่วเหลืองช่วยลดระดับไขมัน LDL จึงทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

จากที่ได้กล่าวมาพบว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง แม้ว่าบางอย่างจะขาดหลักฐานสนับสนุนอย่างเพียงพอ คงต้องรอคำตอบจากการวิจัยแม้ว่าจะนานแค่ไหนก็คงต้องรอคำตอบ อย่างไรก็ตามมีรายงานให้รับประทานถั่วเหลืองแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในบางมื้อ

ถั่วเหลืองกับสุขภาพตา

การวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพตาและถั่วเหลืองมีไม่มาก แต่จากการศึกษาใหม่ๆพบว่าสาร isoflavone genestein ในถั่วเหลืองสามารถป้องกันการเกิดต้อกระจกในหนู และยังลดอันตรายที่เกิดจากรังสี

ถั่วเหลือง Tran-fatty acid Lecithin ถั่วต่างๆ ถั่วเหลืองลดความดันโลหิต

การแปรรูปถั่วเหลือง