ปริมาณเกลือในก๊วยเตียว

สุกี้น้ำ 1,560
เส้นใหญ่ผัดขี้เมา 1,741
ก๋วยเตี๋ยวน้า(ไม่ได้ปรุงรส) 1800
ก๋วยเตี๋ยวแห้ง(ไม่ได้ปรุงรส) 785
ก๋วยเตี๋ยวผัด/ ข้าวผัด 1100
บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป 1950
มาม่า (หมูสับ) 1 ซอง 1,500
เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1417
เส้นใหญ่ผัดขี้เมา 1 จาน 1,741
ขนมจีนน้ำยา 1 จาน 877
ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว 1,352
เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417
ก๋วยเตี๋ยวหมูสับ 1,450
บะหมี่หมูแดง 1,480

 ก๊วยเตียว

คำแนะนำในการรับประทานก๊วยเตียว

  • เลือกสั่งชนิดที่มีปริมาณเกลือน้อย ก๊วยเตียวที่มีเกลือมากคือ ก๊วยเตียวหมู/เนื้อตุ้น ต้มยำ เย็นตาโฟ
  • ไม่ปรุงรสโดยไม่ได้ชิม
  • ก๊วยเตียวที่มีน้ำก็ไม่ต้องรับประทานน้ำนั้นจนหมดเพราะปริมาณเกลือจะมีมากในน้ำซุป
  • ควรจะเป็นเนื้อหมูสด หรือเนื้อปลาสด
  • ก๊วยเตียวพวกผัดต่างๆเราไม่สามารถแยกส่วนที่มีปริมาณเกลือมากได้ จึงแนะนำให้ลดปริมาณที่จะรับประทานลง

ข้อควรปฏิบัติในการลดปริมาณเกลือในอาหาร

  1. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
  2. ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูปให้ดูฉลากว่ามีปริมาณเกลือโซเดียม (Na) มากหรือน้อยให้เลือกยี่ห้อที่มีปริมาณเกลือโซเดียม (Na) น้อยที่สุด
  3. ผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุเสร็จที่มีปริมาณเกลือโซเดียม (Na) สูง ควรล้างด้วยน้ำก่อนใช้ปรุงอาหาร
  4. รับประทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลงรับประทานอาหารประเภทฟาสท์ฟู๊ด ( เช่น อาหารสำเร็จรูปประเภท พิซซ่า, แฮมเบอร์เกอร์, ไก่ทอด ) ให้น้อยลง
  5. เวลาสั่งอาหารตามร้านอาหารให้สั่งพนักงานให้ใส่เกลือ หรือ น้ำปลา หรือ ซีอิ้ว น้อยๆ
  6. ไม่เติมซ๊อส หรือ น้ำปลาเวลารับประทานอาหาร
  7. รับประทานอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมจานละไม่เกิน 200 มิลลิกรัม

ข้อห้ามปฏิบัติ

  1. อย่าซื้ออาหารเค็มจัด (อาหารหมักดอง, ขนมปังกรอบรสเค็ม, มันฝรั่งทอด, บ๊วยเค็ม, เนื้อเค็ม, หมูเค็ม, ปลาเค็ม, กุ้งแห้ง เป็นต้น)
  2. อย่าเติมซีอิ๊วหรือน้ำปลามากเกินไป ขณะปรุงอาหาร
  3. อย่าเติมซีอิ้วหรือน้ำปลาอีกหลังปรุงอาหารเสร็จแล้วหรือขณะรับประทานอาหาร
  4. อย่างเติมน้ำจิ้มหรือใช้น้ำจิ้มปรุงรสมากเกินควรถ้าไม่ใช้เลยจะดีกว่า

ไม่ซื้ออาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียม (Na) ต่อห่อ เกิน 400 มิลลิกรัม

ปริมาณเกลือในอาหาร

เรื่องเกี่ยวกับเกลือ | เกลือและสุขภาพ | เกลือและสุขภาพเด็ก | แนวทางในการลดปริมาณเกลือ | การลดเกลือที่บ้าน | การลดเกลือเมื่อต้องจ่ายตลาด | ทานอาหารนอกบ้านให้มีเกลือต่ำ | อาหารจานด่วนที่มีเกลือมาก | ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเกลือ | ฉลาดเลือกอาหาร | รับประทานอาหารเกลือต่ำ | องค์การอนามัยโลกแนะนำเรื่องการรับประทานเกลือ | วิธีเลือกอาหารที่มีเกลือน้อย | เกลือทำให้โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

ทบทวนวันที่ 1/6/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน