การตรวจสุขภาพในผู้ชาย

ท่านที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยก็ถือเป็นความโชคดีของท่าน แม้ว่าท่านอาจจะไม่มีอาการก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะมีสุขภาพดี การตรวจสุขภาพมิได้หมายถึงการเจาะเลือด เพราะผลเลือดเกิดจากพฤติกรรมของท่านที่ผ่านมา การตรวจสุขภาพจึงหมายถึงการตรวจว่าการดำรงชีวิตของท่านถูกต้องเพียงใด ท่านมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอะไรบ้าง ท่านมีประวัตโรคประจำครอบครัวหรือไม่ การปฏิบัติตัวเมื่อมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

การเตรียมตัวก่อนการไปตรวจสุขภาพ

ก่อนที่ท่านจะไปตรวจสุขภาพท่านต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อให้แพทย์พิจารณา ข้อมูลต่างๆที่สำคัญคือ

  • ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ท่านต้องจดรายละเอียดของการเจ็บป่วย การนอนโรงพยาบาล การผ่าตัด
  • ประวัติเจ็บป่วยของครอบครัวเพราะโรคบางอย่างเป็นกรรมพันธุ์ในครอบครัว เช่นมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ประวัติการใช้ยา การแพ้ยาต่างๆ
  • ประวัติการฉีดวัคซีน
  • จดคำถามที่ท่านต้องการทราบไว้ถามแพทย์

คุณอ้วนหรือไม่

การตรวจพื้นฐานที่สำคัญซึ่งทั้งแพทย์ และผู้ป่วยให้ความสำคัญน้อยเกินไป ได้แก่การวัดส่วนสูง น้ำหนัก เส้นรอบเอว รวมทั้งดัชนีมวลกาย ข้อมูลเล็กน้อยจะบอกว่าคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือไม่ อ่านที่นี่ เนื่องจากการตรวจไม่ลำบากจึงแนะนำให้ตรวจทุกครั้งเมื่อตรวจสุขภาพ แต่สมาคมโรคหัวใจแนะนำให้ตรวจเช็คทุก 2 ปีเมื่ออายุมากกว่า 20 ปี

 

คุณเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่

คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ ดังนั้นการตรวจวัดความดันเป็นประจำเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว หากความดันคุณปกติควรจะตรวจทุก 2 ปี

คุณเป็นไขมันในเลือดสูงหรือไม่

เนื่องจากไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูงไม่เกิดอาการอะไร ดังนั้นการตรวจเลือดจะช่วยในการวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มเป็น แนะนำให้ตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป หากปกติให้ตรวจทุก 5 ปีหากผิดปกติก็ตรวจถี่ขึ้น อ่านเรื่องไขมันสูงที่นี่

การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

การตรวจโรคต่อมลูกหมากทำได้ 2 วิธีคือ การใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก และการเจาะเลือดตรวจ หา PSA เนื่องจากผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีกว่าครึ่งจะเป็นโรคต่อมลูกหมากโต สมาคมโรคมะเร็งอเมริกาแนะนำให้ตรวจทุกปีสำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50 เรื่องมะเร็งต่อมลูกหมากอ่านที่นี่

การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์

สำหรับท่านที่นิยมที่จะเปลี่ยนคู่ควรจะต้องตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้เนื่องจากโรคบางโรคอาจจะอันตรายถึงชีวิต

การตรวจฟันประจำปี

การตรวจตา

เป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอเสื่อม ายุ20-39 ควรจะได้รับการตรวจอย่างน้อย 1 ครั้ง อายุ 40-64 ตรวจทุก 2-4 ปี อายุมากกว่า 65ให้ตรวจทุก 1-2ป

การตรวจการได้ยิน

หากอายุน้อยกว่า 50 ปีให้ตรวจทุก 10 ปีหากอายุมากกว่า 50 ให้ตรวจทุก 3 ปี

การตรวจอย่างอื่น

ก็พิจารณาตามความจำเป็น

โรคที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ชายมีดังนี้

การตรวจสุขภาพสตรี การตรวจสุขภาพบุรุษ การแปลผลเลือด