การรักษาโรคงูสวัด

 

การรักษางูสวัดจะให้ได้ผลจะต้องรักษาตั้งแต่เริ่มมีผื่นขึ้น หากปวดก็ให้ยาแก้ปวด

การรักษา

  • ช่วงตุ่มใสให้ใช้น้ำยา Burrow หรือ bolic วางบนผื่นจะช่วยลดอาการปวด
  • เมื่อผื่นเริ่มแห้งให้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะทา
  • หากมีอาการปวดให้ใช้ยาแก้ปวด เช่น Aspirin
  • การให้ยารับประทานควรจะให้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเกิดผื่นซึ่งจะทำให้ผื่นหายเร็ว ลดอาการเจ็บปวด และจำนวนเชื้อในตุ่ม ยาที่ไช้ได้แก่ famcicovir,Valyclovir
    • Acyclovir 800 mg วันละ5 ครั้งเป็นเวลา70-10 วัน
    • Famciclovir 500 mg วันละะ 3 ครั้ง 7 วัน
    • Valacyclovir 1000 mg วันละะ 3 ครั้ง 7วัน
  • ยาFamcicovir,Valyclovir จะให้ผลการรักษาดีกว่า acyclovir การให้ยารับประทานจะทำให้ผื่นหายเร็ว ลดอาการเจ็บปวด ยานี้ยังไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในคนท้อง
  • การใช้ยาทายังไม่ได้รับการยอมรับ
  • การใช้ยา steroid มีรายงานว่าการให้ยา steroid ร่วมกับยาต้านไวรัสจะทำให้แผลหายเร็ว และอาการเจ็บปวด แต่ไม่แนะนำให้ steroid เพียงอย่างเดียว
  • มีวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกันงูสวัส โดยจะฉีดในคนที่เคยเป็นไข้สุกใสแล้ว อายุมากกว่า 60 ปีพบว่าสามารถลดการเกิดงุสวัสได้ร้อยละ 50 และลดอาการปวด

 

การรักษา Postherpetic neuralgia

หากมีอาการปวดมากอาจจะต้องให้ยาแก้ปวดหลายขนาน เช่น nortriptyline 10-25 mg ก่อนนอน,gabapentin 300 mg วันละครั้ง อ่านอาการปวดปลายประสาทจากงูสวัด

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • อาการปวดแผลหลังจากผื่นหายไปแล้วเรียกว่า Post herpetic neuralgia มักจะเกิดหลังจากเกิดผื่น 30 วันโดยมากพบอาการปวดในคนที่ภูมิคุ้นกันไม่ดี เช่น คนชรา เบาหวาน อาการปวดมัจะเกิดบริเวณผื่น เมื่อสัมผัสกับร้อน หรือเย็นจะทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้น อาการปวดนี้อาจจะอยู่ได้เป็นปี การป้องกันอาการปวดนี้จะต้องรักษาโรคงูสวัดให้เร็ว ถ้าปวดมากก็ให้กินยาแก้ปวด
  • Herpes Zoster Opthamoticusเป็นโรคงูสวัดของเส้นประสาทคู่ที่ 5 trigeminal nerve ผู้ที่เป็นภาวะนี้จะมีอาการปวดใบหน้าซีกหนึ่ง มีผื่นขึ้นที่ศีรษะ รอบตา หากไม่รักษาด้วยยาต้านไวรัสอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ตา เช่นกระจกตาอักเสบ
  • ภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นที่พบได้ได้แก่สมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ ปอดบวม มักจะพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • งูสวัดในผู้ป่วยโรคเอดส์ผื่นมักจะไม่เหมือนคนปกติ และเป็นงูสวัดบ่อย การรักษาให้ Acycloviรักษาจนผื่นหาย

การปฏิบัติตน

  1. งูสวัดเป็นโรคที่เชื่อว่าไม่ติดต่อ เป็นแล้วหายเองได้ เพียงแต่รักษาแผลให้สะอาด
  2. ในระยะที่เป็นตุ่มน้ำใสมีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรด บริก3%ปิดประคบไว้ เมื่อผ้าแห้งก็เปลี่ยนผ้าใหม่ ทำเช่นนี้วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที
  3. ในระยะที่ตุ่มน้ำแตก มีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลได้ ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผลแล้วปิดด้วยผ้าก๊อสที่สะอาด ถ้าปวดแผลมากให้รับประทานยาแก้ปวด เช่นพาราเซ็ตตามอลล์
  4. ในรายที่เป็นมาก หรือมีอาการรุนแรง จะต้องเข้ารับการรักษาทันที เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการอักเสบหรืออาการปวดรุนแรงหรือในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเช่น ผู้ที่ได้รับยามะเร็ง หรือยา steroid หรือฉายรังสีหรือผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มดังกล่าวมักจะมีอาการรุนแรงดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อรักษา
  5. ในรายที่เป็นบริเวณใบหน้า หรือจมูกอาจจะมีโอกาสลุกลามเข้าแก้ตาจะต้องปรึกษาจักษุแพทย์
  6. หากสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าเป็นโรคงูสวัดหรือไม่ควรจะปรึกษาแพทย์

อ่านเรื่องงูสวัด การรักษาปวดปลายประสาทจากงูสวัด