การรักษาโรคเอสแอลอี SLE

การให้การรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน เนื่องจากความหลากหลายทางอาการทางคลินิกดังกล่าวข้างต้น การรักษาในผู้ป่วยโรคSLEไม่ได้จำกัดเพียงแค่การรักษาขณะที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวางแผนการรักษาโรคเอสแอลอีในระยะยาว เพื่อป้องกันอาการของโรคกำเริบภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาและการติดตามผลการรักษาที่เหมาะสม
จุดประสงค์ในการรักษาโรคเอสแอลอี SLEที่สำคัญคือ ควบคุมอาการแสดงของโรคขณะที่มีอาการรุนแรงให้เข้าสู่ภาวะโรคสงบ รักษาป้องกันไม่ให้อาการของโรคกำเริบ หรือควบคุมให้มีอาการแสดงของโรคน้อยที่สุด ป้องกันไม่ให้อวัยวะสูญเสียการทำงานอันเนื่องมาจากโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาในระยาว

การรักษาที่ไม่ใช้ยา

  • การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคเอสแอลอี
  • การดำเนินโรคต่อผู้ป่วย ให้เข้าใจว่าโรคเอสแอลอี SLEนั้นถึงแม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้โรคสงบ และอยู่ในระยะที่ควบคุมได้
  • ผู้ป่วยต้องให้ความสำคัญต่อการรับการติดตามการรักษาจากแพทย์เพื่อเฝ้าระวังการกลับซ้ำของโรคเอสแอลอี
  • กินยาตามที่แพทย์แนะนำไม่เพิ่มหรือลดยาเอง
  • ไม่ควรซื้อยากินเอง
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้โรคเอสแอลอีกำเริบ เช่น แสงแดด การขาดการพักผ่อน การติดเชื้อ และการขาดยา

หากผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับผู้ป่วยจะสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ควรแนะนำการปฏิบัติตัวอื่น ๆ ได้แก่ การป้องกันการสัมผัสแสงแดด โดยการหลีกเลี่ยงการถูกแดด หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงควรสวมหมวก และเสื้อแขนยาว ใช้ครีมกันแดด เนื่องจากการสัมผัสรังสี ultraviolet นั้นไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดผื่นตามผิวหนังที่สัมผัสแสงแดดเท่านั้น ยังทำให้อาการโดยรวมของโรคกำเริบด้วย ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ในผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ควรรับประทานอาการที่สุกสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อของทางเดินอาหาร รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำเพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันในอนาคต รับปรัทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงที่ชุมชนแออัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อของทางเดินหายใจ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง

ในปัจจุบันมีการแบ่งการรักษาออกเป็น 2 ระยะ คือ การรักษาระยะชักนำโรคเข้าสู่ระยะสงบ (induction to remission) และการรักษาระยะรักษาป้องกันการกลับซ้ำของโรค (maintenance of remission)

การรักษาระยะชักนำโรคเอสแอลอีเข้าสู่ระยะสงบ

ในระยะที่อาการของไตอักเสบนั้น จะมีการให้ยากดภูมิต้านทานในขนาดสูงเพื่อชักนำให้โรคเข้าสู่ระยะสงบให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวาย

  • โดยให้ยา prednisolone 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
  • ร่วมกับยากดภูมิต้านทานที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ได้แก่ยา cyclophosphamide ซึ่งมีวิธีการให้หลายแบบที่ได้รับการยอมรับคือการให้ยา cyclophosphamideซึ่งมีวิธีการให้ยาได้หลายวิธี 
  • ชนิดรับประทานทุกวัน วันละ 1-2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ วัน) แต่เนื่องจากการให้ยาชนิดรับประทานทุกวัน ผู้ป่วยจะได้รับยาสะสมในปริมาณมาก ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่นการกดการทำงานของไขกระดูก การติดเชื้อ รังไข่ฝ่อก่อนวัยอันควร มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • จึงมีการศึกษาวิธีการให้ยา เพื่อลดปริมาณการสะสมของยาโดยให้ยา cyclophosphamide ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งพบว่าให้ผลดีให้ยา cyclophosphamide 0.5-0.75 กรัมต่อ 1 ตารางพื้นที่ผิวทุก 1 เดือนโดยมีการตรวจวัดเม็ดเลือดขาวที่ 2 สัปดาห์หลังให้ยา หากจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่า 4000 เซลล์/ล.บ.มิลลิลิตร สามารถเพิ่มขนาดยาขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง 1 กรัมต่อ 1 ตารางพื้นที่ผิวต่อเดือน แต่หากจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 4000 เซลล์/ล.บ.มิลลิลิตร ควรลดระดับยาลง 0.25 ม.ก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อเดือน การรักษาระยะชักนำโรคเข้าสู่ระยะสงบนี้จะให้ยา cyclophosphamide ทางหลอดเลือดทุกหนึ่งเดือนติดต่อกันนาน 6 เดือน
  • ตามด้วยการรัการะยะรักษาป้องกันการกลับซ้ำ หรืออาจพิจารณาการให้ยาตามคำแนะนำจากแพทย์ทางยุโรป คือ ยาเมททิลเพรดนิโซโลนขนาดสูง 750 ม.ก. ทางหลอดเลือดใน 3 วันแรก ตามด้วยการให้ยา cyclophosphamide ทางหลอดเลือด 500 ม.ก.ต่อครั้งทุก 2 สัปดาห์รวม 6 ครั้ง ตามด้วยการรักษาระยะรักษาป้องกันการกลับซ้ำ

การให้ยา cyclophosphamide ทางหลอดเลือดควรลดขนาดยาลงร้อยละ 25-50 ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดลง นอกจากนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงในระยะสั้นและระยะยาวของยา cyclophosphamide ในปัจจุบันได้มีการศึกาการใช้ยา mycophenolate mofetil (MMF) พบว่าให้ผลการรักษาที่ดีใกล้เคียงกับผลการรักาด้วยยา cyclophosphamide ดังนั้น ยา MMF จึงเป็นยาที่ได้รับการยอมรับอีกชนิดหนึ่งในการใช้รักษาผู้ป่วย PLN โดยการให้ 2 กรัมต่อวัน หากหลังการรักษา 3 เดือนอาการยังไม่ดีขึ้นอาจปรับขนาดของยาขึ้นเป็น 3 กรัมต่อวัน ยาชนิดนี้อาจกดการทำงานของไขกระดูก และมีผลข้างเคียง คือ อาการถ่ายเหลวจึงควรเริ่มยาในขนาดต่ำก่อน และพิจารณาเพิ่มขนาดยาสูงขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียง กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไตอักเสบรุนแรง มีการทำงานของไตลดลง หรือการตรวจเนื้อเยื่อเป็น rapidly progressive glomerulonephritis (RPGN) ถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ผู้ป่วยควรได้รับยา methylprednisolone ขนาดสูง (1000 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 3-5 วัน) และ/หรือการทำการเปลี่ยนพลาสม่าร่วมด้วย

การรักษาระยะรักษาป้องกันการกลับซ้ำ

ในผู้ป่วยที่อาการของโรคเอสแอลอีเข้าสู่ระยะสงบแล้วนั้นพบว่า 1 ใน 3 ถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วย มีการกำเริบ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิต้านทานที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ต่ออีกระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการกำเริบของโรคเอสแอลอี โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา cyclophosphamide ทางหลอดเลือดทุกเดือนอยู่แล้วการรักษาเพื่อป้องกันการกลับซ้ำด้วยยา

  • อาจให้ยา cyclophosphamide ทางหลอดเลือดต่อทุก 3 เดือน นาน 18 เดือน
  • การรักษาระยะรักาป้องกันการกลับซ้ำด้วย azathioprine หรือยา MMF สามารถป้องกันการกำเริบของโรคได้ดีกว่ายา cyclophosphamide และมีผลข้างเคียงเรื่องการติดเชื้อ และการหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรน้อยกว่า มีการศึกาเปรียบเทียบระหว่างยา MMF กับยา azathioprine ในการป้องกันกลับซ้ำของโรคไตอักเสบSLE

ดังนั้นในปัจจุบันการรักษาในช่วงการป้องกันการกลับเป็นซ้ำจึงอาจเลือกใช้ได้ทั้งยา MMF หรือยา azathioprine ผู้ป่วยไตอักเสบSLEระดับที่ V (membranous lupus nephritis; MLN) นั้นจะมีโปรตีนออกมาทางปัสสาวะมาก อาจมากกว่า 3 กรัมต่อวัน มีเม็ดเลือดออกทางปัสสาวะได้บ้าง อาจมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้การทำงานของไตจะลดลงอย่างช้า ๆ แต่มักไม่ค่อยตอบสนองต่อการให้คอร์ติโคสเตียรอยด์ และยากดภูมิต้านทานที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ดังนั้นแพทย์จึงควรเลือกใช้ยาตามความเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละราย สำหรับระยะเวลาการให้ยากดภูมิต้านทานนั้นยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัด แต่ควรให้ยากดภูมิต้านทานจนโรคเข้าสู่ระยะสงบ และให้ต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี ในปัจจุบันการรักษาไตอักเสบระดับที่ V เน้นการรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และให้ยาที่ช่วยลดการขับโปรตีนออกทางปัสสาวะ เช่น ยากลุ่ม ACEI (Angiotensin converting enzyme inhibitor) หรือ ARB (Angiotensin receptor antagonist) ส่วนผู้ป่วย MLN ร่วมกับ PLN นั้นให้การรักษาเหมือนการรักษา PLN ในทางปฏิบัตินั้นไม่ได้มีการตัดชิ้นเนื้อไต เพื่อตรวจระดับการอักเสบของเนื้อไตในผู้ป่วยที่มีไตอักเสบSLEทุกราย ดังนั้นการพิจารณาการเริ่มรักษาจึงอาศัยอาการ อาการแสดง ผลการตรวจปัสสาวะและผลการตรวจเลือดเป็นหลักเพื่อคะเนระดับการอักเสบของไตในการประกอบการพิจารณาการรักษา หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือตอบสนองไม่ดีเท่าที่ควรจึงจะพิจารณาการทำการตรวจเนื้อเยื่อไตต่อไป

การรักษาทางยา

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคSLEที่ใช้บ่อย ได้แก่ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาต้านมาลาเรีย ยอคอร์ติโคสเตียรอยด์ และยากดภูมิต้านทานที่ไม่ใช่สเตียรอยด์การพิจารณาการให้ยาชนิดไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับจำนวนอวัยวะ หรือระบบที่มีความผิดปกติและความรุนแรงของการอักเสบของอวัยวะนั้น ๆ โดยจะต้องพิจารณาการให้ยาครอบคลุมอาการของอวัยวะที่สำคัญแก่ชีวิต หรือมีอาการแสดงที่รุนแรงมากที่สุด เพราะการรักษาจะสามารถครอบคลุมอาการเล็ก ๆ น้อยอื่น ๆ ร่วมด้วยอยู่แล้วเนื่องจากอาการแสดงของบางอวัยวะในโรคSLEพบได้ไม่บ่อยนัก รูปแบบการศึกษาที่สนับสนุนวิธีการรักษาจึงเป็นแบบการรายงานกลุ่มผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ มีการศึกษาแบบสุ่มควบคุมน้อย ดังนั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดแนวทางในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการแสดงเฉพาะอวัยวะที่ชัดเจน แนวทางการรักษาอิงตามข้อมูลการศึกษาเท่าที่มีอยู่ และตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเป็นส่วนใหญ่

การรักษาอาการผื่นผิวหนัง

การรักษาอาการทางข้อ

การรักษาอาการทางโลหิต

การรักษาอาการทางระบบประสาท

 

การรักษาโรคSLE