การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)


การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด หรือการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) การทดสอบนี้เป็นการวัดความสามารถของร่างกายในการใช้น้ำตาล การทดสอบนี้จะเป็นการวินิจฉัยโรคเบาหวาน ภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Glucose Tolerance Test (OGTT)

  • วินิจฉัยการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะตรวจในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้แก่ C
    • ครรภ์ก่อนหน้านี้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • บุตรคนก่อนน้ำหนักมากกว่า 4 กก
    • หญิงอายุน้อยกว่า 25 ปีที่อ้วน
  • การวินิจฉัยโรคเบาหวาน หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ดดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำตาลในเลือด 100-125 mg/dl

วิธีการทดสอบ OGTT

การทดสอบ OGTT นี้สามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไปและหญิงมีครรภ์

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ

  • ให้รับประทานอาหารตามปกติ แต่จะต้องมีอาหารจำพวกแป้งอย่างน้อย 150 กรัม (ข้าวและแป้ง 8 ทัพพีต่อวันและผลไม้ตามปกติ)เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันก่อนการตรวจยกตัวอย่างอาหารได้แก่ ผลไม้ ขนมปัง ธัญพืช ข้าว พืชประเภทหัวเช่น มันฝรั่ง ถั่ว ข้าวโพด
  • อย่าสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ออกกำลังกายอย่างหนัก หรือรับประทานอาหารมากเกินไปก่อนการตรวจ 8 ชั่วโมง
  • แจ้งแพทย์ถึงชนิดยาที่รับประทานอยู่

การปฏิบัตตัวในการทดสอบ OGTT 75 กรัม เพื่อการวินิจฉัยเบาหวานสำหรับบุคคลทั่วไป

  1. เช้าวันทดสอบเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับพลาสมากลูโคสก่อนการทดสอบซึ่งเป็นน้ำตาลอดอาหาร 8 ชั่วโมง
  2. ให้ผู้รับการทดสอบดื่มสารละลายกลูโคส 150 มิลลิลิตรหมดภายในเวลา 5 นาที และเจาะเลือดตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคส หลังดื่มสารละลายกลูโคส 2 ชั่วโมง
  3. ให้ผู้รับการทดสอบรับประทานอาหารได้ตามปกติและมารอฟังผลการตรวจจากแพทย์

ข้อควรสังเกต : ขณะรอเจาะเลือดตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคส หลังดื่มสารละลายกลูโคส 2 ชั่วโมง ควรนั่งหรือนอนพักผ่อนให้สบาย ไม่ควรเดินหรือทำกิจกรรมใดๆที่ทำให้เกิดความเครียดและใช้พลังงาน : ถ้าผู้รับการทดสอบเป็นหญิงหลังคลอด ไม่ควรนำบุตรมา รพ.ด้วย แต่ถ้าจำเป็นควรมีผู้ดูแลติดตามมาเพื่อช่วยดูแลบุตรให้

การปฏิบัติตัวเพื่อการคัดกรองเบาหวานสำหรับหญิงตั้งครรภ์

  1. เช้าวันทดสอบให้ผู้รับการทดสอบดื่มสารละลายกลูโคส 150 มิลลิลิตร และเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังดื่มสารละลายกลูโคส 1 ชั่วโมง
  2. ให้ผู้รับการทดสอบรับประทานอาหารได้ตามปกติและมารอรับฟังผลการตรวจจากแพทย์

ข้อควรสังเกต : ขณะรอเจาะเลือดตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคส หลังดื่มสารละลายกลูโคส 1 ชั่วโมง ควรนั่งหรือนอนพักผ่อนให้สบาย ไม่ควรเดินหรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดและใช้พลังงาน

การปฏิบัติตัวในการทดสอบ OGTT 100 กรัม เพื่อการวินิจฉัยเบาหวานสำหรับหญิงตั้งครรภ์

  1. เช้าวันทดสอบเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง
  2. ให้ผู้รับการทดสอบดื่มสารละลายกลูโคส 200 มิลลิลิตรหมดภายในเวลา 5 นาที และเจาะเลือดตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคสทุก 1 ชั่วโมงจำนวน 3 ครั้ง หลังดื่มสารละลายกลูโคสเป็นชั่วโมงที่ 1, 2และชั่วโมงที่ 3 ตามลำดับ
  3. ให้ผู้รับการทดสอบรับประทานอาหารได้ตามปกติและมารอฟังผลการตรวจจากแพทย์

ข้อควรสังเกต : ขณะรอเจาะเลือดตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคส หลังดื่มสารละลายกลูโคส ในชั่วโมงที่ 1, 2 และชั่วโมงที่ 3 ควรนั่งหรือนอนพักผ่อนให้สบาย ไม่ควรเดินหรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดและใช้พลังงาน

การทดสอบนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ในระหว่างการทดสอบควรจะนั่งพัก ไม่ควรจะรับประทานอาหารในระหว่างตรวจ ให้ดื่มได้เฉพาะน้ำเปล่า

ขั้นตอนการเจาะเลือด

เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกชื่อท่านให้นั่งบนเก้าอี้ ยื่นแขนที่จะเจาะเลือด เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่าจะเจาะเลือดบริเวณที่เห็นหลอดเลือดชัดที่สุด

  1. เจ้าหน้าที่จะใช้สายยางรัดแขนเหนือบริเวณที่เจาะเลือดซึ่งจะทำให้เลือดโป่งออกมา
  2. เจ้าหน้าที่จะทำการฆ่าเชื้อบริเวณที่จะเจาะด้วยแอลกอฮอลล์
  3. เจ้าหน้าที่จะแทงเข็มไปยังบริเวณหลอดเลือด ซึ่งบางรายที่เจาะยากอาจจะต้องเจาะหลายครั้ง
  4. หลังจากดูดเลือดได้พอแล้ว เจ้าหน้าที่จะปลดสายยางที่รัดออก
  5. เจ้าหน้าที่จะดึงเข็มออกและใช้สำลีสะอาดกดบริเวณที่เจาะ
  6. ใช้พลาสเตอร์ปิดบริเวณที่เจาะ สำหรับท่านที่เจาะเลือดยากหรือ มีโรคเลือดออกง่ายท่านอาจจะต้องกดบริเวณที่เจาะให้นานกว่าปกติ

การแปลผลเลือด

สำหรับคนปกติการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)

  • คนปกติค่าน้ำตาลที่เจาะณเวลา2 ชั่วโมงหลังจากดื่มน้ำตาลจะน้อยกว่า 140 มก%
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานค่าน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงจะมากกว่า 200 มก%
  • ผู้ที่ผลเลือดอยู่ระหว่าง 141-199 มก% จะวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

สำหรับคนตั้งครรภ์

  • ค่าน้ำตาลจะน้อยกว่า 95 mg/dL (5.3 mmol/L).
  • ค่าน้ำตาลในเลือดหลังจากดื่มน้ำตาล 1 ชั่วโมงจะน้อยกว่า 180 mg/dL (10 mmol/L).
  • ค่าน้ำตาล 2 ชั่วโมงหลังจากดื่มน้ำตาลจะน้อยกว่า 155 mg/dL (8.6 mmol/L).
  • ค่าน้ำตาลหลังจากดื่มน้ำตาล 3 ชั่วโมงจะน้อยกว่า 140 mg/dL (7.8 mmol/L).

อ่านเรื่องโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ความผิดปกติของเลือด

ค่าที่ได้สูงกว่าปกติ

สาเหตุ

ค่าที่ได้ต่ำกว่าปกติ

สาเหตุ

ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจ

  • การสูบบุหรี่
  • ยาบางชนิดเช่น ยา steroid ยาขับปัสสาวะ ยากันชัก ยาคุมกำเนิด ยาแก้อักเสบ บาลดความดันโลหิต
  • การดื่มสุรา
  • การผ่าตัด โรคประจำตัว โรคติดเชื้อ
  • การควบคุมน้ำหนัก

น้ำตาล น้ำตาลหลังอดอาหาร8ชั่วโมง น้ำตาลหลังจากรับประทานอาหาร2ชั่วโมง การทดOGTT

เอกสารอ้างอิง

  1. American Diabetes Association (2011). Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care, 34(Suppl 1): S62-S69.
  2. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/glucose-tolerance-test/basics/results/prc-20014814
  3. http://www.webmd.com/diabetes/guide/oral-glucose-tolerance-test