ไขมัน low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C)


ไขมัน LDL-C มาจากไหน

ไขมันคลอเลสเตอรอล (cholesterol) เป็นไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเซลล์ ไขมันคลอเลสเตอรอลส่วนหนึ่งมาจากอาหาร ส่วนหนึ่งสร้างในตับ เนื่องจากไขมันคลอเลสเตอรอลไม่ละลายในเลือดจำเป็นจะต้องมีโปรตีนที่เรียกว่ lipoproteins เป็นตัวขนส่ง และ LDL (low-density lipoprotein) ก็อยู่ในไขมันกลุ่มนี้



การตรวจวัดค่า LDL-c เป็นการวัดปริมาณไขมันชนิดร้าย เพื่อประเมินภาวะโรคไขมันในเลือดเนื่องจาก LDL-c เป็นตัวนำพาไขมันคลอเลสเตอรอล (cholesterol) ไปส่วนต่างๆของร่างกาย โดยปกติคลอเลสเตอรอล สำคัญกับการสร้าง สเตียรอยด์ฮอร์โมนและจำเป็นในเซลล์ต่างๆของร่างกาย แต่หากร่างกายมี LDL-c ปริมาณสูงเกินความจำเป็น LDL-c จะไปเกาะอยู่ที่หลอดเลือดทั่วร่างกาย จนในที่สุดอุดตันหลอดเลือด นำไปสูโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองตามมา ดังนั้นการวัดค่า LDL-c และนำไปสู่การแก้ไขจึงเป็นเป้าหมายหลัก ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง

วิธีการตรวจ LDL-C

การตรวจ LDL-c มีด้วยกันสองวิธีคือ

1Direct LDL-c หมายถึงการวัดค่า LDLโดยตรงจากการตรวจเลือดซึ่งมีความแม่นยำ

2ใช้วิธีที่ได้ผลมาจากการคำนวณด้วยค่าของคอเลสเตอรอลตัวอื่น ปกติเมื่อเวลาเจาะเลือดตรวจไขมันแพทย์จะเจาะหา Total cholesterol (TC), high density lipoprotein (HDL) และ triglyceride (TG) เมื่อได้ค่าผลเลือดทั้งสามจึงนำมาคำนวณหาค่า LDL ดังสูตร LDL(calc) = TC – HDL – 20 % TG โดยมีเงื่อนไขดังนี้ ได้รายงานยืนยันความถูกต้องว่า LDL (calc.) กับ Direct LDL จะมีค่าเท่ากันหรือไม่แตกต่างกันมากเกินปกตินัก ก็ต่อเมื่ออยู่ในเงื่อนไขว่า

  • triglyceride จะต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือไม่ต่ำกว่า 50 mg/dL
  • ฉะนั้น หากพบค่า LDL ในใบรายงานผลเลือด โดยมิได้ระบุว่าเป็น Direct LDL ก็ควรจะตรวจสอบค่า triglyceride ว่ามีค่าต่ำกว่า 50 mg/dL หรือมีค่าสูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือไม่
  • หากไม่ได้บอกว่าเป็น Direct LDL-c ก็น่าจะเป็นค่าที่เกิดจากการคำนวณ

เมื่อไรแพทย์จึงจะสั่งตรวจไขมัน LDL-C

  • การตรวจไขมันเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงจะเจาะ total cholesterol, HDL-C, และ  triglycerides โดยแนะนำให้ตรวจทุก 5 ปี
  • สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจแนะนำให้ตรวจบ่อย
  • ใช้ติดตามผลการรักษา
  • สำหรับเด็กอายุ 9-11 ปีให้เจาะอย่างน้อย 1 ครั้ง และเจาะอีกครั้งเมื่ออายุ 17-21ปี
  • เจาะเลือดตรวจไขมันในเด็กกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น

Major risk factors for heart disease other than a high LDL-C include:

  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • น้ำหนักเกิน
  • สูบบุหรี่
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • อายุ (มากกว่า45ปีสำหรับชาย มากกว่า 55 ปีสำหรับหญิง)
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจก่อยวัย(ชายเกิดก่อน55ปี หญิงเกิดก่อน 65 ปี)
  • เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ค่าปกติของไขมัน LDL

ค่าผล LDL สำหรับคนทั่วๆไป ค่าเป้าหมายดีดังนี้

  • น้อยกว่า 100 mg/dL (2.59 mmol/L) เป็นค่าที่ต้องการ
  • 100-129 mg/dL (2.59-3.34 mmol/L)ใกล้ค่าที่ต้องการแต่ยังสูงไปเล็กน้อย
  • 130-159 mg/dL (3.37-4.12 mmol/L) สูงเล็กน้อย
  • 160-189 mg/dL (4.15-4.90 mmol/L) สูง
  • มากกว่า 189 mg/dL (4.90 mmol/L) สูงมาก

เป้าหมาย LDL สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • ค่า LDL-C ต่ำกว่า 100 mg/dL (2.59 mmol/L) สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคเบาหวาน
  • ค่า LDL-C น้อยกว่า 130 mg/dL (3.37 mmol/L) หากมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2 ข้อ
  • ค่า LDL-C น้อยกว่า 160 mg/dL (4.14 mmol/L) สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 1 ข้อ

มีการแนะนำให้เป้าหมายของ LDL ให้น้อยกว่า 70 mg/dL ในกรณีที่มีโรคหัวใจและโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • อายุ (ชายอายุมากกว่า 45 ปี หรือหญิงอายุมากกว่า 55 ปี)
  • ความดันโลหิตสูง หรือกำลังรับประทานยาลดความดันโลหิต
  • ญาติสายตรงป่วยด้วยโรคหัวใจ(ผู้ชายเกิดโรคหัวใจก่อนอายุ 55 หรือหญิงเกิดโรคหัวใจก่อนอายุ 65) 
  • เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
  • เป็นโรคเบาหวาน

ค่า High HDL-C ที่มีค่ามากกว่า (60 mg/dL จะเป็นผลดีต่อการเกิดโรคหัวใจ หากมีค่าเกิน 60 ให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิโรคหัวใจลง 1 ข้อ

ค่าปกติของเด็กและวัยรุ่น

  • น้อยกว่า110 mg/dL (2.85 mmol/L) ค่าที่ยอมรับ
  • 110-129 mg/dL (2.85-3.34 mmol/L) สูงเล็กน้อย
  • มากกว่า 130 mg/dL (3.36 mmol/L) สูง

สำหรับผู้ใหญ่

  • น้อยกว่า 120 mg/dL (3.10 mmol/L) ยอมรับได่
  • 120-159 mg/dL (3.10-4.11 mmol/L) สูงปานกลาง
  • มากกว่า 160 mg/dL (4.12 mmol/L) สูง

สำหรับค่า LDL ที่ต่ำโดยทั่วไปมักจะไม่มีปัญหาต่อสุขภาพจึงไม่ขอกล่าว

ค่าไขมันในเลือด

  • น้อยกว่า 100 mg/dL (2.59 mmol/L) —ค่าที่ต้องการ
  • 100-129 mg/dL (2.59-3.34 mmol/L) — สูงเล็กน้อน
  • 130-159 mg/dL (3.37-4.12 mmol/L) — สูงปานกลาง
  • 160-189 mg/dL (4.15-4.90 mmol/L) — สูง 
  • มากกว่า 189 mg/dL (4.90 mmol/L) — สูงมาก

ค่าเป้าหมายของระดับ LDL-C levels ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง

เป้าหมายระดับไขมัน

  • LDL-C น้อยกว่า 100 mg/dL (2.59 mmol/L)สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ และเบาหวาน
  • LDL-Cน้อยกว่า 130 mg/dL (3.37 mmol/L) สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสองข้อขึ้นไป
  • LDL-Cน้อยกว่า 160 mg/dL (4.14 mmol/L) สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 1 ข้อ

ข้อควรทราบ

  • เมื่อท่านอยู่ในภาวะที่มีการบาดเจ็บเฉียบพลันเช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroid), โรคติดเชื้อ, อยู่ในระหว่างการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ ภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ผลการตรวจจะมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริงได้
  • สำหรับคนตั้งครรภ์จะมีค่า LDL-C สูงกว่าปกติ ให้เจาะอีกครั้งหลังคลอดแล้ว 6 สัปดาห์
  • ยาบางชนิดอาจจะเพิ่มค่า LDL-C ดังนั้นจะต้องแจ้งแพทย์หากท่านรับประทานยาอยู่

การรักษา

การรักษาไขมันในเลือดสูงได้เปลี่ยนแปลงจากการรักษาแบบเดิมที่มุ่งเน้นระดับไขมัน ตามเกณฑ์การรักษาใหม่จะคำนึงถึงระดับไขมัน และและปัจจัยอื่นๆเช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ ความดันโลหิต เป็นต้น และประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน10ปีหากมากกว่า 7.5 ควรจะได้รับยาลดไขมัน นอกจากนั้นระดับไขมันที่ต้องการจะเน้นไปที่ร้อยละไขมันที่ลดลง

  1. หากท่านมีค่าการตรวจ LDL-c สูงหลักการรักษา
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดบริโภคไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ เนย มะพร้าว กะทิ เป็นต้น และอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง เช่น ปลาหมึก ไข่ กุ้ง หอย เป็นต้น
    • หลีกเลี่ยงไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์มากใน เนื้อสัตว์ ในนมและเนย ในน้ำมันปาล์ม ในมะพร้าว หรือกะทิ ไขมันประเภทนี้ จะเพิ่มค่าทั้ง LDL และ HDL ทั้งนี้ย่อมหมายรวมถึงค่า TC ก็จะสูงขึ้นด้วย
    • งดเว้นอาหารที่มีไขมันชนิดทรานส์ (trans fat) ได้แก่ เนยเทียม (margarine) และบรรดาผงฟูใส่ ขนมฝรั่งทุกชนิดไขมันประเภทนี้ จะเพิ่มค่า LDL และลดค่า HDL
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงในการปรับปรุง ทำให้เกิดไขมันทรานส์ ได้แก่ บรรดา อาหารในร้าน "fast foods" ชื่อฝรั่งทั้งหลาย
    • ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยให้มากในแต่ละมื้อและแต่ละวัน อาหารเส้นใย (fiber) ก็คืออาหารที่มีจุดเริ่มต้นมิได้มาจากสัตว์  เช่น ผัก ผลไม้ ทุกชนิด
    •  เพิ่มการบริโภคอาหารพวกพืชผักผลไม้ ที่มีเส้นใย (fiber) ให้มาก
    •  ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม เพิ่มการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล        
    • เลิกบุหรี่

ยารักษาไขมันในเลือดสูง

Cholesterol | LDL | HDL | Triglyceride | โรคไขมันในเลือดสูง | ไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน | ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

เพิ่มเพื่อน