การให้เซรุ่มแก้พิษงู (antivenom)

การให้ antivenom ทําให้ VCT ที่ผิดปกติ และระดับ fibrinogen กลับมาปกติ และเลือดหยุดได้
แต่่ antivenom จะไม่่มีผลต่ออาการบวมเฉพาะที่ หรือการหายของบาดแผล
ปัจจุบัน antivenom ที่ผลิตจากสถานเสาวภา สภากาชาดไทย มีทั้งสิ้น 6 ชนิด ทุกชนิด
เป็นเซรุ่มต่อพิษงูชนิดเดียว monovalent antivenom ได้แก่

  • antivenom แก้พิษงูเห่า (เฉพาะ Naja kaouthia)
  • งูจงอาง
  • งู สามเหลี่ยม
  • งูแมวเซา
  • งูกะปะ
  • และงูเขียวหางไหม้ (เฉพาะ Trimeresurus alborablis)

เซรุ่มแก้พิษงู

โดยเป็นผง บรรจุขวด ก่อนใช้ต้องละลายด้วยนํ้ากลั่น 10 มล. ต่อ 1 ขวด

แนวทางการให้ เซรุ่มแก้พิษงู viperidae ดังนี้

  1. ข้อบ่งชี้ไม่จําเป็นต้องให้เซรุ่มแก้พิษงูแก่ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดทุกราย  ควร
    พิจาณาให้เฉพาะในรายที่มีหลักฐานว่าผู้ป่วยได้รับพิษงูเข้าสู่ร่างกาย (systemic envenoming)
  • เมื่อมีภาวะเลือดออกผิดปกติ  หรือ VCT นานกว่า 30 นาที  (ผู้ เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าจํานวนเกล็ดเลือดตํ่ากว่า 100x109 ต่อลิตรไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ที่สําคัญของการให้เซรุ่ม
  • ภาวะไตวายเฉียบพลัน  หรือ intravascular hemolysis ในรายที่ถูก
    งูแมวเซากัด

วิธีการใช้เซรุ่มแก้พิษงู

  1. ขนาดที่ใช้ 50 มล. (5 ขวด) ต่อครั้ง  (ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าขนาดที่ ใช้อาจไม่จําเป็นต้องเท่ากันในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็ก
  2. การทดสอบการแพ้เซุร่มแก้พิษงูควรทําก่อนให้เซรุ่มแก่ผู้ป่วย  โดยทําให้เซรุ่มเจือจาง 1:10 แล้วฉีด 0.1 มล. เข้าในชั้นผิวหนังบริเวณหน้าแขนของผู้ป่วย รอประมาณ 15-30 นาที แล้วอ่านผล ปฏิกิริยาให้ผลบวกคือตําแหน่งที่ฉีดจะบวมแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
    เกิน 1 ซม. ผลลบคือ ไม่บวมหรือบวมเล็กน้อย แม้ว่าได้มีผู้ศึกษาว่าการทดสอบทางผิวหนัง เพื่อ
    ทํานายว่าผู้ป่วยจะเกิดแพ้เซร่มหรือไม่นั้น จะไม่มีความสัมพันธ์กับอาการที่เกิดขึ้นจริงภายหลังให้
    เซรุ่ม24
  3. วิธีให้ : ผสมในนํ้ าเกลือนอร์มัลหรือ 5%D/NSS/2 ให้เป็น 100-200 มล. ขึ้นอยู่กับรูปร่าง
    ขนาดของผู้ป่วย และความต้องการสารนํ้า ช่วงแรกให้หยดเข้าหลอดเลือดดําอย่างช้า ๆ เพื่อสังเกต
    อาการข้างเคียงที่เกิดจากการแพ้เซรุ่ม หากไม่มีอาการอะไร ก็สามารถให้เร็วขึ้นหมดภายใน 30
    นาที - 1 ชั่วโมง
  4. ต้องเตรียมยาแก้แพ้เซรุ่มแก้พิษงูไว้ก่อนเสมอ โดยใช้ adrenalin 1:1,000
    ขนาด 0.5 มล. สํ าหรับผู้ใหญ่ หรือ 0.01 มล.ต่อนํ้าหนักตัว 1 กก. สํ าหรับเด็ก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
    หรือเข้ากล้ามเนื้อ นอกจากนี้ อาจให้ยาต้านฮีสตามีนร่วมด้วย
  5. การติดตามผู้ป่วย ติดตามภาวะเลิอดออก และ VCT ทุก 6 ชั่วโมง หาก
    VCT ยังผิดปกติ สามารถให้เซรุ?มแก้พิษงูซํ้าได้อีกจน VCT ปกติ หลังจากนั้นควรทํ า VCT ซํ้ าต่อไป
    ทุก 6 ชั่วโมง อีกประมาณ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เนื่อง
    จากบางรายอาจพบว่า VCT กลับมาผิดปกติได้อีก เกิดจากพิษงูยังคงถูกดูดซึมจากตํ าแหน่งที่งู
    กัดเข้าสู่กระแสเลือดอีก จํ าเป็นต้องให้เซร่มแก้พิษงูซํ้ า

เพิ่มเพื่อน

หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ รายละเอียดงูพิษกัด