การประเมินความรุนแรง

การประเมินความรุนแรงไม่ได้กําหนดเกณฑ์ที่แน่นอน แตกต่างกันในแต่ละรายงานประเมินจากอาการและอาการแสดง ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีเพียง 2 รายงานที่ แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความรุนแรงของลักษณะทางคลินิกกับระดับของพิษงูในเลือดความรุนแรงสามารถประเมินได้จากอาการ อาการแสดง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ-การในกรณีงูแมวเซา ความรุนแรงยังขึ้นกับภาวะ disseminated intravascular coagulation และภาวะไตวายฉับพลัน

ตารางที่ 2 การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยที่ถูกงูตระกูล Viperidae โดยเฉพาะงูกะปะและงูเขียวหางไหม้

ความรุนแรง อาการและอาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  อาการเฉพาะที่ เลือดออกผิดปกติ VCT เกล็ดเลือด
น้อย บวมเล็กน้อยอาการบวมไม่เกินระดับข้อศอกหรือข้อเข่า ปกติ ปกติ ปกติ
ปานกลาง อาการบวมสูงกว่าระดับข้อศอกหรือข้อเข่าอาจพบถุงนํ้า (blister หรือ hemorrhagic bleb) เลือดออกใต้ชั้นผิวหนังหรือเนื้อตาย

ไม่มี ยาว ปกติหรือต่ำเล็กน้อย
รุนแรง เช่นเดียวกับความรุนแรงปานกลาง

มี ยาว ต่ำ

ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่จะนํามาใช้ ประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยดัง

ความรุนแรงของการได้รับพิษงู

งูกัดคนอาจจะด้วยความตกใจ หรืออาจจะเป็นงูพิษที่มีขนาดเล็ก หรืออาจจะกัดหลังจากเพิ่งล่าเหยื่อทำให้พิษเข้าสู่ร่างกายน้อย ผลคืออาจจะไม่เกิดอาการเป็นพิษจากงูเลยก็ได้ การให้เซรุ่มจะพิจารณาว่าได้รับพิษงูเข้าไปมากจะเกิดอาการพิษของงู

ได้รับพิษน้อย

บริเวณที่ถูกกัดจะมีอาการบวม แดง หรือมีเลือดออก ณ.ตำแหน่งที่มีถูกกัด ไม่มีอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต ผลการตรวจเลือดปกติ

ได้รับพิษปานกลาง

จะมีอาการบวม แดง และมีเลือดออกเพิ่มขึ้น อาจจะลามข้ามข้อ 1 ข้อ ชีพขจรอาจจะเร็ว ความดันอาจจะต่ำเล็กน้อย แต่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ผลเลือดปกติ

ได้รับพิษมาก

มีอาการบวม แดงและเลือดออกทั้งอวัยวะส่วนนั้น เช่นทั้งแขนและขา ผู้ป่วยอาจจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ หายใจเร็ว หากเป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาทก็จะเกิดอาการทางประสาท ผลเลือดก้จะพบว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เกล็ดเลือดต่ำ(PT,PTT Prolong )

เพิ่มเพื่อน

หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ รายละเอียดงูพิษกัด