โรคข้อนิ้วงอติด หรือข้อนิ้วล็อค (Trigger's finger)

โรคนิ้วล็อคเป็นภาวะที่เมื่องอนิ้วแล้วจะไม่สามารถเหยียดได้ บางครั้งจะต้องเอามืออีกข้างเหยียดนิ้วนั้น ซึ่งอาจจะได้ยินเสียงกิ๊ก นิ้วล็อคเป็นผลจากการอักเสบที่เกิดขึ้นระหว่างปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือที่บริเวณโคนนิ้วมือนั้น ๆ ทางด้านฝ่ามือ

การอักเสบจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น จึงทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไปได้ไม่สะดวก เกิดการขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอและเหยียดนิ้วมือ ถ้ามีอาการมากขึ้นจะพบว่า เมื่องอนิ้วมือเข้ามาจนสุดแล้ว จะมีเสียงดัก "กึ้ก" แล้วนิ้วจะติดงออยู่อย่างนั้น ไม่สามารถยืดออกเองได้ บางครั้ง ต้องใช้มืออีกข้างมาช่วยง้างนิ้วมือให้เหยียดออก ซึ่งจะได้ยินเสียง "กึ้ก" ซ้ำอีกครั้ง ข้อนิ้วมือก็จะยืดออกได้ แต่ผู้ป่วยจะมีความเจ็บปวด ที่โคนนิ้วมาก พบในผู้ป่วยวัยกลางคน เพศหญิงมากกว่าชาย โรคที่พบร่วมกับภาวะนี้บ่อย ได้แก่ เบาหวาน ในสตรีมีครรภ์ ทั้งก่อนและ หลังคลอด โรคข้อนิ้วติดอาจเกิดขึ้นกับนิ้วใด ๆ ก็ได้ และอาจเกิดพร้อมกันได้หลายนิ้ว

ผู้ที่เสี่ยงต่อนิ้วล็อค

  • ผู้ที่ต้องกำบ่อยๆ เช่นนักดนตรี ผู้ที่ควบคุมเครื่องจักร
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรค rheumatoid เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
  • มักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุ

เชื้อว่าเกิดจากการใช้งานของนิ้วมือมาก และนานในท่ากำมือ และงอนิ้วมือ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นงอนิ้วมือ พบบ่อยในแม่บ้าน (ที่ซักผ้าติดต่อกันนาน) แม่ครัว (ที่ถือถุงหิ้วของ ใช้มีด จับด้ามกะทะ) ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า (ใช้กรรไกร) ช่างไม้ ช่างยนต์ (จับค้อน ไขควง กุญแจเลื่อน) นักกีฬากอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิส (จับด้ามไม้แน่น และนาน) ในสตรีมีครรภ์ เกิดจากการที่ปลอกหุ้มเอ็น และเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบวม น้ำจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ในขณะตั้งครรภ์

นิ้วที่มักจะเป็นนิ้วล็อค

ได้แก่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วชี้ มักจะเกิดกับมือข้างถนัด อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า หรือเมื่อเรากำของนานๆ

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงการใช้งานของมือที่ต้องงอนิ้วมือ กำ บีบ หิ้วติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

การรักษา

การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค

สำหรับผู้ที่อาการเบา

ได้แก่ผู้ที่มีอาการไม่มาก นานๆจะเป็นสักครั้ง การรักษาได้แก่

  • การใส่เครื่อง finger splint 6 สัปดาห์เพื่อให้นิ้วลดการเคลื่อนไหวซึ่งจะทำให้เอ็นยุบบวม
  • การบริหารนิ้วมือเพื่อให้ข้อนิ้วมือติด
  • หลีกเลี่ยงการกำ หรือถือของนานๆ

สำหรับรายที่เป็นมากและมีอาการมาก

  • การให้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
  • Steroid บริเวณที่มีการอักเสบ บริเวณรอบเส้นเอ็นในตำแหน่งที่อักเสบ โดยทั่วไปไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง
  • การผ่าตัดเพื่อเพิ่มช่องเยื่อหุ้มปลอกซึ่งจะเป็นการรักษาเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ควรทำการผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวบริเวณโคนนิ้วมือ ให้เปิดออก ซึ่งจะทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนที่ได้สะดวกไม่ติดยึดอีกต่อไป