การรักษาข้อเสื่อม


การรักษา

  1. การทำกายภาพเพื่อป้องกันความพิการ และเพิ่มความแข็งแรงของข้อ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทาง
  2. การออกกำลังควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การออกกำลังจะช่วยลดอาการปวด ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น
  3. การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น การนั่ง การยืน การนอน การยกของหนัก อ่านที่นี่
  4. การเลือกใช้ยาในการลดอาการเจ็บปวด มียาให้เลือก 3 กลุ่มได้แก่
    • ยาในกลุ่มNSAID เช่น aspirin ibuprofen diclofenac ketoprofen เนื่องจากยาในกลุ่มนี้ระคายกระเพาะ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
    • ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มใหม่ชื่อ COX-2 inhibitors ซึ่งมีผลต่อกระเพาะอาหารน้อยได้แก่ยา celecoxib (Celebrex) และ rofecoxib (Vioxx) ผลข้างเคียงอาจจะทำให้เกิดอาการบวม และเกิดโรคหัวใจ
    • การใช้ยา paracetamol ซึ่งลดอาการปวดได้ดี แต่ไม่ลดอาการบวม การใช้ต้องระวังผู้ที่เป็นโรคตับ ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง ผู้สูงอายุ
  5. ยาชนิดอื่นๆที่ใช้บรรเทาอาการปวด
  • ยาทาซึ่งมีทั้งชนิดร้อนและเย็น สามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยมีผลข้างเคียงต่ำ สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • ยา steroidฉีดเข้าข้อ เป็นการลดอาการปวดได้ชั่วคราว ไม่แนะนำให้ฉีดเกิน 2-3 ครั้งต่ปี
  • การฉีดสาร hyaluronic acid เข้าไปในข้อเสมือนน้ำหล่อลื่นเทียม
  1. การประคบร้อนและประคบเย็น
  2. การลดน้ำหนัก
  3. การผ่าตัดสามารถทำได้หลายวิธี
  • นำเศษกระดูกอ่อนที่ฉีกขาดออก
  • ทำให้ผิวกระดูกเรียบ
  • จัดเรียงกระดูกใหม่
  • การเปลี่ยนข้อ
  1. การป้องกันการใช้ข้อมากเกินไป
  • การใช้ไม้เท้าสำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อม
  • เลือกการออกกำลังที่มีแรงต่อข้อน้อยเช่น การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ
  • เลือกรองเท้าที่มีแผ่นรองรับการกระแทกเวลาเดิน
  • หากขายาวไม่เท่ากันต้องแก้ไข
  • หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อย
  1. แพทย์ทางเลือกซึ่งมีหลายวิธี

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะให้ประโยชน์สำหรับผู้ป่วยข้อเสื่อมอย่างมาก และยังสามารถลดอาการปวด ประโยชน์ของการออกกำลังต่อโรคข้อมีดังนี้้

  • การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ข้อมีการเคลื่อนไหวดี ทำให้ปวดน้อยลง
  • ข้อมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอจะมีความแข็งแรง กระดูกไม่พรุน และไม่มีข้อติด
  • การออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนัก