การวินิจฉัยและการรักษาโรคกระดูกพรุน


ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนที่จะเกิดอาการ โดยการตรวจความเข็ม หรือความหนาแน่นของกระดูก Bone mineral density หรือ BMD การตรวจนี้ใช้แสงเอกซ์เรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุดที่ต้องการ แล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาความหนาแน่นของกระดูก เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยการเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของผู้หญิงอายุ 25 ปี หากมวลกระดูกคุณน้อยกว่า 2.5 เท่า standard deviation ของผู้หญิงอายุ 25 ปี แสดงว่าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน osteoporosis หากเนื้อกระดูกคุณน้อยกว่าปกติแต่ไม่ถึง 2.5 เท่า standard deviation คุณเป็นคนที่เนื้อกระดูกน้อยกว่าปกติ Osteopenia

 



การรักษาโรคกระดูกพรุน

ต้องมีการออกกำลังเพื่อสร้างมวลกระดูก และมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน โดยเแพาะหญิงวัยทอง

  • Estrogen ต้องให้ร่วมกับยา Progestin ซึ่งจะพิจารณาให้ในรายที่ตัดรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี หรือผู้ที่หมดประจำเดือนอายุน้อย หรือประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีมวลกระดูกต่ำกว่าเกณฑ์
  • Raloxifene เป็นยาในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถเพิ่มระดับความแข็งของกระดูกได้ครึ่งหนึ่งของการใช้ฮอร์โมนทดแทน
  • Alendronate ยานี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสลายของกระดูก ควรรับประทานยานี้ขณะท้องว่าง และดื่มน้ำตาม และให้อยู่ในท่ายืน 30 นาที ยานี้อาจจะทำให้เกิออาการจุกเสียดท้องและหน้าอก ผู้ที่มีโรคไตควรปรึกษาแพทย์
  • Calcitonin เป็นฮอร์โมนใต้สมอง ได้จากการสกัดต่อมใต้สมองจากปลาทูน่า ใช้พ่นจมูก ยาตัวนี้ผลข้างเคียงต่ำ
  • Tamoxifen ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ estrogen receptor กับบางอวัยวะเท่านั้น คือยากลุ่มนี้มีความจำเพาะสูงกว่าเอสโตรเจน ยากลุ่มนี้สามารถเพิ่มมวลกระดูก และลดอาการร้อนตามตัว

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน การวินิจฉัยและการรักษา การป้องกันกระดูกพรุน การออกกำลังกายเพื่อลดการเกิดกระดูกพรุน ข้อปฏิบัติเมื่อเวลายืนนานๆ