กรวยไตอักเสบ Pylonephritis

กรวยไตอักเสบเป็นการอักเสบของไตซึ่งอาจจะมีความรุนแรงถึงกับเสียชีวิต หรือทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง กรวยไตอักเสบเกิดจากเชื้อโรคเข้าทางท่อปัสสาวะไปทางท่อไตและลามไปสู่ไต นอกจากนั้นอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือโลหิตเป็นพิษ กรวยไตอักเสบเป็นภาวะที่เร่งด่วนที่จะต้องรีบให้การรักษา

กรวยไตอักเสบคืออะไร| ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกรวยไตอักเสบ | อาการที่สำคัญของโรคกรวยไตอักเสบ |



กรวยไตอักเสบคืออะไรทางเดินปัสสาวะ

ไตของคนจะมีหลอดแดงไปเลี้ยง เมือเลือดกรองเสร็จจะนำกลังหลอดเลือดดำ ของเสียที่กรองได้จะรวบรวมสู่กรวยไต หลังจากนั้นปัสสาวะจะนำสู่ท่อไต กระเพาะปัสสาวะและไปท่อปัสสาวะ

ปัสสาวะของคนจะไม่มีเชื้อโรค คนส่วนหนึ่งจะเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่ถ้าหากเชื้อลามจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ท่อไต ureter และไปอักเสบที่ renal pelvis เรียกกรวยไตอักเสบผู้ป่วยมักจะมีไข้ อาเจียน ขาดน้ำ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิต

  • กรวยไตอักเสบจะพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
  • สำหรับผู้ใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะวัยทอง มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่ม
  • ทางเดินปัสสาวะในผู้ชายมักจะพบเมื่ออายุมากว่า 50 ปีเนื่องจากต่อมลูกหมากโต

พบกรวยไตอักเสบบ่อยแค่ไหน

กรวยไตอักเสบเป็นได้ทุกอายุทั้งหญิงและชาย

  • ทารกจะพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง1.5เท่ามักจะพบร่วมกับความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
  • เด็กชายที่ไม่คลิปหนังหุ้มอวัยวะเพศจะเป็นกรวจไตมากกว่าเด็กที่คลิป
  • ผู้หญิงจะพบดรคกรวยไตอักเสบมากกว่าชายเมื่อพ้นอายุ 1 ปี
  • สตรีจะพบว่าเป็นกรวยไตอักเสบมากกว่าผู้ชาย
  • หลังอายุ65ปีจะพบในผู้ชายเท่าๆกับผู้หญิง


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกรวยไตอักเสบ

  • มีความผิดปกติของอวัยวะทางเดินปัสสาวะ
  • มีนิ่ว หรือคาสายสวนปัสสาวะ
  • ค่าท่อระบายปัสสาวะ
  • ตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวาน
  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • กระเพาะปัสสาวะบีบตัวน้อย

อาการของโรคกรวยไตอักเสบ

อาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบแต่จะมีอากรปวดหลัง ไข้สูง อาเจียน

อาการที่สำคัญของโรคกรวยไตอักเสบ

  • มีไข้สูงซึ่งอาจจะสูงเกิน 39 องศา สำหรับผู้ที่ป่วยหนักอาจจะไม่มีไข้ก็ได้
  • เจ็บชายโครงด้านหลังข้างที่มีการอักเสบ อาการปวดอาจจะปวดเบาๆจนกระทั่งรุนแรง เมื่อทุบเบาๆบริเวณที่อักเสบจะปวดมากขึ้น โดยมากจะเป็นข้างเดี่่ยว
  • คลื่นไส้/อาเจียน อาการอาจจะเป็นน้อยจนกระทั่งเป็นมากรับประทานอาหารไม่ได้

สำหรับสตรีอาจจะมีอาการปัสสาวะเป็นเลือดซึ่งพบได้ร้อยละ 30-40 ของผู้ป่วย ส่วนผู้ชายมักจะไม่ค่อยพบปัสสาวะเป็นเลือด

อาการของโรคมักจะเกิดเร็วเป็นชั่วโมง โดยมากไม่เกิด 1 วันอาการอาจจะเป็นอย่างเดี่ยวหรือมีอาการทีละอย่าง หากมีอาการเกิน 7 วันให้ระวังโรคแทรกซ้อน

สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบจะมีอาการไม่เหมือนผู้ใหญ่

  • เด็กไม่ดูดนม
  • มีไข้
  • อาเจียน
  • น้ำหนักเด็กไม่เพิ่ม

สำหรับผู้สูงอายุนอกจากจะมีอาการไข้ ปวดเอว คลื่นไส้อาเจียนแล้วอาจจะมีอาการ

  • อาจจะมีไข้สูงหรือไม่มีไข้
  • ซึมลง
  • มีอวัยวะอื่นล้มเหลว เช่นไต หรือตับอักเสบ
  • สุขภาพโดยทั่วไปทรุดลง

การวินิจฉัยโรคกรวยไตอักเสบ

การวินิจฉัยไม่ยากสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการครบของโรคกรวยไตอักเสบ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจปัสสาวะ การเก็บปัสสาวะมีหลายวิธีดังนี้

  • การตรวจเลือด CBC หากมีการติดเชื้อจะพบว่าเม็ดเลือดขาวมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
  • การเพาะเชื้อจากเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ

ปัสสาวะของผู้ที่เป็นกรวยไตอักเสบมักจะขุ่น และมีกลิ่นเหม็น เมื่อสองกล้องตรวจจะพบมีเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง โปรตีนในปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ

การเลือกใช้วิธีเก็บปัสสาวะขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน เมื่อได้ปัสสาวะก็จะทำการตรวจปัสสาวะ และการตรวจพิเศษ

  • การตรวจ Dipstick leukocyte esterase test (LET) เป็นการกรองว่าปัสสาวะมีเม็ดเลือดขาวหรือไม่
  • การตรวจ Nitrite production test (NPT) เป็นการกรองว่าปัสสาวะมีเม็ดเลือดขาวหรือไม่
  • ตรวจปัสสาวะดดยการส่องกล้องเพื่อตรวจหาเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และโปรตีนในปัสสาวะ
  • การเพาะเชื้อจากปัสสาวะซึ่งควรจะตรวจทุกรายที่สงสัยว่าจะเป็นกรวยไตอักเสบ

การตรวจทางรังสี

  • การตรวจคอมพิวเตอร์ Computed tomography (CT) scanning เป็นการตรวจการไหลเวียนของเลือดในไต ความสามารถในการขับสี เนื้อเยื่อรอบไต โรคอื่นๆ เชื้อแบคทีเรียที่ผลิตก๊าซ การอักเสบของไต เลือดออกในไต การมีอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็ก Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นการตรวจหาการอุดกั้นทางเดินของปัสสาวะ เลือดไปเลี้ยงที่ไต
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง Ultrasonography เป็นการตรวจหานิ่ว ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น ฝีในไต

การรักษากรวยไตอักเสบ

ก่อนให้การรักษาจะต้องเพาะเชื้อโรคจากเลือดและปัสสาวะ ต้องรีบให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างก่อนที่จะทราบผลเพาะเชื้อโรค ผู้ป่วยที่มีอาการมาก หรือคิดว่าจะมีโรคแทรกซ้อนจะต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยใน

การรักษาแบบผู้ป่วยนอก

เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก ไม่มีโรคแทรกซ้อน การรักษาจะให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดครั้งเดียวแล้วตามด้วยยารับประทาน และควรจะนัดมาพบอีกครั้งไม่เกิน 48 ชั่วโมงเพื่อประเมินผลการรักษา

ผู้ป่วยที่เป็นกรวยไตอักเสบต้องนอนโรงพยาบาลได้แก่

  • ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบที่พบร่วมกับนิ่วในไต ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ 
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคไต
  • ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดีเช่น ได้เคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็ง โรคเอดส์
  • มีอาการของโลหิตเป็นพิษ
  • ผู้ป่วยซึ่งมีสัญญาณชีพไม่ดี
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดี เช่นการดื่มน้ำ
  • มีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง
  • มีลักษณะของการขาดน้ำ
  • ผู้ป่วยมีอาการมาก
  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
  • มีโรคที่อุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
  • ปัสสาวะออกน้อย
  • มีอาการของโรคหลังจากหยุดยาปฏิชีวนะ

การรักษาผู้ป่วยในประกอบไปด้วย

  • การรักษาทั่วไป เช่นการลดไข้ การนอนหลับพักผ่อน การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • การติดตามผลเพาะเชื้อจากเลือดและปัสสาวะ
  • การติดตามโรคร่วมที่ผู้ป่วยเป็น เช่นติดตามน้ำตาลในเลือด ติดตามการทำงานของตับ ติดตามการทำงานของไต
  • การให้น้ำเกลืออย่างเพียงพอ
  • การให้ยาปฏิชีวนะ

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะจำเป็นในรายที่มีโรคแทรกซ้อน

  • มีฝีที่ไต หรือฝีที่เนื้อเยื่อข้างไต
  • เป็นกรวยไตอักเสบร่วมกับมีนิ่วในไต
  • เป็นโรค Renal papillary necrosis

ปัจจัยที่ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดี

  • อายุมาก
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • โรคนิ่วในไต
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องมือทางท่อปัสสาวะ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไต
  • ผู้ป่วยมะเร็ง

การป้องกัน

  • การป้องกันการเกิดกรวยไตอักเสบโดยป้องกันมิให้เชื้อเดินทางจากท่อปัสสาวะไปสู่กระเพาะปัสสาวะ เด็กที่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะต้องแก้ไข
  • ผู้หญิงแนะนำให้ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อโรคในปัสสาวะควรจะได้รับยาปฏิชีวนะ

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • ไตวายผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบเนื่องจากน้ำท่วมปอด การทำงานของไตจะเสื่อมลง
  • โลหิตเป็นพิษผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะออกน้อย ซึมลง
  • ฝีที่ไตผู้ป่วยจะปวดเอว ไขไม่ลง
  • มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะผู้ป่วยจะปวดเอว ปัสสาวะออกน้อย ไข้สูง

ทบทวนวันที่ 8/2/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน