การป้องกันหลอดเลือดตีบซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบ

ผู้ป่วยที่เป็นโรค TIA หรือสมองขาดเลือดจะมีโอกาศที่จะเป็นดรคหลอดเลือดตีบซ้ำร้อยละ3ถึง4 จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ

ความดันโลหิตสูง

 

คำแนะนำ

  1. สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง TIA มาก่อนและยังไม่ได้รักษาโรคความดันโลหิตสูง หลังจากเกิดโรคหลอเลือดสมอง หากความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ยังสูงกว่า 140/90มิลิเมตรปรอกก็เริ่มให้ยาลดความดันโลหิตสูง
  2. สำหรับผู้ที่ได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน ให้ปรับยาตามระดับความดันโลหิตหลังจากโรคหลอดเลือดสมองระยหนึ่ง
  3. ระดับความดันโลหิตที่ต้องการขึ้นกับการตอบสนองในแต่ละราย โดยทั่วไปความดันโลหิตที่ต้องการประมาณน้อยกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอท สำหรับผู้ที่เป็น Lacunar infarction ให้คุมความดันต่ำกว่า 130/90 มิลิเมตรปรอท
  4. จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิต เช่น การลดเกลือ การลดน้ำหนัก การรับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น รับประทานอาหารไขมันต่ำ ออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ลดการดื่มสุรา
  5. ส่วนเรื่องยาลดความดันโลหิตยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบว่ายาตัวไหนดีกว่ากัน
  6. การปรับระดับความดันโลหิตขึ้นกับการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละคน

ภาวะไขมันในเลือดสูง

คำแนะนำ

  1. ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และ TIA จะให้การรักษาด้วยยาลดไขมันกลุ่ม Statin เมื่อระดับ LDL-C มากกว่า 100 (Class I; Level of Evidence B)
  2. ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และ TIA จะให้การรักษาด้วยยาลดไขมันกลุ่ม Statin เมื่อระดับ LDL-C มากกว่า 100 (Class I; Level of Evidence C)
  3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ และ TIA จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤจิกรรมเพื่อลดไขมันในเลือด

ภาวะผิดปกติของน้ำตาล

ความผิดปกติของน้ำตาลในเลือดได้แก่

คำแนะนำ

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1
  2. โรคเบาหวานชนิดที่2
  3. ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน Pre-DMซึ่งได้แก่
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(น้ำตาลในเลือดตั้งแต่100-125มก%)
  • Impaired glucose tolerance test น้ำตาลในเลือดเจาะที่2 ชั่วโมงหลังจากการทดสอบโดยการดื่มน้ำตาลเท่ากับ 144-199 มก%
  • ภาวะค่าน้ำตาลเฉลี่ย HbA1c อยู่ระหว่า 5.7-6.4 %

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ60-70จะมีความผิดปกติของน้ำตาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะเป็นเบาหวานร้อยละ25-45 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะเป็นภาวะน้ำตาลสูงร้อยละ 28

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือ TIA ควรจะได้รับการตรวจเลือดว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ วิธีการตรวจหรือเวลาที่จะตรวจให้พิจารณาเป็นรายๆ
  2. การรักาาเบาหวานให้ทำตามเกณฑ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ภาวะอ้วน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีภาวะอ้วนมากถึงร้อยละ 18-44 ภาวะอ้วนหมายถึงผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง กลไกเชื่อว่าคนอ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันดลหิตสูง ไขมันในเลือดสุง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ การอักเสบ ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะเริ่มเพิ่มตั้งแต่ดัชนีมวลกายที่ 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร พบว่าดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นทุก 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง TIA ทุกคนควรจะได้รับการประเมินดัชนีมวลกาย (Class I; Level of Evidence C)
  2. แม้ว่าการลดน้ำหนักจะมีผลต่อการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ผลต่อโรคหลอดเลือดสมองยังไม่ชัดเจน

ภาวะอ้วนลงพุง Metabolic Syndrome

ภาวะอ้วนลงพุง หรือ Metabolic Syndromeเป็นภาวะที่ประกอบไปด้วย

  • เส้นรอบเอวมาก 90 ซม และ 80 ซม สำหรับชายและหญิงตามลำดับ
  • ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์มากกว่า150 มก%
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มก%
  • ระดับไขมัน HDL-C น้อยกว่า40 และ 50 มก%ในชายและหญิงตามลำดับ
  • ความดันโลหิตสูงกว่า 130/80 มิลิเมตรปรอท

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะพบว่าเป็น Metabolic Syndrome ร้อยละ30-50 มก% การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย จะลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน LDL-C ลดไขมัน triglycerides และเพิ่มระดับไขมัน HDL-C ลดความดันโลหิต ลดขบวนการอักเสบ และทำให้ผนังหลอดเลือดทำงานดีขึ้น

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะ Metabolic Syndrome จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร)
  2. ผู้ป่วยโรค Metabolic Syndrome จะต้องมีการดูแลเฉพาะปัญหาหรือโรคที่เป็น เช่น ปัญหาความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

การออกกำลังกาย

สมาคมโรคหัวใจของอเมริกาแนะนำให้มีการออกกำลังกายแบบแอร์โรบิคสัปดาห์ละ3-4 วันครั้ง 40 นาที ปัญหาที่เกิดกับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองคือการอ่อนแรง การทรงตัว ความรู้สึกทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีการออกกำลังกายน้อย

  1. สำหรับผู้ป่วยที่สามารถออกกำลังกายได้แนะนำให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งครั้งละ40นาที หรือจนเหงื่อออกออกหรือใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว อาจจะออกกำลังโดยการเดินเร็ว จ้อกกิ้ง และการขี่จักรยาน
  2. สำหรับผู้ป่วยที่อยากจะออกกำลังกายจะต้องอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่
  3. สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะออกกำลังกายจะต้องอยู่ในการดูแลของนักกายภาพเพื่อกระตุ้นให้มีการออกกำลังกาย

ภาวะโภชนการ

ภาวะโภชนาการเกินได้กล่าวไว้ในภาวะอ้วนหรือ metabolic syndrome สำหรับหรับภาวะทุโชนาการจะกล่าวต่อไป

ภาวะทุโภชนาการ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจจะมีภาวะทุโภชนาการเนื่องจากปัญหาโรคของผุ้ป่วย ผู้ป่วยไม่สามารถจะรับประทานอาหารเองได้ หรือมีปัญหาการดูดซึม แต่มีปัญหาเรื่องการประเมินภาวะทุโภชนาการ ซึ่งอาจจะใช้การประเมินดัชนีมวลกาย ระดับ albumin ในเลือด เส้นรอบแขน ความหนาของผิวหนัง ประเมินกันว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีภาวะทุโภชนการประมารร้อยละ8-13

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกรายจะต้องมีการประเมินภาวะโภชนาการทั้งเกินและขาด
  2. ผู้ป่วยที่มีภาวะทุโภชนาการจะต้องปรึกษาโภชนากร
  3. ไม่แนะนำการให้วิตามินโดยไม่มีข้อบ่งชี้
  4. ให้รับปรทานเกลือไม่เกิน 2.4 กรัม( 1 ชช) หากต้องการลดความดันลงอีกให้ลดเกลือลงเหลือ 1.5 กรัม(ครึ่งชช)
  5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแนะนำให้รับประทานอาหารเมดิเตอร์เรเนียนแทนอาหารไขมันต่ำ อาหารเมดอเตอร์เรเนียนจะเน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เนื้อสัตว์ที่ไขมันต่ำเช่น เนื้อปลา ไก่ เป็ด น้ำมันมะกอก

นอนกรน

พบว่าผู้ป่วยมากกว่าครึ่งของโรคหลอดเลือดสมองจะมีภาวะนอนกรน Obstructive Sleep Apnea (การวัดว่าเป็นโรคนอนกรนหรือไม่จะวัดจำนวนครั้งต่อชั่วโมงที่หยุดหายในในขณะหลับ หากมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วดมงจะถือว่าเป็นโรคนี้ ความรุนแรงจะตามจำนวนครั้งของการหยุดหายใจ)

  1. เนื่องจากพบผู้ป่วยนอนกรนจำนวนมากในกลุ่มผุ้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบดังนั้นจึงควรจะตรวจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่
  2. ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนอนกรนควรจะได้รับการรักษาด้วย CPAP

การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมของคนสูบบุหรี่

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจะต้องงดบุหรี่
  2. ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจะต้องไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สูบบุหรี่
  3. สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ไม่ได้อาจจะใช้แผ่นนิโคติน หรือยาช่วย

การดื่มสุรา

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ดื่มหนักควรจะลดการดื่มลง
  2. การดื่มอย่างพอเหมาะ(ผู้ชายไม่เกิน 2 ดื่ม ผู้หญิงไม่เกิน 1 ดื่ม)

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

เพิ่มเพื่อน