การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

 

หลักในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจะต้องค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อค้นหาพบแล้วก็ให้ทำการปรับปรุง ปัจจัยเสี่ยงได้แก่

  1. ปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  2. ปัจจัยเสี่ยงเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ
  3. ตระรู้ถึงอาการเตือนและรีบรักษา

ปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

หัวใจเต้นสั่นพริ้ว Atrial Fibrillation

ผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติที่เรียกว่าหัวใจเต้นสั่นพริ้ว จะมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดหลอดเลือดในสมองที่เรียกว่า embolic stroke ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับหัวใจเต้นสั่นพริ้วดังต่อไปนี้

 

  • หัวใจเต้นสั่นพริ้วเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคสมองขาดเลือด
  • หัวใจเต้นสั่นพริ้วพบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ที่เป็นหัวใจเต้นสั่นพริ้วส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ทำให้วินิจฉัยได้ยาก
  • แพทย์สามารถให้การดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นสั่นพริ้วได้ดี
  • ร้อยละ15ของผู้ป่วยสมองขาดเลือดจะพบว่ามีโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้วร่วมด้วย
  • การดูแลผู้ที่หัวใจเต้นสั่นพริ้วจะป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 80
  • ผู้ที่หัวใจเต้นสั่นพริ้วจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองขาดเลือดห้าเท่าของคนปกติ

การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยง เสี่ยงสูง ให้ระวัง เสี่ยงต่ำ
ความดันโลหิตสูง >140/90 หรือไม่ทราบ 120-139/80-89 <120/80
หัวใจเต้นสั่นพริ้ว ไม่ทราบ หัวใจเต้นปกติ หัวใจเต้นปกติ
สูบบุหรี่ สูบบุหรี่ พยายามเลิกสูบ ไม่สูบบุหรี่
ระดับคอเลสเตอรอล >240 200-239 <200
เบาหวาน เป็น เสี่ยงต่อเบาหวาน ไม่เป็น
ออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกาย ออกกำลังกายบ้าง ออกกำลังประจำ
น้ำหนัก อ้วน น้ำหนักเกินเล็กน้อย น้ำหนักปกติ
โรคหลอดเลือดในครอบครัว มีประวัติ ไม่แน่ใจ ไม่มี
ผลรวม      

การแปรผล

  • หากท่านมีอาการเหมือนในตารางให้ 1 คะแนน
  • ในช่องผลรวมของความเสี่ยงสูงหากได้คะแนนเท่ากับหรือมากกว่า3 แสดงว่าท่านมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง จำเป็นจะต้องได้รับการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • สำหรับช่องระวังหากได้คะแนน 4-6 คุณจะต้องรีบความคุมปัจจัยเสี่ยง
  • ส่วนในช่องความเสี่ยงต่ำหากมีคะแนน 6-8 คุณควบคุมได้ดีแล้ว

ท่านจะต้องทราบอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง และรีบไปโรงพยาบาล

ปัจจัยเสี่ยงเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

อาหาร

การรับประทานอาหารจานสุขภาพจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีสุขภาพดีขึ้น และลดการเกิดโรคอ้วนลงพุง รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รับประทานผักและผลไม้ให้มาก รับประทานธัญพืช ปลา ถั่ว นมพร่องมันเนย เนื้อไก่ เนื้อไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล แนวทางอาหารเพื่อสุขภาพได้แก่

  • ใช้จานรัศมี 9 นิ้วแบ่งจานออกเป็นสี่ส่วน
  • ให้รับประทานผัก 2 ส่วนหรือครึ่งจาน โดยเน้นการรับประทานผักสด และควรจะรับผักหลายสี
  • ให้รับประทานอาหารแป้งหนึ่งส่วน โดยใช้ธัญพืชครบส่วน whole grain ส่วนอาหารของคนไทยคือข้าวกล้อง โดยปกติไม่เกิน 2 ทัพพี หากรับประทานขนมปังต้องเลือกชนิด whole wheat
  • ส่วนเนื้อสัตว์ให้รับประทานเนื้อสีขาว เช่นเนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ส่วนเนื้อสีแดงให้รับประทานให้น้อยลง เช่นเนื้อหมูต้องไม่ติดมันหือหนัง หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่นไส้กรอก เบคอน แฮม

ตัวอย่างอาหาร 2-1-1

 

  • ลดการบริโภคน้ำตาลต้องไม่เกินวันละ 6 ชช โดยการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
  • ลดการบริโภคเกลือ
  • หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
  • ดื่มสุราไม่เกิน 2 หน่วยสุราสำหรับผู้ชาย และไม่เกิน 1 หน่วยสำหรับผู้หญิง

การออกกำลังกาย

ผู้ที่ออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คำแนะนำในการอกกำลักาย

  • ผู้ที่ออกกำลังหนักปานกลางได้แก่ การเดินเร็ว การขี่จักรยาน การ water aerobics ให้ออกสัปดาห์ละ 150นาที และมีการออกกำลังกายชนิดยกน้ำหนักสัปดาห์ละ2วันเป็นอย่างน้อย
  • ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักเช่น การจ๊อกกี้ การวิ่ง การว่ายน้ำ ให้ออกสัปดาห์ละ 75 นาที และมีการออกกำลังกายชนิดยกน้ำหนักสัปดาห์ละ2วันเป็นอย่างน้อย
  • หากไม่สามารถออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 30 นาทีก็สามารถแบ่งเป็นครั้งละ10นาท

ให้หยุดสูบบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มสองเท่าของคนไม่สูบ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง เกิดลิ่มเลือดได้งาย และเพิ่มคราบที่ผนังหลอดเลือด ควรจะเลิกสูบบุหรี่ งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้นคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากได้รับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบก็ได้รับความเสี่ยงเช่นกัน

การดื่มสุรา

การดื่มสุรามากจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองจึงแนะนำให้ดื่มไม่เกิน2 และ1 หน่วยสุราในชายและหญิงตามลำดับ

หนึ่งหน่วยสุราเท่าแอลกอออล์ 14 กรัม

  • เท่าเบียร์(แอลกอฮอล์ 5%) 12 ounces(360 cc)
  • เท่ากับไวน์ 1 แก้ว
  • สุรา 45 ซีซี

ควบคุมน้ำหนัก

ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยให้ดัชนีมวลกายประมาณ23

  • ลดพลังจากอาหารเหลือ 1,500 to 2,000 calories ต่อวัน
  • ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

โรคที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

โรคที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่มีความดันปกติถึงหนึ่งเท่าครึ่ง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การลดเค็มและการใช้ยาเพื่อคุมความดันโลหิต
    • ลดปริมาณเกลือเหลือ 1,500 milligramsต่อวัน ประมาณครึ่งช้อนชา).
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเช่น burgers, cheese, และ ice cream.
    • รับประทานผักและผลไม้วันละ6-8 ทัพพี รับประทานปลา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนแป้งใช้ข้าวกล้องแทนข้าวสวย ดื่มนมไขมันต่ำ
    • ออกกำลังกายวันละ 30นาที สัปดาห์ละห้าวัน
    • หยุดสูบบุหรี่

 

  • หัวใจเต้นสั่นพริ้ว พบบ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหัวใจเต้นสั่นพริ้วจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจและลอยไปอุดหลอดเลือดสมอง การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดสำหรับผู้ที่มีโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว
  • ไขมันในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ต้องคุมระดับคอเลสเตอรอลให้ต่ำกว่า 200 มก
  • โรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่ม 4 เท่า
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็งเกิดจากการสะสมคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบ และเกิดลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือด
  • หลอดเลือดแดงที่คอตีบ carotid artery stenosis จะมีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากสงสัยแพทย์จะตรวจ ultrasound หลอดเลือดการให้ Aspirin หรือยาต้านเกล็ดเลือดสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง

สำหรับความเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้

  • เพศ พบว่าพบโรคหลอดเลือดสมองในชายมากกว่าผู้หญิงเมื่ออายุน้อย แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะพบในหญิงมากกว่าชาย
  • อายุ พบโรคหลอดเลือดสมองมากเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี และทุก 10 ที่ปีความเสี่ยงของการเกิโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเป็นสองเท่า
  • ครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองสมาชิกในครอบครัวจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) มีโอกาศเกิดโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 17 ภายใน 90 วัน ส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองขาดเลือดชั่วคราวจะต้องได้รับยาป้องกันหลอดเลือสมอง

การป้องโรคหลอดเลือดสมองทุติยภูมิ(หลังจากป่วย)

โรคแทรกซ้อนหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง | ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอัมพาตและการป้องกัน | อาการของโรคหลอดเลือดสมอง | อาการเตือนหลอดเลือดสมอง | การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง | การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง | การเตรียมตัวก่อนออกจากโรงพยาบาล | โรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง | หลังจากโรคหลอดเลือดสมอง | การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

เพิ่มเพื่อน