ชีวิตหลังจากเป็นอัมพฤษ

สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน หรืออาจจะใช้เวลาเป็นปีในการฟื้นฟูสภาพ หรืออาจจะพิการตลอดชีวิต ดังนั้นการดูแล การทำกายภาพ การฟื้นฟูด้านจิตใจจะป้องกันการเกิดอัมพาตซ้ำ

การดูแลผู้ที่พักฟื้นจากโรคหลอดเลือดสมอง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญในการป้องกันการเป็นโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ



การทำกายภาพ

อัมพพาต

การทำกายภาพจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ป้องกันข้อติด ป้องกันแผลกดทับ ป้องกันสำลักอาหาร การทำกายภาพจะต้องมีการฝึกการพูด การฟื้นฟูกำลัง

การฝึกอาชีพ

  • การฟื้นฟูเรื่องการพูด การใช้ภาษา และความจำ เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้สมองบางส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการพูด การผสมคำและความจำ ทำให้ผู้ป่วยหงุดหงิด เนื่องจากไม่สามารถจะสื่อสาร กับคนรอบข้างได้ จึงต้องมีการฟื้นฟูเรื่องการใช้ภาษา
  • เรื่องกล้ามเนื้อและระบบประสาท ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมักจะอาการอ่อนแรงครึ่งซีก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการหกล้ม และความเสี่ยงเรื่องแผลกดทับ การฟื้นฟูสภาพอาจจะทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่นการเข้าห้องน้ำ การรับประทานอาหาร การแต่งตัวเป็นต้น
  • การฝึกการปัสสาวะ และการขับถ่าย ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอาจจะทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายมีปัญหา ดังนั้นจะต้องมีการฝึกผู้ป่วยให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • การรับประทานอาหารและการกลืน สำหรับผู้ที่หายจากโรคหลอดเลือดสมองต้องเฝ้าระวังเรื่องการกลืน หากมีอาการไอ หรือสำลักระหว่างรับประทานอาหาร แสดงว่ามีปัญหาในการกลืนให้งดอาหารและปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจจะสำลักอาหารทำให้เกิดโรคปอดบวม

สำหรับผู้ที่ฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมอง มักจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร การใช้ชีวิตประจำวันทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิดง่าย หากมีอาการดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยา

โรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง | ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอัมพาตและการป้องกัน | อาการของโรคหลอดเลือดสมอง | อาการเตือนหลอดเลือดสมอง | การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง | การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง | การเตรียมตัวก่อนออกจากโรงพยาบาล | โรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง | หลังจากโรคหลอดเลือดสมอง | การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

เพิ่มเพื่อน