การคัดกรองผู้ป่วย

 

ท่านที่เป็นหวัดในช่วงนี้และไปตรวจที่โรงพยาบาล ท่านอย่าเพิ่งรำคาญเจ้าหน้าที่ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่มาสัมภาษณ์ท่าน เพื่อที่จะคักกรองผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดมรณะออกจากผู้ป่วยอื่น คำถามที่เจ้าหน้าที่จะถามท่านคือ

  1. ไปประเทศที่มีการระบาดมาหรือไม่ ไปเมื่อไร
  2. ต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดมรณะหรือไม่ เมื่อไร
  3. มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดตามตัวหรือไม่
  4. มีอาการ ไอ เจ็บหน้าอก หายใจหอบหรือไม่

หากท่านมีประวัติดังกล่าวข้อ1-3 ก็สงสัยว่าท่านจะเป็นไข้หวัดมรณะ Suspected case เจ้าหน้าที่จะนำหน้ากากอนามัยมาสวมให้ท่าน เพื่อมิให้ท่านแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น เจ้าหน้าที่จะนำท่านไปตรวจอีกที่หนึ่งซึ่งจะเป็นห้องที่แยกจากผู้ป่วยทั่วๆไปโดยไม่ผ่านทางที่คนอยู่กันมาก หากจำเป็นต้องตรวจรังสีก็จะมีการบริการถึงห้องตรวจ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หาก x-ray พบว่าท่านเป็นปอดบวม Probable case ก็จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นปอดบวมซึ่งอาจจะเป็นไข้หวัดมรณะ แพทย์จะให้ท่านนอนห้องเดี่ยว แยกจากผู้ป่วยคนอื่น แต่จะไม่ติดเครื่องปรับอากาศ ผู้ที่เข้าออกห้องนี้จะเหมือนมนุษย์อวกาศ มีการสวมชุดคลุมศีรษะ มีแว่นตา หน้ากากชนิดพิเศษ ผู้ที่มาเยี่ยมท่านก็ไม่สามารถเยี่ยมได้อย่างใกล้ชิด

หากท่านไม่มีประวัติในข้อ1,2 ท่านก็จะเข้าไปตรวจเหมือนผู้ป่วยทั่วๆไป

เมื่อท่านสงสัยว่าตัวเองจะเป็นไข้หวัดมรณะ

แต่หากท่านสงสัยว่าตัวเองจะเป็นไข้หวัดมรณะ โดยมีประวัติไปประเทศเสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค และเกิดอาการเหมือนไข้หวัดมรณะ ให้ท่าสวมหน้ากากอนามัย แล้วแจ้งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ทันที อย่าไปในที่ชุมชน อย่าไปพบคนอื่น เมื่อไปโรงพยาบาลอย่าเข้าไปรอตรวจเหมือนคนอื่น ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทราบ เพื่อที่จะพาท่านไปตรวจยังที่เฉพาะเพื่อป้องกันการติดเชื้อสู่ผู้อื่น

เจ้าหน้าที่ที่อยู่จุดคัดกรองต้องสวมหน้ากาก N95 และต้องล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย

สำหรับผู้ป่วยที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาล

  1. ผู้ป่วยต้องนอนห้องแยกเดี่ยว และมีสิ่งประกอบดังต่อไปนี่
  • ห้องต้องมีความดันอากาศต่ำกว่าภายนอกnegative pressure roomsอากาศจากนอกห้องจะถ่ายเทเข้าสู่ในห้อง ประตูต้องปิดอยู่เสมอ
  • ห้องนั้นต้องมีเพียงเตียงเดียว และมีห้องน้ำในตัว
  • ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศที่เป็นแบบ central air
  1. หากไม่มีแอร์แยกส่วน ก็หาห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดีอาการที่ถ่ายเทต้องมากกว่าปริมาตราอากาศของห้อง 6-9 เท่าต่อชั่วโมง หน้าต่างที่ถ่ายเทต้องอยู่ห่างจากชุมชน
  2. องค์การอนามัยโรคแนะนำให้ป้องกันโรคติดต่อทั้ง air born ,doplet and contact tranmission
  3. การให้ยาพ่นขยายหลอดลม การให้ออกซิเจน การกระตุ้นให้ไอ สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้มีการขับเชื้อออกสู่สิ่งแวดล้อมมาก ควรจะทำเมื่อจำเป็น และต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เช่นอยู่ห้องแยก เจ้าหน้าที่มีหน้ากาก N95 และแว่นตา
  4. เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องได้รับการอบรมเรื่องการป้องกันโรคติดต่อ
  5. ควรจะจำกัดเจ้าหน้าที่สำหรับดูแลผู้ป่วยเพื่อสะดวกในการควบคุมการติดเชื้อ
  6. อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย ควรเป็นชนิดใช้แล้วทิ้ง หากต้องนำกลับมาใช้ให้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  7. ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้อง หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต้องสวมหน้ากาก N95 เจ้าหน้าที่บริเวณที่จะเคลื่อนย้ายไปต้องสวมหน้ากากป้องกันด้วย
  8. ไม่ควรให้ญาติเยี่ยม หากจะเข้าต้องสวมชุดป้องกันตัวเอง และเรียนรู้วิธีป้องกันโรคติดเชื้อก่อนเข้าเยี่ยม
  9. บุคลากรที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องให้เข้ามาบริเวณดังกล่าวเช่นนักเรียนแพทย์ นักเรียนพยาบาล
  10. ผู้ที่ทำงาน หรือเข้าเยี่ยมต้องสวมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
  • หน้ากากN95เป็นอย่างน้อย
  • ถุงมือ การใส่ถุงมือเป็นการป้องกันการติดเชื้อ แต่ต้องล้างมือทุกครั้งที่จะตรวจผู้ป่วยใหม่และหลังตรวจผู้ป่วย
  • แว่นตา
  • เสื้อคลุม
  • ผ้ากันน้ำ
  • รองเท้ากันเปื้อน
  1. ควรจะมีระบบป้องกันเชื้อกระจายสู่สิ่งแวดล้อม
  • ผู้ที่ปูผ้าปูที่นอนต้องสวมชุดป้องกัน ผ้าปูต้องเก็บในถุงที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
  • ต้องทำความสะอาดห้องด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดอุปกรณ์ทันที่มีสกปรก
  • มีระกำจัดน้ำเสียซึ่งสามารถทำลายเชื้อ

ไข้หวัดมรณะ | ไข้หวัดนก | ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่(หมู) | ไข้หวัดนก H7N9 | ไข้หวัดใหญ่