การป้องกันมาลาเรีย


ดังที่ทราบแล้วว่าหากเป็นมาลาเรียโดยเฉพาะชนิดพี.ปาซิฟารัม หากรักษาไม่ทันอาจจะทำให้เกิดซีด โรคไตวาย โคมาและเสียชีวิต การป้องกันมาลาเรียดีที่สุดคือไม่ไปในแหล่งระบาดของโรค หากจำเป็นต้องไปก็ต้องป้องกันยุงมิให้กัด สุดท้ายก็ให้รับประทานยาป้องกันมาลาเรีย

ผู้ที่เป็นมาลาเรียจะเกิดอาการหลังจากถูกยุงกัดไปแล้ว 7 วัน ดังนั้นผู้ที่มีไข้สัปดาห์แรกหลังจากเข้าป่าไม่น่าจะเป็นมาลาเรีย สำหรับผู้ที่ออกจากป่าไปแล้ว 1 ปีหากมีอาการไข้สูงต้องบอกแพทย์ว่าเคยเข้าป่า

วิธีป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียมีด้วยกัน 3 แนวทาง

แหล่งเสี่ยงต่อมาลาเรีย

ประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเฉพาะเขตป่าเขาและมีน้ำไหล เขตชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ลาว และกัมพูชาก็พบมากและมักจะเป็นเชื้อดื้อยาดังนั้นหากจะเขตที่มีมาลาเรียชุกชุมในประเทศไทยหรือประเทศเพื่อนบ้านเช่นพม่า( พื้นที่ชนบท) เขมร(ทุกพื้นรวมทั้งนครวัดและนครทมที่ยกเว้นกรุงพนมเปญ) ติมอตะวันออก(ทุกพื้นที่) อินโดนีเซีย(เขตชนบทรวมทั้งบูโรพุทธ เกาะบาลีและตัวเมืองจะปลอดภัย) ลาว(ในเวียงจันทร์ปลอดภัย) เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินพื้นที่ปลอดภัยจะอยู่ในเมือง

ดังนั้นหากจะไปในเขตพื้นที่ดังกล่าวจะต้องป้องกันมาลาเรีย

วงจรชีวิต >แหล่งระบาด >ลักษณะทางคลินิก >การวินิจฉัย >การรักษา >โรคแทรกซ้อน >การป้องกัน > มาลาเรียขึ้นสมอง

เพิ่มเพื่อน