หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ลักษณะทางคลินิคของมาลาเรีย


ระยะฟักตัวโดยทั่วไปใช้เวลา 10-14 วันคือระยะเวลาตั้งแต่ถูกยุงกัดจนกระทั่งเกิดอาการของมาลาเรีย ดังนั้นหากเกิดไข้หลังจากเข้าป่าในสัปดาห์แรกไม่น่าจะเกิดจากเชื้อมาลาเรียนอกจากนั้นไข้ที่เกิดจากเชื้อ พี.ฟาลซิปารัมจะเกิดทุก 2 วัน ส่วนไข้ที่เกิดจากเชื้อ พี.ไวแวกซ์จะเกิดทุก 3 วัน

อาการและอาการแสดงโรคมาฃาเรีย

ในระยะ 2-3 วันแรก ไข้ยังจับไม่เป็นเวลา ประมาณปลายสัปดาห์ที่หนึ่งจะเริ่มจับไข้เป็นเวลา 2-3 วันแล้วแต่ชนิดของเชื้อ อาการของไข้จะมี 3 รยะ คือ

อาการสำคัญของมาลาเรีย

  • ไข้มากกว่า 40 องศา
  • หนาวสั่น
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • เหงื่อออก

ภาวะแทรกซ้อนของมาลาเรีย

ผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียชนิด พี.ฟาลซิปารัมอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่ง หรือเกิดพร้อมกันหลายระบบก็ได้ ภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดในคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและได้รับการรักษาไม่เพียงพอ ภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดเมื่อมีการติดเชื้อมาลาเรียอย่างรุนแรง คือเม็ดเลือดแดงมีการติดเชื้อมากกว่า 5 % และร้อยละ10ของเม็ดเลือดแดงที่มีการติดเชื้อจะมีเชื้อมาลาเรียมากกว่า 2 ตัว

 

ภาวะแทรกซ้อนของมาลาเรียที่พบได้คือ

หรือมาลาเรียที่มีอาการช็อค อาการนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมักจะร่วมกับอาการ หมดสติ หน้าซีด ตาลึก เหงื่อออก ตัวเย็น หายใจหอบลึก ชีพขจรเร็ว แรงดันเลือดต่ ท้องร่วง  อาเจียน ภาวะนี้เกิดจากปริมาณเลือดที่ไหลเวียนลดลงอย่างทันที เนื่องจากมีภาวะเลือดข้น

ผู้ป่วยจะเกิดอาการหายใจวายทันที มีอาการหอบเหนื่อย มีอาการเขียวการถ่ายภาพรังสีทรวงอกจะพบมีการคั่งของเลือดในปอด นอกจากนั้นยังพบว่ามีการติดเชื้อในปอดเพิ่มขึ้น

มีอาการตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียนธรรมดาจนปวดมาก ท้องเดิน อาจจะมีมากเหมือนอหิวาตกโรค อุจาระอาจจะเป็นมูกหรือเลือดซึ่งเชื่อว่าเกิดจากผนังลำไส้ขาดออกซิเจน

อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับตับ พบได้บ่อยมาก ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองวันที่ 3-4 ของไข้ ตับโตกดเจ็บสมรรถภาพของตับจะเสื่อมลง เมื่อหายแล้วการทำงานของตับจะกลับสู่ปกติ

พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการมากและมีอาการช็อค แต่บางรายก็ไม่มีอาการช็อค อาการที่สำคัญคือผู้ป่วยจะปัสสาวะน้อยลงจนถึงไม่มีเลย ปัสสาวะน้อยกว่า 500 มล.ต่อวัน การทำงานของไตเสื่อมลง มีอาการของไตวายหากรักษาไม่ทันอาจจะมีโรคแทรกซ้อนทำให้เกิดน้ำท่วมปอด

หมายถึงการจับไข้อยู่นานหรือมีการจับไข้กลับไปกลับมาซ้ำหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเชื้อใหม่หรือเชื้อเก่าที่ยังคงเหลือค้างอยู่ในร่างกาย ส่วนมากมักเป็นคนที่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อมาลาเรียอยู่บ้าง อาการไข้มักจะไม่นาน อาการอาจจะเหมือนมาลาเรียเฉียบพลันหรือไม่ก็ได้ อาจจะมีไข้แต่ไม่สูงมาก ปวดหัว ปวดท้อง อ่อนเพลีย หายเร็วเมื่อได้รับการรักษา

วงจรชีวิต >แหล่งระบาด >ลักษณะทางคลินิก >การวินิจฉัย >การรักษา >โรคแทรกซ้อน >การป้องกัน > มาลาเรียขึ้นสมอง

เพิ่มเพื่อน