ชนิดของกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

หลอดแดงเมื่อมีอายุมากขึ้น และหากมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ ก็จะทำให้เกิดคราบไขมันมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดที่เรียกว่า Plaque เมื่อคราบหนาตัวขึ้นก็จะทำให้หลอดเลือดตีบมากขึ้น จนกระทั่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอในขณะที่ออกกำลังกายจะเกิดอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกกำลังกาย พักสักครู่ก็จะหายปวดเรียก Angina pectoris

หากมีภาวะที่ราบ Plaque ฉีกหรือหลุด เกล็ดเลือดก็จะจับกลุ่มเกาะบริเวณที่คราบหลุดทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งหากอุดไม่ถึงกับตันก็จะเกิดโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด Non ST Elevation (NSTEMI ) แต่หากลิ่มเลือดอุดตันก็จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST Elevation (STEMI ) กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบ่งตามความรุนแรงออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่

อาการเจ็บหน้าอกเรื้อรัง

หลอดเลือดตีบประมาณ50 %ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาเหนื่อหรือออกกำลังกาย กล้ามเนื้อหัวใจยังคงดีอยู่ อ่านอาการเจ็บหน้าอกที่นี่

อาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina

เนื่องจากอาการและสิ่งตรวจพบ จะเหมือนกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แบบ Non ST Elevation MI ต่างกันที่ค่าผลเลือดปรกติ อ่าที่นี่

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ Non ST Elevation MI

เป็นโรคที่หลอดเลือดหัวใจตีบจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายไปบางส่วน อ่านกล้ามเนื้อหัวใจตายจากเหตุขาดเลือดชนิด NSTEMI ที่นี่

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ ST Elevation MI

เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่เกิดจากคราบหลุดไปอุดหลอดเลือดเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายตลอดความหนา จึงมีความรุนแรงค่อนข้างจะมาก อ่านกล้ามเนื้อหัวใจตากจากเหตุขาดเลือดเฉียบพลัน



แบ่งตามตำแหน่งของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ

  1. Rigrt coronary artery
  2. Left main coronary artery ซึ่งจะแตกออกเป็นสองแขนงได้แก่
  • Left anterior ascending
  • left circumflex artery

เราจะเรียกกล้ามเนื้อหัวใจตามตำแหน่งที่อยู่ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านหน้า(anterior), ด้านล่าง(inferior), ด้านข้าง(lateral), ส่วนปลาย(apical), ผนังกั้นหัวใจ(septal), ด้านหลัง(posterior), และหัวใจห้องขวา(right-ventricular infarctions) และอาจจะมีเลื่อมกันเช่น ด้านหน้าค่อนมาทางล่าง( anteroinferior), ด้านหน้าเยื้องมาทางด้านข้าง(anterolatera,).เป็นต้น

เส้นเลือดที่อุดตันก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจที่เลี้ยงโดยเส้นเลือดนั้น ขาดเลือดไปเลี้ยงเช่น

  • หากมีการอุดหลอดเลือด Left anterior ascending (ตามรูปคือเส้นเลือดหมายเลข 2 วิ่งลงมา) จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจด้านหน้า(anterior wall) ขาดเลือด
  • หากมีการอุดหลอดเลือด left circumflex artery (ตามรูปคือเส้นเลือดหมายเลข 2 วิ่งไปด้านข้าง)จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ
  • หากมีการอุดหลอดเลือด Rigrt coronary artery (ตามรูปคือเส้นเลือดหมายเลข 1)จะทำให้กล้ามเนื้อส่วน ด้านล่าง(inferior) และด้านหลัง(posterior) ขาดเลือด
  • หากมีการอุดหลอดเลือด Left main coronary artery (ตามรูปคือเส้นเลือดหมายเลข 2 ก่อนที่หลอดเืลือดจะแยก)จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตั้งแต่ด้านหน้า ด้านข้างขาดเลือดเป็นบริเวณกว้าง

แบ่งตามความลึกของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเราเรียก Coronary artery จะอยู่บนกล้ามเนื้อหัวใจด้านนอกและแตกแขนงหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจด้านใน ดังนั้นกล้ามเนื้อหัวใจด้านในจะมีโอกาสขาดเลือดไปเลี้ยงสูงกว่ากล้ามเนื้อหัวใจด้านนอก เราแบ่งตามความลึกของการขาดเลือดได้สองแบบคือ

  1. Subendocardial infarction หมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้านใน 1/3 มีการขาดเลือดไปเลี้ยง
  2. Transmural infarction หมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจตั้งแต่ผิวด้านนอกจนกระทั้งกล้ามเนื้อด้านในขาดเลือดทั้งหมด

ทั้งสองภาวะเราแยกกันโดยใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากคลื่นไฟฟ้าหัวใจมี Q wave แสดงว่าเป็น Transmural infarction

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เพิ่มเพื่อน