เฮปาริน

 

เฮปารินออกฤทธิ์ต้านทรอมบินทางอ้อมซึ่งถูกใช้รักษาผู้ป่วย ACS กลุ่ม UA และ NSTEMI ร่วมกับการฉีดยาละลายลิ่มเลือด และร่วมกับแอสไพรินและยาต้านเกล็ดเลือด อื่นๆอย่างกว้างขวาง  เฮปารินมีฤทธิ์กระตุ้นเกล็ดเลือดและทำให้เกิดเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)ได้ด้วย เฮปารินแบบเก่าซึ่งเป็นชนิดโมเลกุลใหญ่ (UFH) มีข้อด้อยหลายประการรวมทั้งการออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วย แต่ละคนแตกต่างกันคาดเดายาก ต้องให้ทาง IV เท่านั้น และต้องเจาะเลือดดูการแข็งตัวของเลือด aPTT บ่อย เมื่อใช้เฮปารินชนิด UFH ร่วมกับการฉีดยาละลายลิ่มเลือดรักษา STEMI แนะนำให้ฉีด bolus dose ในขนาด 60 U/กก. ตามด้วยการให้แบบหยดทางหลอดเลือดดำในอัตรา 12 U/กก.ในผู้ป่วยน้ำหนักไม่ถึง 70 กก.ควรให้ bolus ไม่เกิน 4000 U แล้วหยดต่อ 1000 U/ชม.)195 โดยรักษาระดับ aPTT ไว้ที่ 50-70 วินาที ด้วยเหตุที่เฮปารินแบบเก่ามีข้อจำกัดมากนี้ จึงได้มีการพัฒนาเฮปารินชนิดโมเลกุลต่ำ(LMWH)ขึ้นมา



เฮปารินสองแบบ

ได้แก่

  1. เฮปารินแบบเก่าเป็นชนิดโมเลกุลหนักเรียกว่า unfractionated heparin ( UFH)
  2. ส่วนแบบใหม่เป็นชนิดโมเลกุลเล็ก เรียกว่า low molecular weight heparin( LMWH)

พบว่าผู้ป่วย UA หรือ NSTEMI ที่ใด้เฮปารินชนิดโมเลกุลต่ำใน 24 – 36 ชั่วโมงแรกหลังเริ่มมีอาการ จะ ได้ผลดีในแง่อัตราการตาย การกลับมาเจ็บหน้าอกซ้ำ ดีกว่าผู้ป่วยที่ใช้เฮปารินแบบเก่าซึ่งเป็นชนิดโมเลกุลหนัก 

สรุปการรักษาผู้ป่วย UA/NSTEMI ที่ห้องฉุกเฉินโดยใช้เฮปารินชนิดโมเลกุลเล็ก (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง enoxaparin) ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือดเช่นแอสไพรินดีกว่าการใช้เฮปารินโมเลกุลหนัก ยกเว้นในกรณีที่คาดหมายว่าจะทำ PCI หรือผ่าตัดใน 24-36 ชั่วโมงหลังเกิดอาการเจ็บหน้าอก ควรใช้เฮปารินชนิดโมเลกุลหนักดีกว่า การสลับเปลี่ยนเฮปารินแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่งในระยะฉุกเฉินไม่ควรทำเพราะ อาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกได้มากขึ้น

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดด้วยยา

เพิ่มเพื่อน