โรคแทรกซ้อนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคแทรกซ้อนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สำคัญ

ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยพบว่าร้อยละ 50 เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล เนื่องจากหัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนผู้ป่วยอีกร้อยละ 10-15 เสียชีวิตในโรงพยาบาล เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้นหากเราทราบเรื่องโรคแทรกซ้อน จะทำให้เราหาทางป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน เราแบ่งโรคแทรกซ้อนออกเป็น

  1. โรคแทรกซ้อนในระยะแรก
  2. โรคแทรกซ้อนที่เกิดหลังออกจากโรงพยาบาล

โรคแทรกซ้อนในระยะแรก

ภาวะช็อกจากหัวใจ (Cardiogenic Shock)

หมายถึงภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายวาย หรือล้มเหลวอย่างรุนแรงจนกระทั่งหัวใจ ไม่สามารถบีบตัวไปเลี้ยงอวัยวะได้อย่างเพียงพอ เกิดการคั่งของน้ำในปอด ความดันโลหิตต่ำ เกิดอาการของอวัยวะที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอ เช่ยผิวมีเหงื่อออก ซึมลงหรือกระสับกระส่าย

การรักษา

ที่สำคัญที่สุดคือการ ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังหลอดเลือดหัวใจที่อุดตันให้เร็วที่สุด ซึ่งมีวิธีการคือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดทำ bypass การรักษาอื่นๆได้แก่ ยาขยาดหลอดเลือดส่วนปลาย ยาเพิ่มความดันโลหิต เป็นต้น หากเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากประมาณร้อยละ90

กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาตาย (Right ventricular infartion)

ภาวะนี้พบไม่บ่อย เนื่องจากหัวใจห้องล่างขวาต้องการอกซิเจนน้อยกว่าห้องล่างซ้าย พบว่าผู้ป่วยที่ห้องใจห้องล่างซ้ายตายจะมีหัวใจห้องล่างขวาตายร่วมด้วยร้อยละ 20 อาการที่สำคัญคือความดันโลหิตต่ำ ไม่มีการคั่งของน้ำในปอด เส้นเลือดที่คอโป่ง

กล้ามเนื้อหัวใจห้องขวาขาดเลือด RV Infarction

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาตายหรือขาดเลือด (RV infarction or ischemia) เกิดขึ้นได้ถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจด้านล่าง inferior wall MI แพทย์ควรสงสัยกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาตายในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจด้านล่าง ที่มีความดันเลือดตก แต่ฟังปอดไม่มีภาวะปอดคั่งน้ำ



การวินิจฉัย

ควรทำคลื่นไฟฟ้า  right-sided ECG หรือ 15-lead ECG ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจด้านล่าง inferior wall MI หากพบมี ST-elevation มากกว่า 1 mm ใน in lead V4R แสดงว่าน่าจะมี RV infarction และเป็นตัวพยากรณ์ที่ค่อนข้างแม่นยำว่าจะมีภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายสูง ขึ้น  อัตราตายในรพ.ของผู้ป่วย RV infarction ที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจห้องขวาวาย RV dysfunction มีประมาณ 25% - 30% ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรได้รับการรักษาด้วยวิธีเปิดหลอดเลือด การฉีดยาละลายลิ่มเลือดลดการเกิด RV dysfunction ลงได้ PCI เป็นวิธีรักษาผู้ป่วย RV infarction ด้วยอีกวิธีหนึ่ง และควรเลือกวิธีทำ PCI เป็นวิธีหลักกรณีมีภาวะช็อกร่วมด้วย ผู้ป่วยช็อกที่มี RV failure มีอัตราตายใกล้เคียงกับภาวะช็อกจาก LV failure. 
ผู้ป่วยที่มกล้ามเนื้อหัวใจด้าวขวาวาย RV dysfunction และกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวาตาย RV infarction ต้องอาศัยการให้น้ำเกลือเข้าไปจึงจะได้ cardiac output พอเพียง ดังนั้นจึงไม่ควรให้ยายาขยายหลอดเลือดไนเตรท ยาขับปัสสาวะ และยาขยายหลอดเลือดอื่นๆเช่น ACE inhibitors เพราะอาจทำให้ความดันเลือดตกรุนแรงได้ เมื่อเกิดความดันเลือดตกในกรณีนี้ ควรรักษาด้วยการให้ IV fluid แบบ bolus.

ภาวะหัวใจห้องล่างล้มเหลว (Acute Left ventricular failure )

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยหลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่พบแพทย์ช้าและไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดอย่างทันเวลา กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ อาการที่สำคัญคือ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบ แน่หน้าอก หายใจลำบากนอนราบไม่ได้เนื่องจากน้ำคั่งในปอด ความดันโลหิตมักจะปกติ

การรักษาแพทย์จะให้ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด ยาในกลุ่ม Angiotensin Converting Inhibitor

ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว Acute Mitral Regurgitation

ลิ้นหัวใจของคนจะมีกล้ามเนื้อชื่อ papillary muscle ยึดลิ้นไว้กับกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายกล้ามเนื้อ papillary muscleอ ก็อาจจะตายทำให้เกิดฉีกขาดการฉีกขาดนี้มักจะเกิดภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายใน 2-7 วันและเกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลันผู้ป่วยจะมีอาการของหัวใจวายน้ำท่วมปอด ต้องรักษาโดยการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจทันที

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายกล้ามเนื้อนั้นจะฉีกขาดเนื่องจากแรงดันของเลือดมักจะเกิดภายในวันที่5หลังเกิดอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าทันทีร่วมกับความดันโลหิตต่ำลงอาจจะวัดความดันโลหิตไม่ได้ อัตราการเสียชีวิตสูงมาก รักษาโดยการผ่าตัด

หัวใจเต้นผิดปกติ

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายส่วนของกล้ามเนื้อนั้นอาจจะสร้างกระแสไฟฟ้ามารบกวนการทำงานของหัวใจ นอกจากนั้นการที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อยลงก็จะเป็นเหตุให้หัวใจเต้นผิดปกติ การเต้นผิดปกติบางชนิดต้องให้การรักษาทันทีเพราะช้าจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เช่น Ventricular fibrillation, Ventricular tachycardia การเต้นผิดปกติบางอย่างอาจจะไม่เสียชีวิตทันทีแต่ต้องควบคุมการเต้นเพื่อให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้อย่างเพียงพอเช่น หัวใจเต้นเร็ว หรือช้าเกินไปเป็นต้น

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ Post Infartion Pericarditis

มักจะเกิดหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้ว 24-96 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกซึ่งไม่เหมือนกับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรักษาใช้ยาแก้ปวด

ลิ่มเลือดในหัวใจ

ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้างจะมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดในหัวใจร้อยละ 20 และมีโอกาสที่ลิ่มเลือดจะลอยไปอุดหลอดเลือดในสมองทำให้เกิดอัมพาตหรืออวัยวะอื่นๆได้ การรักษาต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด

อ่านเรื่องโรคแทรกซ้อนหลังจากออกจากโรงพยาบาล

เพิ่มเพื่อน