ตาเขหรือตาเหล่


ตาของคนปกติจะทำงานร่วมกันเสมอ เมื่อมองซ้ายหรือขวาก็จะไปด้วยกันเสมอรวมทั้งการมองขึ้นหรือมองลง ตาเหล่หรือตาเขหมายถึงการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติไม่ได้มองจุดเดียวกันทั้งสองตา

ชนิดของตาเหล่

เวลามองตรงไปข้างหน้าในคนปกติ ตาทั้ง 2 ข้างจะต้องอยู่ตรงกลาง แต่เมื่อตาสองข้างเวลามองตรง

ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก ซึ่งอาจเฉออกด้านไหนก็ได้ เช่น เฉออกมาที่หัวตา หรือ เฉขึ้นบน เรียกภาวะ หรือ โรคนี้ว่า โรค/ภาวะ ตาเหล่ หรือ ตาเข (Strabismus)


ตาเข

  • ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน เรียกภาวะนี้ว่า ตาเหล่เข้าใน (Esotropia) เป็นตาเหล่ที่พบบ่อยที่สุด
  • ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก เรียกว่า ตาเหล่ออกนอก (Exotropia)
  • ตาเหล่ขึ้นบน (Hypertropia)
  • ตาเหล่ลงล่าง (Hypotropia)

นอกจากนั้นตาเหล่อาจจะเป็นชั่วคราว Intermittent หรือตาเหล่ถาวร Constant ผู้ป่วยที่ตาเหล่ชั่วคราวมักจะเป็นมากชั่วที่ตาอ่อนล้า เช่นตอนสายของวัน หรือขณะป่วย หรือบางรายผลัดกันเข บางครั้งเป็นตาขวา บางครั้งเป็นตาซ้ายเรียกว่า alternate strabismus

มีอีก 2 สภาวะที่คล้ายตาเหล่มาก ได้แก่ ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria) และตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)

ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria)

ตาเหล่ซ่อนเร้น บางคนเรียกว่า ตาส่อน เป็นภาวะที่ถ้าลืมสองตา ตาทั้ง 2 ข้างจะอยู่ตรงกลางดี เวลาที่ร่างกายอ่อนเพลียหรือเอาอะไรมาบังตาข้างหนึ่งเสีย ตาข้างที่ถูกบังจะเบนออกจากตรงกลาง แต่ถ้าเอาที่บังตาออก ตาข้างนั้นจะกลับมาตรงได้ใหม่ อาจเรียกว่า ความต้องการในการมองเห็นภาพเป็นภาพเดียวกันมีสูง สามารถบังคับให้ตาที่เขกลับมาตรงได้ ภาวะนี้มักจะไม่มีปัญหาอะไร อาจเป็นเหตุให้มีอาการเมื่อยตา ตาล้า ง่ายกว่าคนทั่วไปเวลาใช้สายตามากๆ ซึ่งแก้ไขได้โดยการฝึกกล้ามเนื้อตา

ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)

สำหรับตาเหล่เทียม พบในเด็กที่สันจมูกกว้างยังแบนราบกับผิวหนังทำให้เก็นตาขาวน้อย และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงแลดูคล้ายตาเหล่เข้าใน เมื่อเด็กโตขึ้นสันจมูกมีดั้งสูงขึ้น ภาวะคล้ายตาเหล่นี้จะหายไป

สาเหตุของโรคตาเหล่ที่พบบ่อย

สาเหตุของตาเหล่ยังไม่ทราบแน่ชัด

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่นสายตายาว สายตาสั้น หรือตามัว จะทำให้มีการปรับตัวเกิดตาเหล่
  • โรคประจำตัวของเด็กเช่น  cerebral palsy, Down syndrome, hydrocephalus และเนื้องอกสมอง brain tumor ก็พบว่ามีตาเหล่มาก
  • สำหรับผู้ใหญ่พบว่าสาเหตุของตาเหล่ได้แก่ การเป็นอัมพาต อุบัติเหตุ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

อาการของตาเหล่

  • มองเห็นตาเฉออกชัดเจน
  • ตาไม่เคลื่อนไหวไปในแนวทางเดี่ยวกัน
  • กระพริบตาบ่อยโดยเฉพาะแสงจ้าๆ
  • เอียงคอเวลามอง
  • กะระยะผิด
  • เห็นภาพซ้อน

การวินิจฉัยโรคตาเหล่

การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย หากตาเหล่ชัดเจนก็สามารถเห็นได้ด้วยการตรวจตา แต่ในรายที่ไม่ชัดอาจจะต้องการตรวจเพิ่มเติม

  1. การตรวจการมองเห็นและการตรวจสายตา
  2. การตรวจ  light reflex testing โดยการให้มองแหล่งกำเนิดแสงที่วางห่างออกไปประมาณ 3 ฟุต ให้ตรวจดูแสงที่ม่านตา หากแสงตกที่บริเวณม่านตาสมดุลสองข้างแสดงว่าไม่มีตาเหล่ หากแสงตกไม่สมดุลแสดงว่ามีตาเหล่ ระยะทางที่ไม่สมดุลจะสอดคล้องกับความรุนแรงของตาเหล่
  3. การตรวจ cover testing โดยการให้มองนิ่งไปที่วัตถุ และนำกระดาษมาบังตาข้างหนึ่ง ให้สังเกตตาที่มอง หากมีการเคลื่อนที่ของตาที่มองเมื่อมีการบัง แสดงว่ามีตาเหล่
  4. การตรวจ prism and cover testing prism เป็นก้อนสามเหลี่ยมมีหน้าที่หัเหแสง เมื่อนำมาใช้กับการตรวจ 2 ก็จะบอกความรุนแรงของตาเหล่

รักษาผู้ป่วยตาเหล่

เป้าหมายของการรักษาคือแก้ไขความพิการเพื่อให้การมองเห็นดีขึ้นการรักษาขึ้นกับสาเหตุ เช่นการใส่แว่นตา การบริหารกล้ามเนื้อตา การใช้แท่ง prism การผ่าตัดซึ่งจะทำหลังจากการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล

  • แก้ปัญหาเรื่องสายตา เช่นตาสั้น ตาเอียง สายตายาว ก่อนที่จะเกิดตาเหล่
  • ใช้แว่นตา prism การบริหารกล้ามเนื้อตาในการแก้ไข
  • การผ่าตัด

เพิ่มเพื่อน