ผลเสียจากโรคอ้วน

มีการศึกษาพบว่าดัชนีมวลกายที่เหมาะอยู่ระหว่าง 21-25 เนื่องจากอัตราการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจต่ำ

และเมื่ออ้วนมากขึ้นก็จะเกิดโรคมาก

โรคอ้วนทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง

เจ็บหน้าอก

โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งบางชนิด โรคเบาหวาน และโรคถุงน้ำดี เป็นต้น

  • โรคหัวใจขาดเลือด โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และยังเป็นสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการตายจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนอ้วน ยิ่งอ้วนมากยิ่งมีโอกาสเป็นโรคหัวใจเพิ่ม พบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก/ตารางเมตร จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงดัชนีมวลกาย 25-29 กก/ตารางเมตรก็จะเกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนจะมีโรคความดันโลหิตสูงกว่าคนปกติ 2.9 เท่า ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นตามระยะที่เป็นโรคอ้วน เมื่อลดน้ำหนักระดับความดันจะลดลงด้วย พบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ตารางเมตร จะเป็นความดันโลหิตสูงเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 22
  • ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมัน triglyceride ,LDL สูงส่วนไขมันที่ดีได้แก่ HDL จะต่ำ
  • โรคหลอดเลือดสมอง พบว่าหากอ้วนลงพุงจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30


  • โรคมะเร็งบางชนิด ได้แก่มะเร็งที่พึ่งฮอร์โมนในผู้หญิงได้แก่ โรคมะเร็งมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม เจาะเลือดส่วนในผู้ชายได้แก่มะเร็งลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่นอกจากนั้นยังพบว่ามะเร็งทางเดินอาหารเพิ่มขึ้นเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และโรคมะเร็งถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่สองเพิ่มขึ้น 40 เท่าในคนอ้วน เมื่อดัชนีมวลกายลดลงความเสี่ยงจะลดลงด้วย โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนตั้งแต่เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • โรคถุงน้ำดี คนอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อนิ่ว 3-4 เท่าและความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่ออ้วนลงพุง
  • ไขมันพอกตับ
  • ภาวะอ้วนลงพุง
  • หัวใจวาย
  • โรคนอนกรน

โรคอ้วนที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ 

ภาวะดื้ออินซูลิน โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินโดยเฉพาะอ้วนลงพุง พบภาวะนี้ได้บ่อยในผู้ที่ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กก/ตร.ม.

ผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ พบว่าคนอ้วนเป็นหมันและปวดประจำเดือนได้บ่อยกว่าคนปกติ คนอ้วนขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง แท้งบุตรได้บ่อย

โรคอ้วนที่สัมพันธ์กับสุขภาพ

  • ข้อเสื่อม น้ำหนักที่มากเกินไปกดลงบนข้อทำให้เกิดข้อเสื่อมเร็วขึ้น ปวดหลัง
  • กรดยูริกในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคเก๊าได้บ่อยในคนอ้วน
  • โรคทางเดินหายใจ ผู้อาจจะหยุดหายใจขณะหลับเป็นพักๆที่เรียกว่า sleep apnea syndrome ทำหลับไม่สนิท และมักเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถ
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 
  • โรคเส้นเลือดขอด

ผู้ชายอายุมากกว่า75 ปีผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี การลดน้ำหนักจะไม่ทำให้อัตราการตายลดลง