การคัดกรองหาบุคคลที่มีภาวะไขมันผิดปกติในเลือด

ภาวะไขมันผิดปกติในเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะฉะนั้นต้องทราบว่าควรจะเริ่มตรวจหาภาวะไขมันผิดปกติในเลือดในประชากรกลุ่มใด เมื่ออายุเท่าใด และตรวจอะไรบ้าง มีรายละเอียดดังนี้

เมื่อไรจึงจะเจาะเลือดตรวจหาไขมันในเลือด

    เจาะเลือด

ประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการตรวจประเมินระดับไขมันในเลือด ได้แก่

  1. ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
  2. ผู้ชายอายุมากกว่า 35 ปี หรืออายุ 25 ปีที่มีปีจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองควรจะเจาะเลือดตรวจไขมัน
  3. ผู้หญิงอายุมากกว่า 45 ปี หรืออายุ30-35 ปีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรจะเจาะเลือดตรวจไขมัน
  4. ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไปนี้
  • ผู้ปายอายุมากกว่า 40 ส่วนผู้หญิงอายุมากกว่า 50 หรือเมื่อหมดประจำเดือน
  • เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2
  • ความโลหิตสูงมากกว่า140/90 มม.ปรอท หรือได้รับยาลดความดันโลหิตอยู่
  • ประวัติครอบครัวคือ พี่น้องหรือพ่อแม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยผู้ชายเป็นเมื่ออายุ<55 ปี ผู้หญิงเป็นเมื่ออายุ <65 ปี
  • ผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุงหรือภาวะน้ำหนักเกิน (BMI >25 kg/m2)
  • เป็นโรคเรื้อรังบางชนิดที่พบว่าอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสูง เช่น โรครูมาตอยด์ โรค SLE Psoriasis
  • ผู้ที่ไตเสื่อมอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60
  • ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีหลักฐานว่าไขมันสูงในครอบครัว
  • สูบบุหรี่
  1. ผู้ที่ตรวจร่างกายพบลักษณะที่บ่งชี้ว่าระดับไขมันผิดปกติในเลือดได้แก่ corneal arcus, เอ็นร้อยหวายหนาและแข็ง, tendon xanthoma, xanthelesma, palmar xanthoma, eruptive xanthomaอ่านเรื่องการเจาะเลือดตรวจไขมันในเลือด

การตรวจไขมันในเลือด

การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือด

1งดอาหารประมาณ 9-12 ชั่วโมง โดยให้ดื่มน้ำเปล่าได้

2รับประทานอาหารดังเช่นที่รับประทานอยู่ประจำ เป็นระยะ 3 สัปดาห์ก่อนการเจาะเลือด

3ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่ป่วยหนัก เช่น ได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง, ผู้ป่วยหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อ การตรวจไขมันในเลือดอาจได้ผลที่คลาดเคลื่อน ควรตรวจเมื่อภาวะดังกล่าวหายไปแล้ว 12 สัปดาห์

4ผู้ป่วยที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) ควรเจาะภายใน    

12 ชั่วโมงแรก หรือ 6 สัปดาห์หลัง acute myocardial infarction จึงจะได้ค่าที่เป็นจริง อย่างไรก็ตาม  

ผลที่เจาะได้ในระยะเฉียบพลันแต่พ้นระยะ 12 ชั่วโมงยังมีประโยชน์ ถ้าหากระดับไขมันสูงกว่ามาตร

 ฐาน แสดงว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันสูงในเลือดจริง สามารถให้การรักษาได้โดยไม่ต้องรอเป็นระยะเวลาถึง    

6 สัปดาห์

5ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดทันที(ภายใน 48 ชั่วโมง) หรือ  

12 สัปดาห์หลังจากนั้น

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจต่ำควรตรวจไขมันทุก 5 ปี