ข้อบงชี้ในการฉีดอินซูลิน ชนิดของอินซูลิน การดูดซึมของอินซูลิน วิธีการฉีดอินซูลิน

อินซูลิน

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนทำหน้าที่นำน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงเกินไป ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีปัญหาเรื่องอินซูลินไม่พอที่จะควบคุมน้ำตาล จึงมีการผลิตอินซูลินขึ้นมา

อินซูลินที่ผลิตขึ้นมาจะมีทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว ออกฤทธิ์ปานกลาง และออกฤทธิ์นาน การเลือกใช้อินซูลินอย่างถูกต้องจะควบคุมโรคเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น

insulin แบ่งได้เป็นกี่ชนิด

แบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์

  1. ออกฤทธิ์เร็ว Rapid acting หรืออินซูลินน้ำใส ก่อนใช้ไม่ต้องคลึงขวดได้แก่ เช่น Humalog( insulin lispro),novolog(insulin aspart),apidra ( insulin glulisine) อินซุลินชนิดนี้เมื่อฉีดแล้วจะออกฤทธิ์ทันทีดังนั้นควรจะฉีดยาก่อนอาหารไม่เกิน 15 นาทีหรืออาจจะฉีดหลังอาหารในเด็กซึ่งไม่สามารถทราบปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือในผู้ป่วยเบาหวานที่ระบบประสาทอัตโนมัติเสียทำให้กระเพาะอาการไม่ทำงาน ไม่สามารถคาดการณืเรื่องการดูดซึม เนื่องจากยานี้ออกฤทธิ์สั้นระดับยาจึงไม่พอที่จะคุมระดับน้ำตาลมื้อต่อไป
  2. Short acting insulinได้แก่ Regular insulin [actrapid,humalin-R ]เริ่มออกฤทธิ์ 30-45 นาทีหลังฉีด ยาออกฤทธิ์สูงสุด 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และอยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมงหลังฉีด ยานี้จะมีระับยาที่สามารถคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารมื้อต่อไป
  3. ออกฤทธิ์ปานกลาง Intermediate-Acting Insulin หรือชนิดน้ำขุ่นแบ่งออกเป็นสองชนิด
  • NPH insulin [neutral protamine hagedorn insulin] หรืออาจเรียก isophane insulin ใช้สาร protamine ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ยาวขึ้นได้แก่ Humalin-N เริ่มออกฤทธิ์ 1-4 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 4-10 ชม. และยาอยู่ได้นาน 12-20 ชม.ใช้ฉีดใต้ผิวหนังได้อย่างเดียวหากฉีดยาตอนเช้ายาจะออกฤทธิ์เต็มที่ตอนเย็น หากฉีดก่อนนอนจะออกฤทธิ์เต็มที่ตอนเช้ามืด
  • Lente insulin ใช้ zinc ทำให้ยาออกฤทธิ์นานขึ้นเริ่มออกฤทธิ์ 2-4 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 8-12 ชม. และยาอยู่ได้นาน 12-20 ชม.


  1. ออกฤทธิ์ระยะยาว Long-Acting Insulin ได้แก่ ,insulin glargine,insulin detemir ออกฤทธิ์นานสุด เริ่มออกฤทธิ์ 3-5 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 10-16 ชม.และยาอยู่ได้นาน 18-24 ชม.
  2. Inhaled Insulin อินซูลินชนิดนี้ให้โดยการดูดลงในปอดและจะถูกดูดซึมที่ปอด การออกฤทธิ์จะเร็วเหมือนอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วจะให้ก่อนอาหาร ชนิดดูดชนี้จะไม่ใช้ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง เด็ก และคนที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
  3. อินซูลินผสม Insulin Mixtures เป็นการผสมอินซูลินออกฤทธิ์เร็วกับอินซูลินออกฤทธิ์ปานกลางโดยมากผสมอัตราส่วน30:70


วิธีง่ายที่จะมองว่าเป็นอิสุลินชนิดไหนคือถ้าเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์สั้นจะใส ถ้าเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ปานกลางจะขุ่น

การออกฤทธิ์ของอินซูลินแต่ละชนิด เมื่อฉีดใต้ผิวหนัง subcutaneous
ชนิดของยา เริ่มออกฤทธิ์(ชม.) ออกฤทธิ์สูงสุด (ชม.)

ระยะเวลาออกฤทธิ์ (ชม.)

Rapid acting <.3-.5 .5-2.5 3-6.5
Regular .5-1 2-3 3-6

NPH

2-4

4-10

10-16
Inhaleed insulin <0.25-.5 .5-1.5 4-6

Long acting

Insulin glargine

Insulin detemir

 

2.4

.8-2

  20-24
combination 50%NPH 50% Regular .5-1 2ช่วง 10-16
combination 70%NPH 30% Regular .5-1 2ช่วง 10-16
combination 75%NPH 25% Lispro <.25 2ช่วง 10-16
combination 50%NPH 50% Lispro <.25 2ช่วง 10-16
70% aspart protamine,30%aspart <.25 2ช่วง 10-16

ความเข็มข้นของอินซูลิน

ปัจจุบันนิยมใช้ U100อย่างเดียวหมายถึงอินซูลิน 1 ซซ.มีปริมาณยาอินซูลิน 100 ยูนิต อินซูลินหนึ่งขวด 10 ซซ.มี 1000 ยูนิต อินซูลินชนิดปากกามี 3 ซซ.จะมีปริมาณยา 300 ยูนิค

การเก็บอินซูลิน

เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 ํซอยู่ได้30เดือนไม่ต้องแช่แข็ง สามารถที่อุณหภูมิห้องได้เป็นเวลานาน 1 เดือนดังนั้นไม่จำเป็นต้องแช่น้ำแข็งระหว่างเดินทาง ระวังมิให้ถูกแสงหรืออุณหภูมิที่ร้อนเกินไปผู้ป่วยควรที่จะมีสำรองอินซูลินไว้อย่างน้อยหนึ่งขวด

  • ควรเก็บยาไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่ในช่องแช่แข็ง เพราะทำให้อินซูลินเสื่อมสภาพ

  • กรณีที่ไม่มีตู้เย็น ให้เก็บไว้ในกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิดแล้วแช่ในหม้อดินที่มีน้ำหล่ออยู่ต่ำกว่ากระป๋องเล็กน้อย
  • กรณีเดินทางควรเก็บไว้ในกระเป๋าถึอติดตัว หลีกเลี่ยงการตากแดด ถ้าไม่แน่ใจให้แช่ในกระติกน้ำแข็ง
  • ควรมีอินซูลินสำรองไว้หนึ่งขวดเสมอ

อินซูลินที่เสื่อมสภาพเป็นอย่างไร

  1. อินซูลินที่เลยกำหนดวันหมดอายุหรือใช้เกินระยะเวลาที่กำหนดดังนี้
  • ขวดที่ยังไม่เปิด เก็บไว้ในตู้เย็น ใช้ได้จนวันหมดอายุ
  • ขวดที่เปิดใช้แล้ว เก็บในตู้เย็น ใช้ได้ 3 เดือนหลังเปิดขวด
  • ขวดที่เปิดใช้แล้ว เก็บที่อุณหภูมิห้อง ใช้ได้ 1 เดือนหลังเปิดขวด
  1. ลักษณะของอินซูลินเปลี่ยนไป เช่นมีตะกอนค้าง หรือตะกอนแขวนลอยที่ก้นขวด

 

เพิ่มเพื่อน


   

การใช้อินซูลิน

ข้อบงชี้ในการฉีดอินซูลิน ชนิดของอินซูลิน การดูดซึมของอินซูลิน การบริหารอินซูลิน การผสมอินซูลินวิธีการฉีดอินซูลิน

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง