คำแนะนำสำหรับเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงเป็นต้น คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและโรคหัวใจมีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆยังควบคุมได้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องคัดกรอง(ตรวจค้นหา)โรคหัวใจ

การตรวจค้นหาจะทำในรายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • มีอาการเหมือน หรืออาการที่ทำให้สงสัยว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

ผู้ที่เป็นเบาหวานและมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะต้องได้รับการรักษาปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ยาต้านเกล็ดเลือด ยาลดความดันโลหิตที่แนะนำได้แก่ ACE Inhibitor,ARB และหากมีหัวใจวายให้หลีกเลี่ยงยา Troglitazone

โรคเบาหวานกับโรคหัวใจและหลอดเลือดหลอดเลือด

โรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อหลอดเลือดแข็งที่อวัยวะหรือระบบใดก็จะเกิดโรคที่ระบบนั้น เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพาต เท้าขาดเลือด หรือไตวาย

นอกจากนั้นโรคเบาหวานมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วยเช่นความดัน ไขมัน หรืออ้วนซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจ และหลอดเลือดเป็นปัญหาความเจ็บป่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหลอดเลือดเลือดแข็งนอกจากทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ยังก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบที่ขา โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของโรคหลอดเลือดตีบซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได ้แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยซึ่งสามารถควบคุมได

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหลอดเลือดแข็ง [atherosclerosis] 

ปัจจัยเสี่ยงที่จะกล่าวถึงหากท่านผู้อ่านมีปัจจัยเสี่ยงมาก โอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดตีบก็มีมาก ดังนั้นควรลดปัจจัยเสี่ยงนั้นลง

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • สูบบุหรี่
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบก่อนวัย หากเกิดหัวใจขาดเลือดก่อนอายุ 55 ปี และ65 ปี ในชายและหญิงตามลำดับ ถือว่าเกิดก่อนวัย
  • อ้วน
  • ไม่ออกกำลังกาย

ผู้ชายมีโอกาสเป็นหัวใจขาดเลือดสูงกว่าผู้หญิง แต่หลังหมดประจำเดือนผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดสูงขึ้น

ท่านสามารถลดปัจจัยเสี่ยงได้อย่างไร

อาการและอาการแสดง

โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้โดยการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ตรวจหาระดับน้ำตาล ไขมัน งดบุหรี่ หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์

  • ชาหรืออ่อนแรงแขนหรือขา ตาบอดเฉียบพลัน พูดลำบาก คลิกที่นี่ดูเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง
  • เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกข้างซ้าย และร้าวไปแขนซ้ายเวลาออกกำลังกาย พักเหนื่อยจะหายปวด เท้าบวม หัวใจเต้นผิดปกติ คลิกที่นี่ดูรายละเอียด
  • ปวดน่องหรือขาเวลาเดินพักแล้วหายปวด อ่านที่นี่

การวินิจฉัย

ถ้าแพทย์สงสัยว่าเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ แพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ [EKG,ECG] ถ้าตรวจแล้วปกติแต่แพทย์ยังสงสัยแพทย์จะส่งตรวจวิ่งสายพาน [treadmill] คือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่กำลังออกกำลังกาย

การป้องกัน

สามารถทำได้โดยควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

สรุปการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ ABC

  • A ได้แก่ค่า HbA1Cคือค่าน้ำตาลเฉลี่ย 2-3 เดือนที่ผ่านมา ให้ควบคุมเบาหวานให้มีค่าน้ำตาลเฉลี่ยน้อยกว่า 7 ซึ่งจะมีค่าน้ำตาลในเลือดประมาณ 150
  • Blood pressure คุมความดันโลหิตมิให้เกิน 130/80 มิลิเมตรปรอท
  • Cholesterol คุมระดับไขมัน LDL มิให้เกิน 100 มก

โรคแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือด | ความดันโลหิตสูง | การใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน