ผู้ที่มีโรคเบาหวานจะออกกำลังกายอย่างไร

สำหรับผู้ที่เป็นเบาโดยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนก็ออกกำลังได้ตามปรกติ แต่สำหรับผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนคงต้องเลือกวิธีออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย และโรคแทรกซ้อน

โรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 70-80% โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคอ้วนก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือแน่หน้าอก ควรจะอยู่ในความดูแลของแพทย์ในระยะเริ่มต้นออกกำลังกาย ในการออกกำลังควรเริ่มจากเบาๆและค่อยเพิ่มความหนักหรือระยะเวลาที่ออกกำลังกาย ที่สำคัญคือจะต้องมีการอบอุ่นร่างกาย และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมพร้อมหัวใจและกล้ามเนื้อ

โรคหลอดเลือดขาตีบ

หากท่านมีโรคหลอดเลือดขาตีบ จะมีอาการปวดเวลาเดินนานๆหรือเดินไประยะเวลาหนึ่ง ท่านอาจจะเลือกออกกำลังโดยลดเวลา หรือความหนักลงก่อนที่จะมีอาการปวดขา หรือท่านสามารถออกกำลังกายโดยการเดิน เหวี่ยงแขน ขี่จักรยาน หรือการเดินขึ้นบันได ก็ได้ทั้งนั้น

ผู้ที่มีอาการชาที่ขา หรือมีแผลจะออกกำลังอย่างไร

  • สำหรับผู้ที่กำลังมีแผลที่เท้าแนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังโดยการเดินหรือวิ่ง ให้ใช้การออกกำลังกายแบบอื่น เช่น ขี่จักรยาน หรือ แกว่งแขนแทน
  • สำหรับท่านที่มีแผล และแผลหายแล้วท่านสามารถเดินออกกำลังกาย แต่ต้องตรวจเท้าทุกวัน
  • สำหรับท่านที่มีอาการชาก็ออกกำลังโดยการเดิน

แต่ทุกท่านต้องหมั่นตรวจเท้าทุกวัน และตรวจภายในรองเท้าว่ามีวัสดุแปลกปลอมหรือไม่

เบาหวานเข้าตาออกกำลังได้หรือไม่

ผู้ป่วยที่เบาหวานเข้าตาจะต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ทำให้ความดันลูกตาสูง เช่น การออกกำลัง aerobic แบบหนัก การยกน้ำหนัก การวิดพื้น การออกกำลังที่ศีรษะต่ำ การกระโดด การสั่น เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

โรคไตในเบาหวานออกกำลังได้หรือไม่

โรคแทรกซ้อนทางไตที่มักจะพบได้แก่การมีไข่ขาว และไตวาย พบว่าการออกกำลังทั้งชนิด aerobic และ resistance ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่จะต้องตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพานก่อน การออกกำลังควรจะเริ่มจากน้อยค่อยๆเพิ่ม และไม่ควรออกกำลังอย่างหนักเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงในระหว่างออกกำลัง

กลับหน้าเดิม

   

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย | การประเมินก่อนออกกำลังกาย | วิธีออกกำลังกาย | อาหารและการออกกำลังกาย | การออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน | ผลออกกำลังในระยะยาว | การตรวจหัวใจก่อนออกกำลัง | ออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง