ผลของการออกกำลังกายต่อร่างกายในระยะยาว

(ต้องอ่านนะ)

การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้แข็งแรงแล้ว ยังส่งผลต่อระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ลดความดันโลหิต อารมณืดี ลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

1.ผลต่อระดับน้ำตาลและภาวะดื้อต่ออินซูลิน

การออกกำลังกายแบบ aerobic ไม่ว่าจะออกแบบเบาๆ หรือแบปานกลาง หรือออกแบบหนักจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลลดลง และภาวะดื้อต่ออินซูลินก็ลดลงเช่นกัน การออกกำลังมากหรือน้อยจะให้ผลที่ต่างกัน หากกำลังมากจะให้ผลที่ดีกว่าทั้งระดับน้ำตาล ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และผลจะอยู่นานกว่าการออกกำลังแบบเบาๆ

การออกกำลังกายยังทำให้กล้ามเนื้อมีการใช้ไขมันเพิ่มขึ้น

การออกกำลังกายแบบ resistant เช่นการยกน้ำหนัก วิ่งหรือโยคะเพียงสัปดาห์ละสองวันสามารถเพิ่มการทำงานของอินซูลินร้อยละ 47 และสามารถลดระดับน้ำตาลลงได้ร้อยละ 7 เนื้อจากกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้มีการใช้น้ำตาลเพิ่มขึ้น

2.ผลต่อไขมันในเลือด

ลำพังการออกกำลังกายจะลดไขมัน LDL ได้เพียงเล็กน้อย และไม่มีผลต่อ HDL,Triglyceride แต่หากร่วมกับการลดน้ำหนัก และเพิ่มกิจวัตรประจำวันจะทำให้ลดไขมันได้มากขึ้น

3.ผลต่อความดันโลหิต

การออกกำลังกายจะลดได้เพียงความดันตัวบนหรือ systolic เท่านั้นไม่มีผลต่อความดันตัวล่าง

4.ผลของการออกกำลังกายต่อการลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

การเพิ่มกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังเพิ่มจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ทั้งคนปกติและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยสามารถลดได้ถึง 1.7-6.6 เท่า สำหรับผู้ที่ออกกำลังได้มากกว่า 10 MET จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำสุด

5.ผลต่อการควบคุมน้ำหนัก

การออกกำลังกายเพื่อลดระดับน้ำตาล และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ(เดินสัปดาห์ละ150 นาที)ไม่เพียงพอที่จะควบคุมน้ำหนัก หากจะให้น้ำหนักลดจะต้องออก ทั้งนี้เพราะผู้ที่อ้วนหรือสูงอายุไม่สามารถจะออกกำลังกายอย่างหนักเนื่องจากความแข็งแรง โรคประจำตัว และมักจะชดเชยด้วยการรับประทานอาหารมากกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาว่าหากออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมงจะสามารถลดน้ำหนักลงได้เป็นอย่างดี

การออกกำลังกายโดยมีผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมการออกกำลังกายดดยมีการออกกำลังกายและการทำ weight trainning จะสามารถควบคุมน้ำตาล ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค และยังสามารถลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดีจากการสึกาาที่ประเทศอิตาลี

6.ผลต่ออารมณ์

จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายประจำ หรือผู้ที่เพิ่มกิจวัตรประจำวันจะสามารถลดอาการวึมเสร้า และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

7.การออกกำลังกายกับการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่2

มีการศึกษาจากหลายประเทศสรุปว่าไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังแบบไหน ระยะเวลานานแค่ไหนก็สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ ยิ่งออกกำลังมากและนานจะสามารถลดการเกิดเบาหวานได้ตั้งแต่ร้อยละ 40-50

แนะนำให้เดินเร็วๆสัปดาห์ละ 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ ออกกำลัง aerobic ความหนักปานกลางวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วันจะลดการเกิดเบาหานได้

8.การออกกำลังกับการป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

มีการศึกษาไม่มากเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ พบว่าหากมีการออกกำลังไม่ว่าจะขี่จักรยานหรือ ยกน้ำหนักวันละ 20-45 นาทีจะทำให้ควบคุมน้ำตาลดีขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ออกกำลังปานกลางเพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน

9.การตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย

เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีโรคร่วมได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสุง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมองดังนั้นในผู้ป่วยบางควรจะตรวจสุขภาพก่อนการอกกำลังกาย

สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายโดยการเดินโดยที่ไม่มีอาการอะไรก็ไม่จำเป็นต้องตรวจก่อนการออกกำลัง ผู้ที่สมควรตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังได้แก่

  • การออกกำลังที่มากกว่าการเดินเร็ว เช่นการวิ่ง
  • ผู้ที่มีชีวิตแบบไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง

   

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย | การประเมินก่อนออกกำลังกาย | วิธีออกกำลังกาย | อาหารและการออกกำลังกาย | การออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน | ผลออกกำลังในระยะยาว | การตรวจหัวใจก่อนออกกำลัง | ออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง